Friday, July 21, 2017

★Blog ใหม่★

ตามหัวข้อเลยค่ะ

เนื่องจากบล็อกนี้ เขียนมาประมาณครึ่งปี(?)ได้แล้ว
เนื้อหามันเริ่มจะแออัดไปซักนิด สำหรับผู้เขียน55
มันเริ่มโหลด content ช้าด้วยล่ะค่ะ สงสัยอัดข้อมูลมากเกินไป....

ตอนนี้เลยจะแยกร่างออกมาเป็นอีกบล็อกนึงค่ะ
เป็นบล็อกสำหรับ Review หนังสือภาพ โดยเฉพาะ
หน้าตาเป็นแบบนี้นะคะ :)
↓ ↓ ↓



ส่วนบล็อกนี้อาจจะไม่ค่อยได้อัพ แต่ยังเช็คอยู่เรื่อยๆค่ะ

ยังไงก็ขอฝากทั้ง 2 บล็อกไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะคะ♥︎

Saturday, May 6, 2017

パステル〜画材・道具編〜


เอนทรี่สนองนี้ด...ระหว่างพักมือจากปั่นเปเปอร์ ( ˘ ³˘)♥
มีเกี่ยวกับภาษาญปจึ๋งนึง....


ช่วงนี้กำลังฝึกวาดรูปพาสเทลชอล์กค่ะ
ภาพด้านบนวาดไว้พักใหญ่ๆแล้ว
พอดีเพิ่งได้กรอบรูปมาจาก JJ Green ด้วย เลยขอเห่อสักหน่อย55

Rabbit_JUL2016
ออกตัวก่อนว่าเรียนอักษรฯมา ความรู้ศิลปะระดับเด็กมัธยมเท่านั้นค่ะ
ทุกวันนี้วาดรูปแบบตามใจฉัน ไม่ยึดกฎเกณฑ์หรือทฤษฎีใดๆทั้งสิ้น

เอนทรี่นี้เขียนขึ้นเพื่อแนะนำคำศัพท์ภาษาญป.เกี่ยวกับอุปกรณ์วาดภาพ(ฉบับง่าย)
หากมีข้อมูลผิดพลาดประการใด รบกวนคอมเม้นท์ด้านล่างนะคะ :)

Goldfish_APR2017
เทอมนี้มีอะไรต้องทำเยอะะะ เลยวางมือ ทิ้งช่วงไปนานเหมือนกัน
แต่ถ้าไม่ได้วาดรูปนานๆเข้า จะรู้สึกเหมือนชีวิตขาดอะไรไปและจะเริ่มイライラค่ะ
สุดท้ายก็ต้องยอมวางงานบ้าง เพื่อมานั่งวาดรูป หายใจหายคอ แฮ่~

Japanese macaque_JUL2016
มีคนเคยพูดไว้ว่า
「イラストに取り組むなら完璧主義を捨てて」
"จะวาดรูปให้ได้ดี ต้องทิ้งความนิยมความสมบูรณ์แบบไปเสียก่อน"

แต่ผู้เขียนคิดกลับกันว่า
การวาดรูปหรือศิลปะเนี่ย เป็น "ยารักษาโรคนิยมความสมบูรณ์แบบ" ที่ดีมาก
เพราะเวลาวาดรูปคุณสามารถจะ失敗ได้แทบจะทุกวินาที
失敗นั้นอาจเกิดจากการตัดสินใจผิดพลาด หรือ Accident อื่นๆก็ได้

ศิลปะจึงเป็นวิธีหนึ่งที่เราจะได้ปรับตัวให้เคยชินกับการทำผิดพลาด
โดยที่ไม่รู้สึกผิดต่อตัวเองหรือโทษตัวเองน้อยลงค่ะ
งงไหม555555

************************
สาเหตุที่ทำให้หันมาเล่นชอล์กพาสเทลคือ สิ่งนี้เลยค่ะ〜


ผลงานหนังสือภาพของかがくいひろし先生
จุดเด่นของงานคือ การใช้บุคคลวัต Personification(擬人化)
พูดง่ายๆคือ ทำให้ตัวละครที่เป็นสัตว์หรือสิ่งไม่มีชีวิตมีชีวิตนั่นแหละค่ะ

เช่น เล่มที่ยกมานี้ชื่อเรื่อง『おもちのきもち』
เป็นเรื่องของ โมจิที่มีความรู้สึกนึกคิดเหมือนคนค่ะ

จุดเด่นของภาพของかがくいひろし先生
คือ "ความฟุ้งของสีที่ให้สัมผัสนุ่มละมุน♡"
เพราะเขาใช้ชอล์กพาสเทลลงสีภาพเป็นหลักค่ะ

ดูอย่างเจ้าโมจิสีขาวเนี่ยจะดูนุ่มนิ่มน่ากัดมากๆเลยล่ะค่ะ

ภาพประกอบจากเรื่อง『おもちのきもち』
http://ehon.kodansha.co.jp/archives/search_025.html
นอกจากจะให้ความรู้สึกนุ่มนวลแล้ว
พอเอามาใส่แสงเงา มันก็ให้ความรู้สึกมันวาวได้เหมือนกันนะ
เช่น เอามาลงสีตัวกาน้ำชาที่ทำจากอลูมิเนียม หรือ แก้ว

ภาพประกอบจากเรื่อง『もくもくやかん』

***********************************

สำหรับประเภทของสีชอล์กพาสเทล...
มีหลายประเภทให้เลือกใช้งาน

・ハードパステル (Hard Pastel)
・ソフトパステル (Soft Pastel)
・オイルパステル (Oil Pastel)
・パステル鉛筆 (Pastel Pencil)

ที่ผู้เขียนใช้อยู่จะเป็นแบบハードパステル (Hard Pastel)
ยี่ห้อ Nouvel ชุด 24A ค่ะ
http://www.weloveshopping.com/shop/artcorner/extra/9993715.jpg

ตัวชอล์กจะแข็งเป๊กเลย ตกทีนี่คือหักครึ่ง T-T
เขาว่ามันมีส่วนผสมของดินเหนียว(粘土質)เยอะเลยแข็งค่ะ

สำหรับ Nouvel มีขายแน่ๆที่ร้านสมใจ กับ สยามมาร์เก็ตติ้งค่ะ B2Sไม่แน่ใจว่ามีไหมนะ
ราคา120~400บ. แพงขึ้นตามจำนวนสีค่ะ
ソフトパステル (Soft Pastel)
http://www.pont-des-arts.jp/item/img/enlarge/sp-hl_20.jpg
ดูจุ๋มจิ๋มน่ารักเหมือนขนมหวานเลย ชอบจัง♡
อันนี้ไม่เคยเห็นขายที่ร้านเครื่องเขียนค่ะ ไม่แน่ใจว่าในไทยมีขายไหมนะ
เขาว่าตัวนี้ Pigment(顔料)จะนุ่มเกลี่ยง่ายค่ะ
ไม่เคยใช้เหมือนกัน อยากลองมากๆเลยค่ะ :)

สีเทียนน้ำมัน หรือ オイルパステル (Oil Pastel)
https://www.pinterest.com/pin/237424211583791076/
เผื่อใครนึกไม่ออก...หน้าตาแบบยี่ห้อ Pentel ที่ใช้ในวิชาศิลปะตามโรงเรียนค่ะ
(ไม่รู้โรงเรียนอื่นใช้เหมือนกันไหมนะ...)
เนื้อสีจะหนึบๆ เวลาติดมือจะให้ความรู้สึกเหมือนเพิ่งปั้นดินน้ำมันมา
ต้องล้างด้วยน้ำยาล้างจานถึงจะออก (มันเละมือ ไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ค่ะ55..)

パステル鉛筆 (Pastel Pencil)
http://www.nishizawa-gazai.com/SHOP/ps0016.html
อันนี้ของ STABILO ค่ะ ผู้ผลิตเดียวกับปากกาไฮไลท์และสีเมจิกนั่นแล
ด้วยความที่มันเป็นดินสอ ปลายเรียวเล็ก
จึงจับถนัดมือและลงรายละเอียดยิบย่อยได้ดีกว่าชอล์พาสเทลรูปแบบอื่นค่ะ

ยางลบปั้นได้ หรือ 練り消しゴム・ねりけし
http://spicy365.blog14.fc2.com/blog-entry-131.html
คนที่สเกตช์ภาพ หรือ แกะยางลบ น่าจะคุ้นเคยกับอุปกรณ์ชิ้นนี้ค่ะ
ยางลบปั้นได้ ใครไม่เคยเล่น มันจะคล้ายๆ กาวดินน้ำมันแต่เหนียวน้อยกว่าหน่อยค่ะ55
เวลาแกะยางลบจะเอาไว้ใช้เก็บเศษยางลบที่แกะทิ้ง(ทำความสะอาด)
ส่วนเวลาวาดภาพพาสเทลชอล์กก็เอาไว้เก็บ/ลบสีส่วนที่ไม่ต้องการออกค่ะ

擦筆(さっぴつ)
https://www.douban.com/subject/25723144/
ดินสอทำจากกระดาษอัดทั้งแท่ง ไม่แน่ใจว่าภาษาไทยเรียกว่าอะไรเหมือนกัน
พอดีไม่มีความรู้เกี่ยวกับศัพท์เฉพาะด้านนี้ค่ะ ขออภัย ; - ;
เจ้า擦筆เอาไว้ใช้Blend(ぼかす)สีให้นวลเนียนเข้ากันค่ะ
นอกจาก擦筆แล้ว เรายังสามารถใช้สำลี(綿・コットン)
คอตตอนบัต(綿棒)
หรือ
แบบดิบเถื่อนหน่อย(อย่างที่ผู้เขียนทำ)ก็ใช้ "นิ้วมือ" ของเราเนี่ยแหละค่ะ
เกลี่ยสีให้มันเข้ากัน55

อันนี้ใช้สำลีเกลี่ยค่ะ มันจะฟุ้งๆให้ความรู้สึกชวนฝัน♡
https://matome.naver.jp/odai/2145672451805466301
เกี่ยวกับกระดาษที่ใช้วาด
คงแนะนำได้แค่ パステル用スケッチブック
กระดาษสเก็ตช์เฉพาะสำหรับสีพาสเทลชอล์ก

เรื่องยี่ห้อกระดาษไม่มีความรู้จริงๆ
อันนี้ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคนด้วย
อันไหนดีไม่ดี ขออนุญาตรอผู้รู้จริงมาตอบนะคะ

กลับไปปั่นงานต่อแล้ว
♡ขอบคุณที่อ่านจนจบค่ะ♡

Tuesday, May 2, 2017

【応用言語学・授業感想】🌼All About App Jp Ling🌼


วันนี้เป็นวันปิดคอร์ส Applied Japanese Linguistics ค่ะ
เนื่องจากอารมณ์ยังค้างอยู่ กลัวจะลืมซะก่อน
ขอชิงเขียนเลยแล้วกันค่ะ555

ย้อนไปเมื่อปีมะโว้.....
ช่วงปี 2014〜2015 ผู้เขียนอยู่จ.เกียวโต ประเทศญี่ปุ่น(ไปเรียน)ค่ะ
แต่ก็มีติดต่อกับเพื่อนที่อยู่ไทยเป็นประจำ
Topic ที่คุยกันบ่อยๆ ก็เรื่องชีวิตประจำวันทั่วไป อย่างวันนี้กินอะไร ไปเที่ยวไหน
แล้วก็เรื่องวิชาเรียนค่ะ (หัวเราะ)

สถานีเกียวโต 2014/09/26
Applied Japanese Linguistics (วิชาปี3)
情報 เกี่ยวกับวิชานี้ได้มาจากรุ่นพี่และเพื่อนๆเยอะค่ะ55

"วิชาเขียนบล็อกอะ การบ้านเยอะอยู่ แต่สนุก แนะนำอย่าลงพร้อม Jp A/V (Audio Visual) Media"
"App Jp Ling กลับมา(ไทย)ต้องลงนะ วิชานี้มันเธอมากๆอะ"
"เราเฉยๆนะ อ.ให้เขียนบล็อกอะ แนวแกเลย เรียนแล้วน่าจะมีความสุข"
"เนื้อหาเรียนเกี่ยวกับ◯◯◯◯◯อะ แกน่าจะชอบนะ"

เนื่องจากวิชานี้เป็นวิชาที่เพื่อนโฆษณาไว้เยอะ
(อยากรู้ว่าสนุกยังไง ทำไมเพื่อนดูอยากให้ลง)
เลยเรียกได้ว่าเป็นวิชาที่ตั้งหน้าตั้งตารอคอยจะเรียนมากๆวิชาหนึ่งเลยค่ะ
ตั้งใจว่ากลับไปไทยจะลงเรียนแน่ๆ รอฉันก่อน55

กลับมาถึงไทยเดือนส.ค.ปี 2015 เพื่อมาเรียนซ้ำปี3
แล้วพบว่าวิชานี้ปิดสอนในปีนั้น เนื่องจากอ.ติดภารกิจค่ะ *ร้องไห้*

จำได้ว่าตอนนั้นเสียใจอะ เลยไปหาวิชาอื่นลงให้มันเต็มๆ T-T
ใจก็ได้แต่หวังว่าปีหน้าวิชานี้จะเปิดและอ.จะกรุณาให้เด็กปี4เรียนด้วย

ตอนจบปี3จำได้ว่าไปวนเวียนถามอ.ว่าปีหน้ามีแนวโน้มจะเปิดไหม
อยากเรียนจริงๆนะ ถึงคนเต็มก็กะไปนั่งฟัง ไม่ลงทะเบียนก็ได้

ーーーーーーーーーーー
http://www.irasutoya.com/2016/01/blog-post_544.html
ปรากฎว่าปี2016 เทอมปลาย วิชานี้เปิดจริงๆค่ะ
น้ำตาจะไหล ก็หวังว่าจะลงติด
เพราะต้องไปแย่งที่กับน้องปี3ด้วย (โดนน้องเกลียดแน่...)
และแล้วเราก็ลงติด
วันแรกคนลงกันเต็มห้องเลยนะ
ห้องเล็กไปขนาดต้องย้ายห้อง
หลังจากนั้นคนก็ค่อยๆหายกันไปตามกระแสงานที่ถาโถม5555

งานมันเยอะจริงอย่างที่เขาว่า
เนื้อหาวิชาคร่าวๆ ประมาณนี้ค่ะ

เรียนเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้ภาษาตปท.(第二言語習得)
ตั้งแต่ Input→Output
เนื้อหาเกี่ยวกับวิธีการสอน(教授法)และวิธีการเรียน
โดยสรุปคือเน้นพัฒนาการเรียนภาษาญปของตัวเองจากการศึกษาOutput (เขียน内省ลงบล็อก)
目的:客観的に自分の学びを内省し解決策を見つけていく

งานส่วนมากคือ เขียน blog เกี่ยวกับสิ่งที่ได้เรียนรู้ เหมือนที่กำลังเขียนอยู่ตอนนี้
สำหรับคนที่ชอบเขียนอยู่แล้วก็ไม่ถือเป็นเรื่องยากลำบากอะไร
กลับกลายเป็นสนุกด้วยซ้ำไป
ส่วนตัวผู้เขียน สนุกกับการคิด Content บล็อกทุกๆอาทิตย์ค่ะ
วันนี้จะเขียนเรื่องนี้จากมุมมองไหนดีนะ
วันนี้จะใส่รูปอะไรลงไปตกแต่งเนื้อหาดีนะ
วันนี้จะพูดคุยอะไรกับคนอ่านดีนะ

มันเป็นความสุขเล็กๆทุกๆสัปดาห์ที่ทำให้เรายิ้มได้เสมอ
แม้ว่าตัวเองกำลังเผชิญมรสุมชีวิตอื่นๆอยู่ ณ ตอนนั้น555

วิชานี้สอนให้เราไม่หยุดพัฒนาตัวเอง
ไม่กลัวที่จะทำผิดพลาด
แต่สอนให้รู้จักเอาข้อผิดพลาดตรงนั้นไปแก้ไขพัฒนาตัวเองให้ดียิ่งขึ้น
ตรงนี้เป็นอะไรที่เปิดโลกการเรียนภาษาให้กับนิสิตตาดำๆคนนี้มาก
หลายครั้งที่เรากลัวการทำผิด กลัวเขียนผิด กลัวพูดผิด
จนสุดท้ายความกลัวเหล่านี้มาปิดกั้นโอกาสที่จะได้เรียนรู้สิ่งใหม่

ไม่อยากให้คำว่า "การบ้านเยอะ"
มาเป็นอุปสรรคให้หลายคนไม่ลงเรียนหรือถอนทิ้งทีหลัง
ถ้าไม่อินกับเนื้อหาสายนี้ก็ว่าไปอย่าง อันนี้ช่วยไม่ได้
เพราะเราเองก็ไม่อินกับสายวรรณคดีนัก
เรียนได้ แค่ไม่ได้รู้สึกสนุก เรียนไปได้ 3 ตัวก็ลาขาด

อยากให้ลองคิดดูอีกนิดว่า
มันคุ้มรึเปล่าที่จะยอมปล่อยโอกาสที่เราจะได้เรียนรู้วิธีการพัฒนาตนเองให้ลอยไป

************

笑顔で溢れる授業。

1学期お疲れ様でした。

素敵な思い出をありがとうございます。

http://item.rakuten.co.jp/tamateya/1000161769710/

********************
เทอมสุดท้ายของชีวิตมหาวิทยาลัย
เทอมนี้ได้เรียนวิชาที่อยากเรียนมาตลอด
วิชานี้มีความหมายมากกับการเรียนภาษาญปที่ผ่านมา จากนี้และต่อไป
ขอบคุณสำหรับทุก moment ทุกความทรงจำที่ทำให้ได้ยิ้ม ได้หัวเราะ

ตอนเริ่มเขียนคิดไว้ว่าคงเขียนความรู้สึกเกี่ยวกับวิชานี้อย่างตรงไปตรงมา
แต่พอเขียนไปเรื่อยๆ แล้วคิดว่ามันกำลังจะจบลงแล้วนะ
"ช่วงเวลาที่จะได้หัวเราะด้วยกันในคาบเรียนแบบนี้"
วันข้างหน้าก็ต้องแยกย้ายเดินไปตามทางของตัวเองแล้ว

น้ำตาก็เริ่มจะไหลไม่หยุดอีกแล้วล่ะค่ะ....
やっぱりさようならが苦手です

************
สุดท้ายอยากฝากเพลงนี้ไว้เป็นความทรงจำในวันนี้ :)

GReeeeN「始まりの唄」(さよなら先生~完全版~)

ป.ล.บล็อกนี้สัญญาว่าจะไม่ลบทิ้งค่ะ

หลังจากนี้คงไม่มีคอมเม้นท์จากอ.และเพื่อนๆ มันคงรู้สึกเหงาแปลกๆ
แต่จะตั้งใจอัพต่อไปเรื่อยๆ ค่ะ :)

เนื้อหาบล็อกต่อจากนี้อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง
ตามความสนใจของผู้เขียนที่เปลี่ยนไปเรื่อยๆ
ยังไงก็ขอฝากบล็อกนี้ไว้ในอ้อมอกอ้อมใจด้วยนะคะ♡

***********************

Friday, April 21, 2017

【WEEK13】あいづち(続)


あいづち(ภาคต่อ)
อาทิตย์นี้ ผู้เขียนได้ฝึกใช้ あいづち จากการนั่งฟังเพื่อนเล่าเรื่อง
จริงๆ คือสลับกันเล่า แล้วก็ focus ดูการใช้ あいづち ของตนเองค่ะ
หลังจากแกะเทปพบว่า การใช้ あいづち ของเราเปลี่ยนแปลงไปมาก
จนตัวเองยังประหลาดใจ5555
(แต่สำหรับบทบาทการเป็นผู้เล่าเรื่องนั้น
รู้สึกว่าทำได้แย่กว่าที่ผ่านมามากค่ะ T__T ต้องปรับปรุงด่วน..)

http://skrykk.blog.fc2.com/blog-entry-324.html?sp
ด้านล่างนี้เป็นสคริปต์ที่แกะออกมาค่ะ (อายจัง...5555)
ตัวอักษรสีขาวคือส่วนที่เพื่อนพูด(เล่าเรื่อง)
ส่วนที่อยู่ใน < > คือ ส่วนที่ผู้เขียนพูดค่ะ
* (หัวเราะ) ไม่นับเป็น あいづち เลยทำเป็นสีอื่นไว้ค่ะ
เป็นคนเส้นตื้นเลยหัวเราะเยอะ เพื่อนบอกมีแนวโน้มเป็น 笑い系5555

เรื่องที่เพื่อนเล่ารอบนี้เป็นการ์ตูน 4 ช่อง(4コマ漫画)เหมือนเดิมค่ะ
ชื่อเรื่อง 『秘密』(ความลับ)

【ครั้งที่②:二回目】
**************************『秘密』**************************

はい、今日は、<はい>、4コマのマンガを<うん>、??、
<うん>、あるカップルがいるんだけどね、<うん、カップルね>、カップル、
女のほうは整形したの、<整形?>整形して、
すっごい優しくてかっこいいをゲットできたん、<へー、
ある日、つい彼女は昔の写真を彼氏に見られちゃったの、<やばい、
女の子は「うわー、やばい」見られちゃった、<笑>、っていうか、<ん>
すごい、顔、<笑>、してたの、で、すごいかっこいい、<うん>、彼氏さん、
「へー」、昔の写真見てもこう言った、
「なんだ。そんなこと、気にしてなくていいのにな。」<うん>
って言ってくれた、<やさしいー>、やさしいねえ、<うん>
でもさ、最後に、ラストに、ラストコマに、
「だって、ぼくもこうなんだ。」って言って、
かつら、(笑)、<笑>、そのかっこいい彼氏がハゲだったって、<へー>
信じられないやん!<笑>、で、その女の子が、まるで、石のように、<笑>
すごい、ショック、<うん>、受けたの、<笑>、で、おしまい、
<お互いさまだね>、うん、だねー、<面白い>

********************
【BEFORE & AFTER】

เราจะมาดูกันว่า
การใช้ あいづち กับ ท่าทางการฟังของผู้เขียน
เปลี่ยนแปลงไปบ้างไหม
และเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรค่ะ

เรื่องที่เพื่อนเล่ารอบแรก(เมื่อนานมาแล้ว)เป็นการ์ตูน 4 ช่อง(4コマ漫画)
ชื่อเรื่อง 『赤ちゃん』(เบบี๋) ค่ะ

【ครั้งที่①:一回目】
**************************『赤ちゃん』**************************
ある赤ちゃんと犬がいます。赤ちゃんは犬に乗ろうとしています。
背中ね。<うん>でも、犬と顔を合わせて、
えっ、どうやって乗ろうかなあと思って、で、
赤ちゃんが「あー!後ろから乗れるじゃない?」と思って、
さっき、正面、正面?正面じゃない。なんか犬の顔、まあ、なんていう?
まあ、犬の背中に乗ろうとし、後ろから、まあ、向かないといけない。
顔じゃなくて、で、赤ちゃんが一周ハイして背中に乗ろうとするね。
でも、一周回っていっても、また犬の顔に合っちゃった。
後ろじゃなくて、また犬の顔に合っちゃったって、
「へっ!」、なんか、すごい「えっ!」ってしたの!
<うんうん>で、おしまい!、わかんない>
だってだって、一周回ってっても、犬の背中に後ろから乗れないもん。
<あー!一周!>だから、
えっ!尻尾なはずじゃない?って思ってました。で、おしまい!
ーーーーーーーーーーーーー
【追加】
背中を乗ろうとするときにはあ後ろから乗らなければならによね。<うん>
でも、まあ一周回っても、また顔と顔、対面しちゃったって感じで、
赤ちゃんは多分自分の考え?<一周回ったら・・>
なんでまた顔に合っちゃったっていう感じ。<うん>
うん。だいたいわかる?<笑>
http://amyamiry.blogspot.comより引用)

ด้านล่างนี้(表1)เป็นตารางเปรียบเทียบ
ประเมินการใช้あいづちของตัวเอง(คร่าวๆ)ก่อนทำTask1และ2(自己評価)
ฟังเพื่อนเล่าเรื่องครั้งที่(一回目『赤ちゃん』)
ฟังเพื่อนเล่าเรื่องครั้งที่2(二回目『秘密』)

●=ใช้
×=ไม่ใช้เลย
*ไม่ได้นับจำนวนครั้งเพราะเรื่องที่ฟังไม่ใช่เรื่องเดียวกัน



ส่วนที่เป็น Non-Verbal อาจจะเอาไปรวมกับ あいづち ยาก
เลยจะแยกเป็นตารางที่ 2 (表2)非言語表現 นะคะ


นอกจาก พยักหน้า(頷き)กับหัวเราะ(笑)แล้ว
จริงๆควรจะมีสีหน้า(表情)กับทิศทางการมอง(視線の方向)ด้วย
แต่ส่วนนี้คงประเมินตัวเองยากหน่อย อาจจะต้องถามคนพูดค่ะ55

เพื่อให้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงมากขึ้นนิดนึง
และเปลี่ยนบรรยากาศ
เราจะลองเปรียบตัวเองกับคาแรกเตอร์สัตว์ค่ะ :)

รอบแรก(一回目)เป็นうんうんくま (น้องหมี เออ-ออ) ค่ะ
จุดเด่น:เออออห่อหมก(うん系)กับ พยักหน้า(頷き)ลูกเดียว5555
รอบแรกเป็นผู้ฟังที่เงียบมากกกกค่ะ
ต้องตั้งใจฟังดีๆ ถึงจะได้ยินเสียง「うん」ฟังเผินๆ เหมือนไม่ได้พูดอะไรเลย (เศร้า)
เพื่อนตั้งใจเล่ามากๆ สังเกตจากตอนจบเรื่องแล้วเราบอกว่า"ยังงงๆ"
เพื่อนเลยอธิบายเสริมให้จนเห็นภาพ
กลับมาฟังอีกทีแล้ว รู้สึกตัวเอง失礼มากๆ ที่นั่งฟังเงียบๆ ซะเยอะ
ไม่แสดงทีท่าอินกับเรื่องที่เพื่อนเล่าเลย ; v ;
อันนี้เป็นตัวอย่าง "ผู้ฟังที่ไม่ดี" นะคะ
うんうんくま_http://hiyokoyarou.com/unun-kuma/

รอบที่2(二回目)เป็นルンルン気分で歩くひよこ (เจ้าเจี๊ยบที่กำลังเดินอย่างร่าเริง) ค่ะ
จุดเด่น:แสดงอารมณ์ความรู้สึกมากขึ้น
ลูกเจี๊ยบได้ลองสังเกตการใช้จริงๆ มาแล้วลองเอามาใช้ตาม
สำนวนแสดงความรู้สึกที่ใช้รอบนี้ เช่น
"โห"(へー)
"ใจดีจัง"(やさしい)
"น่าสงสารอะ"(かわいそう)
เริ่มพูดมากขึ้นนิดหน่อย แทนที่จะตอบรับหรือพยักหน้าเพียงอย่างเดียว
มีทวนประโยค เช่น "(โห) เขาทำศัลยกรรมหรอ"(整形?)
การทวนประโยคเป็นวิธีหนึ่งที่แสดงว่าเราสนใจ/ยังอยู่กับเรื่องที่เขาเล่าค่ะ
ルンルン気分で歩くひよこ_http://hiyokoyarou.com/ranking/

*จุดสังเกตอื่นๆ*

①รอบหลังมีสลับใช้รูปสุภาพกับธรรมดา(スピーチスタイルシフト)ในตอนต้นเรื่องด้วยค่ะ
อันนี้แปลกใจตัวเองมากเลย เพราะปกติจะระวังไม่ให้มีผสม
นานๆทีจะหลุดค่ะ55

②เวลาใช้あいづち(タイミング)คิดว่าโอเคขึ้น รอบแรกไม่ค่อยแน่ใจว่า
จะพูดตรงไหนดี  กลัวจะไปรบกวนสมาธิคนพูดด้วย เลยอ้ำอึ้งๆ ค่ะ
รอบ2เริ่มกล้าใช้มากขึ้น ตรงไหนคิดว่า"ตอนนี้แหละ" ก็จัดไปเลย

③ความหลากหลายของสำนวน(バリエーション)จากตารางด้านบนจะเห็นว่า
あいづちที่ใช้มีความหลากหลายมากขึ้นบ้าง (แม้จะยังไม่เยอะเท่าเจ้าของภาษา)
ตรงนี้น่าจะช่วยให้การสนทนา(会話)เป็นไปได้อย่าง Smooth
และเป็นธรรมชาติมากขึ้นค่ะ

④ Intonation(イントネーション)
รอบแรกไม่มีตรงนี้เลยค่ะ เพราะอย่างที่บอกไป เออออกับพยักหน้าอย่างเดียว55
ส่วนรอบที่ 2 นั้น Intonation จะเปลี่ยนแถวๆคำแสดงอารมณ์ความรู้สึกค่ะ

*******************
🌸 สรุป 🌸

【量的】
ด้านปริมาณการใช้รอบที่2ใช้あいづちมากขึ้น
【質的】
มีความหลากหลายของคำ/สำนวนที่ใช้มากขึ้นบ้าง
มีการสลับใช้รูปสุภาพกับธรรมดาในตอนต้นเรื่อง(สุภาพ) ใช้ถี่ขึ้น

ลักษณะเด่นของทั้งสองรอบ
คาแรกเตอร์ うんうんくま (น้องหมี เออ-ออ) ซึ่งมีลักษณะ
ผู้ฟังที่นั่งฟังเงียบๆ เอออออย่างเดียว ไม่อยากไปขัดจังหวะคนพูด
อาจพอไปได้ในสังคมไทย
แต่ในสังคมญี่ปุ่นเป็นคาแรกเตอร์ที่ NG ไม่โอเคเท่าไหร่ค่ะ

ส่วนคาแรกเตอร์ルンルン気分で歩くひよこ (เจ้าเจี๊ยบที่กำลังเดินอย่างร่าเริง)
มีลักษณะเป็นคาแรกเตอร์ที่
เริ่มพูดแสดงความรู้สึก/ความคิดเห็นออกมาบ้าง
ลักษณะผู้ฟังแบบนี้อาจพอไปวัดไปวาได้ในสังคมญี่ปุ่น
แต่ก็ยังไม่ถึงระดับที่น่าพึงพอใจ 理想的 ค่ะ

ในครั้งที่2ยังรู้สึกว่าตัวเองยังไม่ stick อยู่กับเรื่องที่เพื่อนเล่าอยู่ดีค่ะ
สังเกตว่าจะมีบางช่วง เช่น ช่วงกลางๆเรื่องที่มีแต่「うん」หรือเงียบไปเลย

ถ้าจะให้ดียิ่งขึ้นควรจะมีความหลากหลายของการใช้มากกว่านี้
การสังเกตการใช้ของเจ้าของภาษา
ผ่านการฟังวิทยุ หรือ การดูสื่อต่างๆ ที่มีลักษณะเป็น 対話
ก็น่าจะช่วยได้ในระดับหนึ่งค่ะ

*************************************
【???ค้างคาใจ???】

เกี่ยวกับ「お互いさま」

คำว่า「お互いさま」ตอนจบเรื่องที่2ไม่แน่ใจว่าตัวเองใช้ถูก Context ไหม
ค้างคาใจเลยไปค้นมาเพิ่มเติมค่ะ

「お互いさま」
①困ったときのお互いさま。
助けたり、助けられたりすること。(การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน)
②両方とも同じ立場や状態に置かれていること。
(ทั้งสองฝ่ายอยู่บนจุดยืนเดียวกันหรือตกอยู่ในสภาพเดียวกัน)

เคยเห็นในละครใช้สำนวน「どっちもどっちやない?」
ไม่รู้ว่าแตกต่างกันไหม เลยไปค้นมาเพิ่มนิดหน่อยค่ะ

「どっちもどっち」
どちらも同程度である、どちらもあまり評価できたものではない、
といった意味の表現。(実用日本語表現辞典より)
ทั้งสองฝ่ายอยู่ในสภาพเดียวกัน "ไม่ว่าฝ่ายไหนก็แย่พอกัน"
(ใช้เวลาเปรียบเทียบ) มีความหมาย (−)

引用
お互い様 大辞林 第三版の解説
困ったときはお互いさま Weblio類語辞書

************************************************
วันนี้ขอลาไปปั่นงานต่อแล้วค่ะ
ใจจริงคืออยากเขียนต่อมากเลย
ถ้าเทอมนี้ไม่มีเขียนบล็อกชีวิตคงเหี่ยวเฉาน่าดู
ขอบคุณที่อ่านจนจบนะคะ5555

Saturday, April 15, 2017

【WEEK10〜11】人生初の空想作文 (delayed)


WEEK10-11 ที่ผ่านมาได้ฝึกใช้บทพรรณนาแต่งเรื่อง (空想作文)
มาอัพดีเลย์มาก เพราะคิด Content บล็อกไม่ออก (เลยดอง) ค่ะ แหะๆ
http://www.imgrum.org/user/mojiji2014/1037608180/653431347279410770_1037608180
รอบแรกเขียนเรื่องผี(怪談)ส่งไปค่ะ อ.ให้แก้จากโจทย์ที่ยังเขียนได้ไม่ดี
ไม่รู้แก้ใหม่แล้วดีขึ้นไหม...
เวลาเขียนน้อยไปนิด สารภาพว่าส่งไปแบบเผามาก ไร้คุณภาพ... //หนูขอโทษ... T-T

อันที่จะเอามาลงวันนี้คือ เรื่องที่ 2 ค่ะ
จริงๆ อันที่ 2 ก็ยังมีจุดที่รู้สึกว่ายังพัฒนาได้อีก ยังทำได้ดีกว่านี้
แต่ก็ถือว่าฝึกมือไปเรื่อยๆแล้วกัน ; v ;

PLAY ▶︎Summer-久石譲♪




下鴨神社の御手洗祭_https://plaza.rakuten.co.jp/asunokyo/diary/201507040000/

 ที่มาของเรื่อง 

ตอนแรกลังเลว่าจะเขียนเกี่ยวกับประสบการณ์ตัวเองดีไหม
แต่คิดว่าโอกาสได้เขียนงานอิสระ เหมือน Freehand Drawing แบบนี้
คงหาไม่ได้ในมหาลัยแล้ว บางทีอาจเป็นครั้งสุดท้าย(?)
เลยลองแต่งเรื่องเอง...เขียนแบบที่อยากเขียนไปดูค่ะ

ก่อนเขียนคิดว่า...
รอบนี้อยากให้เรื่องออกมาแนวซอฟท์ๆ อ่านแล้วรู้สึกอบอุ่น ฟีลกู้ด อมยิ้มกับตัวเอง
ตัวเรื่องดำเนินไปอย่างช้าๆ เนิบๆ
เหมือนช่วงฤดูร้อนที่ไม่อยากทำอะไรเลย นอกจากนั่งกินไอติมอยู่เฉยๆ55

มีรายละเอียดให้พอเห็นภาพคร่าวๆ
อยากให้ฟีลภาพเบลอๆเหมือนอยู่ในความฝันหน้าร้อนหน่อยๆ

เน้นเสียง อยากลองเขียนเรื่องที่อ่านแล้วได้ยินเสียง
ส่วนตัวชอบเสียงที่มักจะได้ยินช่วงหน้าร้อน(ญป)
เสียงกระดิ่ง รองเท้าเกี๊ยะกระทบกับแผ่นหิน
เสียงจักจั่นร้อง เสียงพลุที่ยิงจากที่ไกลๆ เสียงน้ำเย็นๆไหล
ทั้งหมดนี้ฟังแล้วสบายใจจัง

ตอนจบคิดว่าถ้ามีอะไรที่ทำให้คนอ่านยิ้มได้ พอเป็นพิธีก็น่าจะดี

ตัวละครร่างภาพไว้ประมาณนี้ค่ะ...

ตัวละครหลัก คิดไว้ว่าอยากให้เป็น 平凡なOL (Office Lady)
แบบที่พบเห็นอยู่ทั่วๆไป เป็นคนธรรมดาคนหนึ่งที่ไม่มีจุดเด่นอะไรเลย
ตรงนี้ตั้งใจว่าจะไม่บรรยายรูปร่างลักษณะเลย
แค่พอให้รู้ว่าเป็นคนทำงานที่กำลังกลับจากที่ทำงาน
ตอนเขียนคิดว่า ถ้าไม่บรรยายลักษณะตัวละครอย่างเฉพาะเจาะจงมาก
ผู้อ่านน่าจะนำภาพของตัวละครของเรามาทับซ้อนกับชีวิตตัวเอง
ทำให้เกิด 共感 ได้มากกว่า
(ถึงจะเป็นนร.แต่ก็น่าจะมีประสบการณ์หอบร่างพังกลับบ้านคนเดียวเหมือนกัน55)


ส่วนตัวละครอีกตัวคิดไว้ว่า อยากให้เป็นเด็กผู้หญิงตัวเล็กๆ
อารมณ์ コロボックル (คนตัวเล็กในตำนานของเผ่าไอนุ)
พอมีตัวละครเด็กน้อยแล้วเรื่องน่าจะซอฟท์ลง
อันนี้เป็นความชอบส่วนตัวค่ะ5555

ส่วนเรื่องที่มาของพล็อตนั้น...

ーーーーーーーーーーーーー
舞台:京都市左京区
京都市営バス4系統【下鴨神社前】下車

สมัยเรียนอยู่ที่เกียวโตชอบนั่งรสบัสค่ะ
วันที่ต้องนั่งจากต้นสาย จะได้ครอบครองที่นั่งข้างหน้าต่าง (จุดชมวิวกลางคืนชั้นยอด)
ทางกลับหอพักจะผ่านศาลเจ้าชิโมะงะโมะ(下鴨神社・下鴨さん)ค่ะ
พอตกกลางคืน ถนนเส้นหน้าศาลเจ้าที่รถขับผ่านจะมืดมาก
เห็นแต่แสงไฟจ้าๆของเจ้าตู้ขายน้ำ(自販機)
เคยคิดว่าถ้าต้องเดินผ่านที่แบบนี้กลางคืนคนเดียวคงขนลุกเบาๆ 5555
ศาลเจ้าตอนกลางคืนอาจดูน่ากลัว(สำหรับบางคน)
แต่ก็เป็นสถานที่ๆให้ความรู้สึก 神秘的 ลึกลับชวนค้นหาเหมือนกัน

แต่อย่างไรก็ตาม...เรื่องที่2ก็ยังเป็น Plot โหล(ありふれたプロット)
ตรงนี้เซ็งกับตัวเองที่ยังไม่มีความคิดริเริ่ม(発想)ที่ดีพอ
คราวหน้า(ถ้ามีโอกาส)อยากลองแต่งอะไรที่เป็นตัวเองมากกว่านี้นะ :]

ーーーーーーーーーーーーー
ปัญหาที่พบ

表現・สำนวนภาษา
รอบนี้เพลย์เซฟ ไม่ได้ทดลองใช้สำนวนภาษาหรือคำศัพท์ยากๆเท่าไหร่
ส่วนมากจะงัดออกมาจากคลังเดิม ; v ;
ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะอยากให้งานออกมาอ่านง่ายหน่อย
เพื่อนๆน้องๆในห้องที่เป็นคนอ่านงานเราจะได้เข้าถึงได้เลย

เพราะใช้สำนวนธรรมดาทั่วไป
feedback ภาษาญปจากอ. มีจุดที่ต้องแก้ไขไม่เยอะเท่าไหร่ค่ะ แหะๆ
จะมี①ประโยคย่อหน้ารองสุดท้าย

「溜まった疲れが抜けたようだった。」

「溜まった疲れが抜け出していくかのようだった。」

ใช้สำนวน「〜ていく」แล้วมันจะเห็นภาพมากกว่าว่า
"ความเหนื่อยที่สะสมมันหลุดออกไปจากร่าง5555"

กับอีกจุดคือ ②"ฉากคนเดินลุยน้ำในบ่อ"
「池の水に腰近くまで浸かりながら(後略)」

「足を池に腰近くまで浸しながら(後略)」
คำว่า「浸かる」และ「浸す」
ทั้งสองคำแปลว่า "จุ่ม" "แช่(อยู่ในน้ำ)"

ตอนแรกใช้「浸かる」ไปค่ะ
อ.บอกว่าในกรณีของเรื่องที่เราแต่ง มันเป็นลักษณะที่ตัวละครมองตัวละครตัวอื่น
ใช้「浸かる」ไม่ผิด
แต่ใช้คำว่า「浸す」จะเห็นภาพชัดกว่า
ตอนแรกเดาว่าอาจจะต่างกันที่ระดับความสูงของน้ำด้วยรึเปล่า
แต่อ.บอกว่าระดับน้ำไม่เกี่ยว เป็นเรื่อง feeling มากกว่าค่ะ55

ครั้งหน้าคิดว่าจะลองใช้สำนวน คำศัพท์ใหม่ๆมากกว่านี้
กล้าลองผิดมากขึ้นจะได้เรียนรู้มากขึ้นค่ะ

内容(構成・ネタ)・เนื้อหาและโครงเรื่อง
ส่วนเนื้อหา
ยังไม่ค่อยดีตรงที่ไม่มีจุด Climax
เพราะว่าเป็นคนชอบเรื่องแนวไปเรื่อยๆมากกว่า
ตรงนี้มีข้อเสียคือคนอ่านอาจจะเบื่อเสียก่อน รอบหน้าจะลองปรับตรงนี้ดูใหม่ค่ะ

สำหรับส่วนเนื้อเรื่อง เราได้รับ Feedback จากเพื่อน/น้องๆในห้องประมาณนี้
ส่วนที่ดี ①การบรรยายเมืองตรงย่อหน้าที่สามเห็นภาพดี
②มีภาษาถิ่นคันไซ
③การบรรยายเสียง
④การบรรยายภาพมิทาราชิดังโงะ

ส่วนท่ีปรับปรุงได้อีก

①จุดที่เป็นป้ายรถเมล์หน้าศาลเจ้านึกภาพตามยาก
ไม่เห็นภาพตัวละครใส่หูฟังในตอนต้น
ตรงนี้ลองเอาไปแก้ไขใหม่ดู โดยใส่บทบรรยายภาพเพิ่มนิดหน่อย
แต่ไม่ได้ขีดเส้นใต้ไว้...
ลืมบอกไป... อันข้างบนนี่จะเป็นฉบับแก้ไขแล้วนะคะ

น่าเสียดายที่รอบนี้ Feedback เกี่ยวกับเนื้อหาน้อยไปนิดนึง
เลยไม่ค่อยรู้ว่าคนอ่านคิดยังไงกับงานเราค่ะ เศร้าจัง...55

อุปสรรค/ปัญหาอื่นๆ
ตามหัวบล็อก 人生初の空想作文
ผู้เขียนไม่เคยแต่งเรื่องเองมาก่อนค่ะ ยากกว่าที่คิดเยอะเลย55555

www.newsdigest.fr/newsde/column/.../4812-32.html
ปกติวาดภาพเป็นงานอดิเรก แต่ไม่เคยเขียนเป็นเรื่องค่ะ
เวลาวาดภาพ เราจะมีภาพในหัวก่อนที่จะลงมือเขียนมันลงบนกระดาษ
กรณีของผู้เขียน ภาพในหัวจะเป็น "ฉาก" หรือ "ภาพนิ่ง" เสมอค่ะ T_T
ไม่ใช่ "ภาพเคลื่อนไหว" ที่ตัวละครเดินไปมา

ตอนที่เขียนเรื่องนี้ก็เป็นปัญหาอยู่ไม่น้อยเลยค่ะ
เราจะวาดภาพในหัวเป็นฉากๆก่อน
ฉากนี้ผู้หญิงจะนั่งลงตรงนี้ ฉากหลังเป็นสีนี้ บรรยากาศแบบนี้ แสงเงาลงตรงนี้
อยากเอาฉากโน้นฉากนี้ไปใส่ในเรื่อง
แต่ไม่รู้จะปะติดปะแต่ละฉากให้เป็นเรื่องที่อ่านแล้ว Smooth ยังไง
ส่วนที่เป็นเรื่องราว(ストーリー性)เลยอาจดูไม่ค่อยมีอะไร
เหมือนเอาภาพมาเรียงต่อกันมากกว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว
น่าจะเหมาะเอามาทำนิทานกระดาษ(紙芝居)มากกว่า(มั้ง)5555

อีกเรื่องที่เป็นปัญหาคือ
ภาพที่คิดติดอยู่ในหัวเยอะ เขียนบรรยายภาพในหัวออกมาได้ไม่ทั้งหมดค่ะ
ปัญหาข้อจำกัดทางภาษา และความสามารถในการถ่ายทอดของตัวเราเอง
คงทำอะไรไม่ได้ นอกจากฝึกฝน และฝึกฝนค่ะ

〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜

Thursday, April 13, 2017

【WEEK12】LINE・あいづち・餅つき


http://news.livedoor.com/article/detail/11101671/
ทุกวันนี้ คงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก LINE
Application LINE มีลักษณะเป็นการสนทนาที่ตอบสนองได้ทันทีเมื่อส่งข้อความไป
(リアルタイムトーク)
และมีฟังก์ชัน "อ่านแล้ว"「既読」แสดงข้อความให้เห็นว่า
คู่สนทนาเปิดอ่านข้อความแล้วหรือยัง

วันนี้ยกเรื่อง LINE ขึ้นมา
ในฐานะที่เป็นช่องทางสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร
มองเห็นด้วยตา (น่าจะ)เห็นภาพสิ่งที่จะพูดถึงวันนี้ได้ชัดขึ้นค่ะ

เวลาใช้ LINE การสนทนาที่ไม่ดีจะมีลักษณะเป็น "แชทหนักขวา" (หรือหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง)
"แชทหนักขวา" =พิมพ์ส่งอยู่ฝ่ายเดียว ส่งไปแล้วข้อความจะอยู่ฝั่งขวาเป็นพรืด

タイ語ネットスラング紹介コーナー*
"แชทหนักขวา" (チャット・ナック・クアー)
「右側の重いトーク」とは?
↓ ↓ ↓
(LINEの)連絡がいつも一方的で、送るのはいつも自分(画面の右側)から。
特に、男性が気になる女性に連絡して(既読スルーなどで)無視されたとき。

<具体例>
แชทหนักขวา_https://twitter.com/yns99_JB/status/729963966995177474
เมื่อพูดถึงการสนทนาภาษาญี่ปุ่น..
ปัญหาแชทหนักไปข้าง อาจเกิดในการสนทนานอกจอได้เช่นกัน
หากเราเป็น "ผู้ฟังที่ไม่ดี" ปล่อยให้คู่สนทนาพูดอยู่ฝ่ายเดียว โดยไม่โต้ตอบอะไรเลยค่ะ

ทุกวันนี้เวลาใช้ภาษาญี่ปุ่นคุยกับคนอื่น(นอกจอ)
แล้วถึงตาคู่สนทนาพูด
ท่านผู้อ่านเป็น "ผู้ฟัง" แบบไหนคะ?

ส่วนตัวผู้เขียนพูดน้อยเป็นทุนเดิม ส่วนมากจะฟังคนอื่นพูดเสียเยอะ (ขอโทษค่ะ...)
ก็เลยพยายามหาวิธีให้คนพูดไม่เหงาจนเกินไป
ส่วนใหญ่จะพยักหน้า(うなずき)เป็นพักๆ ให้เขารู้ว่า "ฟังอยู่นะ พูดต่อๆ"

คำที่ใช้บ่อยเวลาคุยกับเพื่อนเช่น
うん系 "หรอ อืมๆๆ"はい」 เวลาคุยเรื่องจริงจังหน่อย
หัวเราะ (笑)ให้รู้ว่าเราเข้าใจ 駄洒落 /เก็ทมุกที่เพื่อนเล่น
④「そうなんだ」"จริงอะ"
⑤「なるほど」"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง"
⑥「いいね/いいな」"ดีจัง"
⑦「そうだね/ですね」"จริงด้วย" (เห็นพ้อง)

*แต่⑥กับ⑦เนี่ยเขาบอกว่ามันไม่โอเท่าไหร่
โดยเฉพาะเวลาอีกฝ่ายกำลังพูดเรื่องสำคัญค่ะ
เพราะมันอาจจะทำให้คนพูดรู้สึกว่า "เธอตั้งใจฟังฉันอยู่ไหมเนี่ย"

「なるほど」「そうですね」はNG! 相手が気分よく話せる相づちの「さしすせそ」とは?【雑談力】によれば、NGだそう・・・

อันนี้เคยเจอมากับตัวค่ะ...
<ตอนอีกฝ่ายพูดจบ>
ผู้เขียน:「そうですね」
คนญป:「・・・今、話したことわかりましたか?」
"เข้าใจที่ฉันพูดไปทั้งหมดรึเปล่า?"
(ช็อกมาก.....ฉันตั้งใจฟังคุณทุกคำพูดเลยนะคะ
ガ━━(゚Д゚;)━━━ン!!

มันเหมือนไม่ตั้งใจฟังจริงๆด้วยสิ
ต่อจากนี้จะระมัดระวังเวลาใช้คำเหล่านี้ให้มากขึ้นค่ะ... T_T

ข้อ②〜⑦คือ สิ่งที่เรียกว่าあいづち
หรือ Sign ที่บอกผู้พูดว่า "ฉันตั้งใจฟังเธออยู่นะ"

อย่าลืมว่าในบทสนทนานอกจอไม่มี「既読」機能 เหมือนใน LINE
คอยบอกคนพูดว่าเรา "เห็นข้อความ(รับสาร)แล้ว"
ดังนั้น あいづちจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
โดยเฉพาะเวลาที่เราคุยกันเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ

จากประสบการณ์ข้างต้นจะเห็นว่าทุกวันนี้ผู้เขียนยังเป็นผู้ฟังที่ไม่ดีเท่าไหร่5555

แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะเป็น "ผู้ฟังที่ดี" (ยิ่งขึ้น)กันนะ?

เรามาลองดูกันดีกว่าว่า คนญี่ปุ่นใช้あいづちอย่างไร

〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜
🌻 คนญี่ปุ่นกับあいづち 🌻

(นอกเรื่อง) ด้านล่างนี้เป็นสติ๊กเกอร์ LINE ที่ใช้แทน あいづち บ่อย
เวลาฟังเพื่อนเล่าอะไรยาวๆ แล้วอยากให้อีกฝ่ายรู้ว่า "ฟัง(อ่าน)อยู่นะ"
ไม่ค่อยอยากทิ้งเป็น 既読スルーค่ะ (อ่านไลน์แล้วไม่ตอบ)...
แต่หลายคนก็ถือว่า「既読」คือ สัญลักษณ์ว่า "ตอบแล้ว" อันนี้แล้วแต่คนค่ะ

(ซ้าย) "อืมๆ" (ขวา) "ใช่มะ (ก็ว่างั้นแหละ)"
ごろごろにゃんすけ_https://store.line.me/stickershop/product/1070922/ja
ครั้งนี้ลองสังเกตการใช้あいづちของคนญี่ปุ่น ที่เป็น AD ของรายการวิทยุค่ะ

安住紳一郎の日曜天国2012年8月12日
「必死に走った話―不審者はお父さん―」
「必死に走った話―農道を牛が走ってきた話―」

เท่าที่ฟัง AD จะส่วนมากจะตอบรับ ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นค่ะ
จะมีบางช่วงเช่น ช่วงที่พิธีกรพูดความเห็นตัวเองเยอะๆ
 AD จะใช้あいづち ค่อนข้างน้อย เหมือนไม่อยากไปรบกวนการพูดของเขา
ผู้เขียนคิดว่า คนนี้ใช้あいづち ได้อย่างพอเหมาะ ไม่มากเกินไปจนน่ารำคาญ
จังหวะการพูดดี เข้ากับจังหวะการพูดของพิธีกร
ช่วยทำให้บทสนทนาดำเนินไปได้อย่างลื่นไหล

สำนวนที่ใช้บ่อย
「ねー」(แสดงความเห็นพ้อง)
「はい」「えー」 (ตอบรับ) และ「笑」(หัวเราะ)

สำนวนอื่นๆ:
「おー」「あー」「へー」「うーん」
「もしかして」「あら」「ほう」
「そうですね/そうだったんですね」

*มีการสลับใช้สำนวนรูปธรรมดาและสุภาพ「うん・はい」

คนญปใช้あいづちเมื่อไหร่?
เขาใช้มีหลายคำมากเลย จะลองยกตัวอย่างเฉพาะคำที่ใช้บ่อยๆค่ะ

▶︎「はい」「えー」(ตอบรับ)
พบตอนที่ผู้พูดพูดจบประโยคแล้ว มักจะตามหลัง (V.)
ตัวอย่าง①:
「(前略)威嚇してきたんです〈{笑}〉、って伝えました〈はーい〉
ตัวอย่าง②:
「(前略)帰宅した私に程なく実家から電話〈はい〉
ตัวอย่าง③:
「72歳の私が、郡山で女子高校生だった頃のことですよ、〈えー

▶︎「笑」(หัวเราะ) AD คนนี้หัวเราะเยอะเป็นพิเศษค่ะ ท่าทางอารมณ์ดี5555
จุดที่หัวเราะมักจะเป็นช่วงรอยต่อประโยคหรือจบประโยคแล้วค่ะ
ตัวอย่าง①:
「当時60代だった父親は50代に間違えられたことを
妙に喜んでいましたが〈{笑}〉、その交番には、(後略)」
ตัวอย่าง②:
「(前略)珍しく父親が、おいさっき朝の散歩帰りに
お前を見つけて声をかけたんだけどー、
いきなり逃げ出すからびっくりしたよー、〈{笑}〉

▶︎「うーん」「えー」「ねー」(เห็นพ้อง) มักพบหลัง「〜よね」「〜ね」(ขอความเห็นพ้อง)
ตัวอย่าง①:
「おい、おい、〈{笑}〉て威嚇してきたんです〈{笑}〉、
って伝えました、〈はーい〉怖いよねー〈うーん〉
ตัวอย่าง②:
「牛ねー、あの賢い、ようですからねー〈ねー〉

〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜
เนื่องจากผู้เขียนเคยไปอยู่แถบภูมิภาคคันไซ(ตะวันตกของญี่ปุ่น)มา
เลยจะคุ้นหูกับあいづち「せやなぁ」(そうだね)//พูดเสียงดังๆ
(แต่ไม่เคยใช้นะคะ มันฟังดูแมนไปหน่อย5555....)
เจ้า「せやなぁ」เนี่ยใช้ได้3แบบเลยนะคะ
①あいづち แสดงความเห็นพ้อง(
共感)
②คำที่ช่วยให้คนพูดพูดต่อได้(話を進めることができる言葉)
③เวลาครุ่นคิดอย่างจริงจัง "จริงสินะ..."(しっかり考えている)

แต่คนญี่ปุ่นมักบอกว่า เวลาใครพูด
「せやなぁ」มาเนี่ย...
มักจะเป็นกรณี②
だいたい話を聞いていない
(ส่วนมากเขาคนนั้นไม่ได้ตั้งใจฟังที่คุณพูดหรอกจ้ะ)
มันคงฟีลเดียวกับที่เราพูด「そうですね」แล้วเขาถามว่า "สรุปฟัง/เข้าใจไหม"นั่นแล...(เศร้า)


นอกจากあいづち ที่ยกมาข้างต้นแล้ว
ยังมีอีกหลายคำที่ใช้กันแพร่หลายค่ะ

เช่น「それな」คำนี้เจอในสติ๊กเกอร์ LINE ที่ใช้ สงสัยเลยไปค้นมาค่ะ5555
ระหว่างค้นเจอคำว่า「あーね」ด้วยเลยเอามาพร้อมกันเลยแล้วกัน
ทั้ง 2 คำเป็น JK流行語 (ศัพท์ฮิตของสาวน้อยม.ปลาย) นะคะ

相手の言ったことに対して、、
「それな」=「それわたしも思う」(共感・同意)
"ฉันก็ว่างั้นแหละ" (เห็นพ้องกับสิ่งที่คนพูดๆ)

「あーね」=「あ〜なるほどね」「そういうことね」(納得・理解)
「"อ๋อ อย่างงี้นี่เอง" "หมายความว่าอย่างงี้นี่เอง" (เข้าใจสิ่งที่คนพูดๆ)


ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
🌸 สรุป 🌸

ด้วยความที่คนไทยเราไม่มีวัฒนธรรมあいづちเหมือนคนญี่ปุ่น
เราเลยเคยชินกับการ"ตั้งใจฟัง" (อย่างเงียบๆ)
เพราะเชื่อว่านั่นคือ การแสดงให้คนพูดเห็นว่า
"เราตั้งใจฟังอยู่"
"ไม่ขัดจังหวะขณะคนอื่นกำลังพูด"

เรื่องการใช้あいづちจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทยที่ต้องค่อยๆเรียนรู้ไป
จากการสังเกตการใช้ของเจ้าของภาษาค่ะ

เรามาฝึกใช้ あいづちให้ถูกต้อง
ลดปัญหา "แชทหนักไปข้าง" (คนพูดพูดอยู่ฝ่ายเดียว)
แสดงให้คนพูดเห็นว่า "เราสนใจสิ่งที่เขาพูด"
มาเป็น "ผู้ฟังที่ดี" กันเถอะค่ะ

日本語会話=餅つき
อ.ญี่ปุ่นท่านหนึ่งเคยสอนผู้เขียนว่า
บทสนทนาที่ดีต้องรับส่งกันเหมือนเวลาตำโมจิ
ผลัดกันตำสองคนถึงจะออกมาดี
การใช้あいづちก็เช่นกันค่ะ

http://world-action.net/archives/4722

Wednesday, April 5, 2017

【WEEK11】INPUT ◀︎▶︎ OUTPUT (บ่นๆ)


เมื่อวานนี้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับ
ความสำคัญของ Input และ Output ในชั้นเรียนค่ะ

เรื่องนี้ผู้เขียนอัดอั้นตันใจมาตั้งแต่ไปเรียนที่ญี่ปุ่น1ปี〜กลับมาไทยแล้ว
อยากพูดมาก แต่ไม่ใช่คนพูดรู้เรื่องเท่าไหร่ สงสารคนฟัง
เปลี่ยนมาเขียนแทนอาจจะรู้เรื่องกว่า(มั้ง)55
จะเป็นแนวๆ เล่าประสบการณ์ชีวิตการเรียนนะคะ

ช่วงเรียนอยู่ที่ญป.เพื่อนที่อยู่ไทยชอบคิดว่า
"เรียนที่ญปสบาย กินดีอยู่ดี ชิว ไปเที่ยวอัพรูปลงSNS เส้นทางโรยด้วยกลีบกุหลาบ"
จริงๆ ที่ลงSNSคือ ส่วนที่แฮปปี้เท่านั้นแหละค่ะ
ส่วนSufferของชีวิตน่ะ คนเขาไม่ค่อยลงกันหรอกจริงไหม55

credit goes to มุนินฺ https://www.facebook.com/cartoonmunin/photos/
a.370565899444.154831.370287299444/10155263503589445/?type=3&theater
เข้าเรื่องเลยแล้วกัน...
ความSufferของผู้เขียนเกิดจากความไม่เคยชินกับการต้อง Output เยอะๆค่ะ

ตอนเรียนอยู่ที่ไทย เราเคยชินกับการเป็นผู้รับอยู่ฝ่ายเดียว
Input ข้อมูลเข้าไปเยอะๆๆๆๆๆ
เหมือนเวลาลง Application อันไหนน่าสนใจ ดูมีประโยชน์ก็ Install ลงเครื่องหมด
มันก็มีประโยชน์เวลาเราต้องการใช้งานนะ
แต่พอ Install ไปเยอะๆ แล้วไม่ค่อยได้เอามาใช้งาน
มันก็จะเกิดเหตุการณ์อย่าง
"อ้าว App นี้ใช้ยังไงนะ" "เอาไว้ใช้ทำอะไรนะ"
สุดท้ายก็ใช้ไม่เป็น หรือ ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าตัวเองรู้วิธีใช้รึเปล่า55

มหาลัยเป็นที่ๆ เรารับอาหารสมองมาก
เราได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ ผ่านการป้อนข้อมูลใหม่เข้าไปทุกวันๆ

แต่ผู้เขียนรู้สึกว่า
น่าเสียดายที่โอกาสที่เราจะได้ Output ข้อมูลที่เราอุตส่าห์ Input เข้าไปเยอะแยะเนี่ย
มันค่อนข้างน้อยไปสักนิด
เมื่อเทียบกับที่มหาลัยที่ญปแล้ว
เรายังให้ความสำคัญกับ Output ค่อนข้างน้อยค่ะ

ยกตัวอย่าง
ชั้นเรียน Japanese Writing (ที่ไทย)
เราไม่ค่อยมีโอกาสได้ใช้ภาษาญี่ปุ่นเขียนอะไรยาวเป็นหน้าๆ หรือเขียนเปเปอร์/รายงาน
ส่วนมากจะเป็นลักษณะให้แต่งประโยคด้วยคำหรือสำนวนที่กำหนดให้เสียมากกว่า
ที่สำคัญคือ เราไม่ค่อยได้รับโจทย์ปลายเปิด ซึ่งเปิดโอกาสให้เราได้สร้างสรรค์งาน
นำความรู้ศัพท์และไวยากรณ์ที่เรียนไปใช้เขียนงานอย่างอิสระ
เนื่องจากเป็นวิชา Skill น่าจะเน้นให้ผู้เรียนรู้จักวิธีการเขียนไปพร้อมๆกับการลงมือทำด้วยตนเองเยอะๆ

ชั้นเรียน Japanese Conversation (ที่ไทย)
เราไม่ค่อยได้พูดอะไรยาวๆหน้าชั้น ส่วนมากจะเป็นลักษณะเขียนสคริปต์จำไปพูดสั้นๆ 2-5 นาที
การนำเสนอหน้าชั้นโดยมีสคริปต์ก่อน ช่วยให้เรารู้จักดำเนินงานเป็นระบบแบบแผน
แต่ก็มีข้อเสียเปรียบคือ เราจะไม่ได้ฝึกรับมือสถานการณ์เฉพาะหน้า
เช่น การรับส่งข้อมูล ถาม-ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กับคนฟัง (อาจเจอคำถามที่ไม่คาดคิด)

Impromptu Speech (การพูดสปีชสด) มีบ้างแต่น้อย
ถ้ามีหลายครั้งน่าจะช่วยสร้างความมั่นใจในการพูด
และช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือสถานการณ์เฉพาะหน้าให้ผู้เรียนได้มากขึ้น
Debates (การโต้วาที) และDiscussion ภาษาญป มีบ้างแต่น้อย
ช่วยให้เราได้ฝึกคิดและพูดนำเสนอความคิดเห็น ณ ตรงนั้น
น่าจะดีต่อการฝึก Output (พูด)

ที่มหาลัยไทยโอกาสที่เราจะได้ Output เยอะๆจริงๆคือ ตอนสอบ
การสอบคือ การวัดปริมาณ Output และความเข้าใจในเนื้อหาของผู้เรียน
ตลอด 1 เทอม Input อะไรเข้าไป เอาออกมาให้หมด
ใครเอาออกมาได้เยอะ
แสดงให้เห็นว่า"ฉันเข้าใจสิ่งที่เรียนไปนะ" "ฉันนำสิ่งที่เรียนไปใช้ได้นะ"​ คะแนนก็จะดีเอง
หลังจากนั้น เรื่องได้เรียนรู้จริงๆหรือไม่
พอเวลาผ่านไป ยังสามารถ Output ข้อมูลนั้นได้อีกไหมนั้นก็เป็นเรื่องของผู้เรียน

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
อ่านมาถึงตรงนี้ก็เริ่มสงสัยแล้วใช่ไหมว่า
แล้วที่มหาลัยที่ญี่ปุ่นเขาให้นร.ต่างชาติเรียนอะไร??

https://search.yahoo.co.jp/image/search?p=テスト勉強+イラスト&ei=UTF-8&rs=1
วันนี้จะมาแนะนำลักษณะการเรียนการสอนของ
คลาสเรียนภาษาญี่ปุ่นเลเวล9ของ มหาลัยD (นามสมมุติ) ที่เคยเรียนค่ะ

เลเวล9เป็นเลเวลสูงสุดของคลาสที่มหาลัยDจัดให้
(เลเวลI初級〜IX超上級)แบ่งละเอียดยิบ...
แต่บอกไว้ก่อนว่าผู้เขียนไม่ใช่เด็กเรียนดีเลิศอะไรนะคะ
ถ้าเรียนเก่งมากคงไม่ suffer กับการเรียนเหมือนที่กำลังจะเล่าหรอก55

เทอมแรกผู้เขียนสอบวัดระดับของมหาลัย (Placement Test) ได้เทียบเท่าเลเวล8
เลยได้เรียนคลาสเลเวล8 พอจบเทอมมีสอบวัดระดับอีกครั้ง
คราวนี้เขาจะพิจารณาคะแนนสอบวัดระดับร่วมกับคะแนนสอบประจำเลเวลด้วย
ปรากฎว่าคะแนนเราผ่านเกณฑ์ อ.เลยถามว่าเทอมหน้าอยากไปเรียนเลเวล9ไหม

"แต่บอกไว้ก่อนว่าเลเวล9ไม่เหมือน8แล้วนะ
เขาจะเน้น Output มากกว่า Input
มันเป็นเวลาที่เธอต้องเอาสิ่งที่สะสมอยู่ในหัวออกมาใช้ให้ดีที่สุดเข้าใจไหม"
อาจารย์ทิ้งท้ายไว้ประมาณนี้...

ตอนนั้นเรายังไม่ค่อยเข้าใจสิ่งที่อาจารย์พูดเท่าไหร่
Output เยอะ มากกว่า Input?
ตอนเรียนเลเวล 8 ที่ผ่านมายังไม่เรียกว่าเยอะหรอ?

จำได้ว่าตอนนั้นคิดนานนะ
เรารู้ว่าเลเวล8สำหรับเราตอนนั้นมันเหมือน Comfort Zone
เรียนได้โดยไม่ได้รู้สึกลำบากอะไรนัก
แค่นั่ง Input ทุกวันๆ Output แค่ตอนแต่งประโยคกับตอนสอบเท่านั้น(ค่อนข้างชิว)
แต่ก็อยากรู้ อยากลองว่า
เลเวล9ที่อ.บอกว่า เขาเน้น Output มากกว่า Input มันเป็นยังไง
มาถึงญปทั้งทีก็อยากลองสิ่งที่ยากขึ้น challenging โอกาสมาแล้วก็ต้องจับไว้
สุดท้ายก็ตัดสินใจไปต่อเลเวล9ค่ะ

ーーーーーーーーーーーーーーーー
คลาสเรียนภาษาญี่ปุ่นเลเวล9
(地獄の) IXレベル日本語総合 ของ D大

▶︎เนื้อหารายวิชา◀︎
ไวยากรณ์ระดับ N1 และ級外(มีบ้าง)
บทอ่าน/สำนวนภาษา/คำศัพท์ จากหนังสือ『人文科学と日本語の接点』
Discussion เกี่ยวกับหัวข้อข่าว (ในวันที่มีpresentationทุกครั้ง)

▶︎การบ้าน/งานที่ได้รับมอบหมาย◀︎
แต่งประโยคโดยใช้รูปไวยากรณ์ที่เรียน(短文作成)
เขียนเปเปอร์1หน้าA4 (ห้ามพิมพ์) เกี่ยวกับหัวข้อที่ได้รับมอบหมาย(発展学習)
ไม่กำหนดรูปไวยากรณ์/สำนวนที่ใช้เขียน  สัปดาห์เว้นสัปดาห์
ตัวอย่างหัวข้อ:
・あなたの母語では敬語がどのように使われるか、簡単にまとめなさい。
・自分の国で村上文学はどのように評価されていますか。
・交通網の発展のプラス面・マイナス面を教えてください。

・日本語の特技は何だと思いますか。

ส่งงานไปสัปดาห์แรก อ.ก็ feedback มาด้วยประโยคนี้ค่ะ //เงียบกริบ555
「(間違いだらけの文法を見て)皆さん、IXレベルですよ。反省してください。」
"พวกเธอเลเวล9กันแล้วนะ สำนึกผิดหน่อย (ไวยากรณ์ผิดเละ งานไก่เขี่ยมากค่ะ)"

▶︎ศึกษาด้วยตนเอง◀︎
「毎週テストをします。テキストを読んできてください。」
"หนังสือเล่มนี้ไปอ่านมา เราจะสอบคันจิอาทิตย์ละครั้ง อย่าลืมเช็คตารางสอบเองด้วย"
หนังสือ 漢字学習(漢検3級レベル)
มีอยู่ครั้งลืมเช็คตารางสอบ ปรากฎวันนั้นมีสอบ
ทำไมน่ะหรอ.... ไม่ได้อ่านไปเลยค่ะ อ่านเช้านั้นเลย10นาทีก่อนสอบ ดีนะไม่ตก... T-T

▶︎สอบ◀︎
漢字テスト1 ครั้ง/สัปดาห์
Mid-term & Final เนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด

▶︎Presentation◀︎
「45分ぐらいの、ディスカッションの司会を進行してください。」
"ครูจะเปิดเวทีให้เธอคนละ 45นาที จะดำเนินการยังไงก็ได้แล้วแต่สะดวกเลยนะ"
มีไวท์บอร์ดกับปากกาให้  ไม่ให้ใช้คอมนำเสนอเพื่อความเท่าเทียมกัน

นำเสนอเดี่ยว 2 ครั้ง/เทอม ครั้งละไม่เกิน 45 นาที
นำเสนอหัวข้อข่าวนสพ.ที่น่าสนใจ
ทำหน้าที่เป็นพิธีกรคอยรับส่ง ยิงคำถาม กับผู้ฟัง

จำได้ว่า Presentation รอบแรกเละไม่เป็นท่าเลยค่ะ (; - ;)
Feedback จากทั้งอ.และเพื่อนก็ตามเนื้อผ้า...
คำถามที่เตรียมไปไม่ดีพอ+ไม่มีประสบการณ์ตรงนี้
เวลาเหลือเยอะ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าไม่ได้...
ตอนนั้นเจ็บใจ แล้วก็เฟลกับตัวเองมาก
ฟีลแบบตัวเองเป็น ダメな人間 เฮ้ออ

รอบสองเลยเตรียม presentation ล่วงหน้าเป็นเดือนเลยค่ะ
กลัวจะเจ๊งอีก แต่ก็ต้องเดินหน้าต่อไป
คิดอย่างเดียวว่า "มันต้องดีขึ้น"
รอบนี้ขอคำแนะนำ เรียนรู้เทคนิคจากอ.ที่รู้จักกันที่เขามีประสบการณ์เป็น司会者บ่อย
ลอง工夫วิธีนำเสนอดูใหม่

สุดท้ายก็ผ่านมันไปได้อย่างปลอดภัย พอดี45นาทีเป๊ะ
ยังมีจุดที่ต้องปรับปรุงแก้ไขอยู่บ้าง
ครั้งนี้แม้จะไม่ใช่発表ที่ดีที่สุดสำหรับตัวเอง
แต่ก็รู้สึกว่าได้พัฒนาขึ้นกว่าครั้งก่อนแม้จะก้าวเล็กๆก็ตามค่ะ
รอบนี้มี Feedback จากเพื่อน (評価กันเอง ไม่มีชื่อ)
คอมเม้นท์ว่า "Discussion วันนี้สนุกมากๆเลย ขอบคุณนะ"
T____T

小さな一歩だが、前に進んだ(涙)

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

ช่วงหลังจากขึ้นมาเรียนห้องเลเวล9
เรา Suffer กับชีวิตมาก
เป็นครั้งแรกที่ร้องไห้เพราะภาษาญี่ปุ่น รู้สึกเกินกำลัง เรียนสู้เพื่อนไม่ได้ กลัวไปหมด
เกิดความคิดอยากกลับไปเรียนเลเวล8
หลังจาก五月病体験 (ปรับตัวไม่ได้ไม่อยากไปร.ร.  แต่ก็ต้องไป..) อยู่เกือบเดือน5555
เราก็เริ่มสังเกตปัญหาของตัวเอง

ส่วนคันจิที่เป็นการศึกษาด้วยตนเอง (Input อย่างเดียว) แล้วไปสอบเขียน (Output) กับ
ส่วน短文作成 (Input รูปไวยากรณ์) แล้วเอามาใช้แต่งประโยค (Output) เราทำได้โอเค ไม่มีปัญหา
แต่
การบ้านเขียนอิสระ(発展学習)ซึ่งเป็นการ Output สิ่งที่อยู่ในหัวออกมา เขียนทีละยาวๆเยอะๆ
และDiscussion / 司会進行 ที่เราต้องเป็นฝ่ายพูดก่อน เริ่มก่อน นำเสนอสิ่งที่อยู่ในหัวออกมาก่อน
(เพราะว่าเคยชินกับการ Input อย่างเดียว+ความขี้อายพูดน้อยเป็นทุนเดิม
เลยนั่งนิ่งๆ ฟังคนอื่นพูดเสียเยอะ)
เรายังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

เราอ่อนสุดในห้อง ช่วงหลังเลยต้องพยายามให้มากขึ้น
ลองเรียนรู้การ Output (พูด) จากการสังเกตเพื่อนที่พูดเก่งๆ
จับเทคนิคแล้วลองทำตามดู ช่วงหลังๆ Feedback จากเพื่อนและครูก็ค่อยๆดีขึ้น (ใจชื้นขึ้นบ้าง....)
ส่วน Output (เขียน) ใช้วิธีอ่านงานเขียนที่ใช้ภาษาดี Input เข้าไป แล้วลองฝึกเขียนตาม
Feedback จากครูช่วงหลังมีคอมเม้นท์เรื่องไวยากรณ์ผิดน้อยลง เนื้อหาเป็นระบบระเบียบมากขึ้น

และสุดท้ายเราก็เรียนจนจบเลเวล9ออกมาได้ค่ะ เฮ~~
เกรดอาจจะไม่ได้สวยงาม A ช้วน
แต่ก็รู้สึกถึงการเติบโต 成長 น้อยๆ ของตัวเองนะ

ขอบคุณห้องเรียนเลเวล9
นรกที่โหด เต็มไปด้วยหยาดเหงื่อ น้ำตาและเสียงถอนหายใจ
แต่ก็เป็นที่ๆได้เรียนรู้และเติบโตไปในเวลาเดียวกัน🌿

https://sozai-good.com/archives/58912

จะทำยังไงให้ตัวเอง Output ได้ดีขึ้นกันนะ??

ความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียน:
น่าจะต้อง Output เยอะๆ
หลายครั้งที่ความคิดของเรา(รวมสิ่งที่ Input เข้าไป) มันติดอยู่ในหัว เอาออกมาใช้ไม่ได้

ถ้าเราเปิดโอกาสให้ตัวเอง Output พูดเยอะๆ เขียนเยอะๆ
แรกๆมันอาจจะยาก ยิ่งกับคนที่ไม่ชินกับการ Output เยอะๆแบบผู้เขียน
แต่พอฝึกตัวเองไปสักพัก มันน่าจะค่อยๆดีขึ้นค่ะ :)

เรายังอาจพบข้อผิดพลาดบางจุดของตัวเอง
ผ่านการสังเกต Output ของตัวเอง
การสังเกตตัวเองอาจเป็นการสังเกตผ่านบุคคลที่3
หรือ การสังเกตตัวเอง 自己モニター ก็ได้

🌻 สรุป  🌻
ทั้งหมดที่พูดมา ไม่ได้หมายความว่า Input ไม่สำคัญนะคะ
 Input และ Output มีความสำคัญพอๆกันนั่นแหละ
สิ่งที่ต้องการพูดคือ ตัวผู้เขียนและผู้เรียนภาษาญปหลายๆท่านอาจจะยังขาด Output (มีไม่มากเท่าที่ควร)
ทำให้ไม่รู้ว่าสิ่งที่ตนเองเรียนรู้ไปถูกต้องไหม
และไม่สามารถสังเกตข้อผิดพลาดบางประการของตนเองได้ค่ะ

เมื่อ Output ออกมาแล้ว เราพบว่ามันยังไม่ดี
เรายังสามารถแก้ไข เพื่อ Input สิ่งที่ถูกต้องเข้าไปใหม่ได้
เราจึงควรให้ความสำคัญกับ Output มากขึ้นค่ะ :)

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
เกี่ยวกับวิชา Applied Japanese Linguistics ที่ผู้เขียนกำลังเรียน

App Jap Ling แตกต่างจากคลาสในมหาลัยที่เคยเรียนมาทั้งหมด
อ.ผู้สอนให้ความสำคัญกับการ Output มาก
แต่ก็ไม่ลืมเน้นให้ผู้เรียนมี Input ที่ดี
ในชั้นเรียนเราได้เรียนรู้/รู้จักการใช้ภาษาญี่ปุ่น
ผ่านการพิจารณาดู Output ของตนเองและของเพื่อน
เพื่อนำไปปรับปรุงแก้ไข เปลี่ยนเป็น Input ที่ดี ป้อนข้อมูลกลับเข้าสมอง
วิธีนี้เป็นวิธีหนึ่งที่ช่วยพัฒนาความสามารถการใช้ภาษาญี่ปุ่นของเราค่ะ👍

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

「世界中にあふれているため息と
君とぼくの甘酸っぱい挫折に捧ぐ...
"あと一歩だけ、前に 進もう"」
KOKUA PROGRESS / スガシカオ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

Saturday, April 1, 2017

ご飯のお供:京漬物ちょこっと紹介♪


วันนี้มาพร้อมความหิว
เราจะมานำเสนอ Ranking ของที่อยากกินมากเมื่อกลับจากญี่ปุ่น(เกียวโต) ค่ะ (เฮ~)

日本(京都)から帰ると食べたくなるものランキング
3位:大学生協のカフェオレ (อันดับ3 café au lait สหกรณ์มหาลัย)
2位:出町ふたばの豆餅 (อันดับ2 โมจิถั่วดำ ร้านเดะมะชิ ฟุตะบะ)
และ
1位:京つけもの (อันดับ1 ผักดองเมืองเกียวโต)

ภาพประกอบจาก http://mdr.blog.so-net.ne.jp/_pages/user/iphone/article?name=2012-10-29
เนื่องจากเมืองเกียวโตตั้งอยู่ในหุบเขาไกลทะเล มีสภาพอากาศและน้ำที่ดีเอื้อต่อการปลูกพืชผัก
ชาวเมืองเกียวโตจึงเชี่ยวชาญเรื่องการถนอมอาหารอย่างมาก
วัฒนธรรมการดองผักก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่เมืองมาตั้งแต่โบราณ

 "ผักดอง" ที่ผลิตจากผักที่ปลูกในจ.เกียวโต หรือ 京漬物(きょうつけもの)
เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะกินข้าวของชาวเกียวโตค่ะ

มีคำกล่าวว่า「漬物がまずければどんなに美味しいご馳走も台無しになる」
(ไม่ว่าอาหารบนโต๊ะจะอร่อยเพียงใด ถ้าผักดองไม่อร่อยแล้ว ทุกอย่างก็สูญเปล่า)

ปัจจุบันเมื่อเราเดินไปตามย่านร้านค้าในตัวเมืองเกียวโตจะเห็นร้านขายผักดองอยู่ข้างทาง
ซึ่งสีสันของผักดองก็สวยเด่นสะดุดตา จนต้องหยิบกล้องถ่ายรูปขึ้นมาเก็บภาพเลยล่ะค่ะ
(แต่ภาพนี้ไม่ได้ถ่ายเองนะ...)

京都「錦市場」漬物屋_://kura1.photozou.jp/pub/438/2448438/photo/156356334_624.jpg
ก่อนไปแลกเปลี่ยนที่เกียวโต ผู้เขียนเกลียดผักดองมากๆ กินไม่ได้เลยล่ะค่ะ
มันทั้งเปรี้ยว กลิ่นตุ๊ยตุ่ยบอกไม่ถูก เจอในแฮมเบอร์เกอร์เมื่อไหร่จะรีบเขี่ยออก(นิสัยเสีย...)
แต่พอไปอยู่เกียวโต อย่างที่เคยเล่าไปแล้วใน
日本の教会編①:教会でよく見かける日本語

ช่วงที่ใช้ชีวิตอยู่ที่นั่น ผู้เขียนไปโบสถ์เกือบทุกวันอาทิตย์ค่ะ
อาหารกลางวันวันอาทิตย์ก็กินที่โบสถ์เลย :D
และสิ่งที่ไม่เคยขาดเลยบนโต๊ะอาหารวันอาทิตย์นั่นก็คือ .....
ผักดอง ค่ะ55

การกินอาหารเหลือเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง ไม่ว่าเราอยู่ที่ไหน
แรกๆก็เลยต้องฝืนใจกินเข้าไปให้หมด
แต่ใครจะไปรู้ว่า...ผักดองที่นี่ มันกลับอร่อยอย่างผิดคาด T_____T

หลังจากวันนั้น เข้าซุปเปอร์เมื่อไหร่มือเป็นต้องหยิบผักดองใส่ลงตะกร้าอัตโนมัติค่ะ5555
เพื่อนๆต่างชาติที่อยู่เกียวโตก็ดูเหมือนจะติดผักดองกันไปตามๆกัน
ตอนเย็นๆนั่งกินข้าวด้วยกันหน้าทีวี ผักดองก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้บนโต๊ะอาหารค่ะ
มีอยู่ครั้งหนึ่ง ข้าวสุกช้า เลยนั่งคีบผักดองกินกันรอข้าวสุกไปเรื่อยๆ
พอข้าวสุกผักดองก็เกือบหมดถุงแล้ว55555

ด้านล่างนี้เป็นภาพผักดองชนิดต่างๆที่พบมากในเมืองเกียวโต
ประทับใจเลยวาดเก็บไว้นานแล้วค่ะ :))


คนเกียวโตมักทำผักดองกินเอง แทนที่จะไปซื้อจากซุปเปอร์
คุณป้าคุณยายที่โบสถ์ที่ผู้เขียนแวะเวียนไป แกก็ดองผักกินกันเองค่ะ 

เวลาดองแตงกวา คุณป้าจะหั่นครึ่งแตงกวาก่อน
เอามีดเฉือนเปลือกออกเล็กน้อยให้น้ำที่ใช้ดองซึมเข้าได้ง่าย
เสร็จแล้วก็เอาแตงกวาที่เตรียมไว้ใส่ลงโหล ปิดฝาเก็บไว้ในตู้เย็น
เขาดองใส่โหลโตๆกัน แบบในภาพด้านล่างนี้เลยนะ
 พอถึงเวลาก็ได้แตงกวาดองแสนอร่อยมารับประทานกันแล้ว~~

Oさん手作りのはんなり漬きゅうり
ในภาพด้านบนเป็นการดองแบบ はんなり漬(はんなりづけ)
คำว่า「はんなり」เป็นคำที่ใช้ในภาษาถิ่นเกียวโต(京ことば)
ว่ากันว่ามีรากศัพท์มาจากคำว่า「花なり」หรือ「花あり」
「はんなり」แปลว่า「上品で明るくはなやかなさま」(+)
(ลักษณะหรูหรางดงาม สดใส ดูมีระดับ)←แปลยากจัง...

ผู้เขียนยังไม่เคยได้ยินใครใช้เลยไม่แน่ใจว่าคำนี้ใช้ใน Context แบบไหน
และในปัจจุบันยังใช้อยู่ไหมนะคะ :)

เท่าที่ลองค้นดู เจอตัวอย่างการใช้คำว่า「はんなり」
เช่น ใช้กับรสชาติ「はんなりとした味」=「上品な味わい」
ใช้กับกลิ่นหอม「はんなり柚子の香り」

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
京都の三大漬物 
ผักดองที่ดองด้วยวิธีดั้งเดิม
แบบเกียวโต

①しば漬・紫葉漬(しばつけ)
しば漬け_http://samurai-japan.co/404
คำว่า ชิบะ (しば)เขียนด้วยตัวคันจิ「紫」สีม่วงงง〜
วิธีการดองผักแบบ「しば漬」เป็นหนึ่งในวิธีดองผักแบบดั้งเดิมของชาวเกียวโต

ผลิตโดยการนำ夏野菜(なつやさい)หรือพืชผักที่เก็บเกี่ยวได้ช่วงฤดูร้อน
เช่น มะเขือม่วงคะโมะ(賀茂なす)แตงกวา(きゅうり)ขิง(しょうが)ฯลฯ
มาดองกับเกลือ และใบชิโสะแดงสับละเอียด(赤紫蘇)

มักพบในข้าวกล่องร้านสะดวกซื้อ(コンビニ弁当)และข้าวกล่องที่ขายตามสถานี(駅弁)

รสชาติ:ออกเค็มปะแล่ม กินกับข้าวสวยแล้วรสชาติกำลังดีเลยค่ะ
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
◯มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

②千枚漬け(せんまいづけ)
かぶの千枚漬け_https://cookpad.com/recipe/2370227
千枚=1,000 แผ่น
แค่ชื่อก็เห็นภาพความบางเฉียบของผักแล้วค่ะ :D

วิธีดั้งเดิมใช้หัวผักกาด(かぶら)ฝานเป็นแผ่นบางเฉียบ
ดองกับสาหร่ายคมบุและเกลือเท่านั้น
แต่ในปัจจุบัน นิยมดองโดยใส่น้ำตาลและน้ำส้มสายชู ดองจนเกิดกรดแล็กทิก(乳酸発酵)

รสชาติ:หัวผักกาดกับสาหร่ายคมบุให้รสชาติหวานอ่อนๆ
มีรสเปรี้ยวของน้ำส้มสายชูติดปลายลิ้นเล็กน้อย
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ในประเทศญี่ปุ่น(เฉพาะบางภูมิภาค)
Xไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

③すぐき漬け
刻みすぐき_htttp://chikuzen.com/TO000X008.html
วิธีดั้งเดิมใช้เพียงแค่ผักสุงุคินะ(すぐき菜)นำมาดองเกลือ
 ดองจนเกิดกรดแล็กทิก(乳酸発酵)
วิธีดองแบบดั้งเดิมนี้สืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
บ้างก็ใช้ผักทะคะนะ(高菜)นำมาดองด้วยวิธีเดียวกัน
มักพบในข้าวกล่องร้านสะดวกซื้อ(コンビニ弁当)และข้าวกล่องที่ขายตามสถานี(駅弁)

รสชาติ:รสชาติออกเค็มอ่อนๆ ไม่หวาน
แบบสับ(刻みすぐき)เอามาคลุกกินกับข้าวสวยร้อนๆ กินอร่อยเหาะ〜
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
◯มีวางจำหน่ายในประเทศไทย
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

その他の漬け方

糠漬け(ぬかづけ)
糠漬け_http://www.rakuten.co.jp/ajfarm/366403/

糠漬け(ぬかづけ)คือ วิธีการดองผักวิธีหนึ่งที่เป็นที่นิยมมาก
ดองโดยการฝังผักที่ต้องการดองลงใน 糠床(ぬかどこ)หรือ รำข้าว
ทิ้งผักไว้จนกระทั่งเกิดกรดแล็กทิก(乳酸発酵)แล้วจึงนำมารับประทานสดหรือใช้ประกอบอาหาร

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
その他の人気のお漬物
ผักดองยอดนิยมอื่นๆ

ゆず大根(ゆずだいこん)
ゆず大根_http://seiyu2636.hatenadiary.jp/entry/2014/02/20/121935
หัวไชเท้าดองกับเปลือกส้มยุซึ
รสชาติ:รสชาติออกหวาน
มีกลิ่นหอมอ่อนๆของส้มยุซึ ให้ความรู้สึกสดชื่น
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ในประเทศญี่ปุ่น(เฉพาะบางภูมิภาค)
Xไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย TーT

白菜漬(はくさいづけ)
白菜漬_https://www.akaoya.jp/item_detail/itemCode,asa14A/
ผักกาดขาวดอง
รสชาติ:อันนี้ไม่เคยชิมค่ะ5555 เท่าที่ถามจากเพื่อนที่เคยกิน เขาบอกว่าอันนี้อร่อยมาก
มันจะเค็มๆเผ็ดๆ ผักกาดกรุบกรอบ5555
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
Xไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

福神漬け(ふくじんづけ)
福神漬け_https://matome.naver.jp/odai/2146910679500093701
福神漬け(ふくじんづけ)หรือ เทพแห่งความสุข
ผักดองสีแดงที่นิยมรับประทานเป็นผักเคียงกับแกงกะหรี่
อันนี้คนไทยน่าจะคุ้นเคยที่สุด เพราะมันมีในร้านข้าวแกงกะหรี่ยังไงล่ะ55
รสชาติ:บ้างก็ออกหวาน บ้างก็เค็ม แล้วแต่บริษัทและวัตถุดิบที่ใช้ผลิตค่ะ
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
◯มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

沢庵(たくあん・たくわん)
たくあん_https://quote.d3.ru/
หัวไชเท้าดอง สีเหลืองน่ารัก
ผลิตจากการนำหัวไชเท้ามาดองกับเกลือและน้ำตาล

เขาว่ากันว่าชื่อของเจ้าไชเท้าดองสีเหลืองชนิดนี้
ชื่อเต็มๆของมันคือ沢庵漬け(たくあんづけ)
ตั้งตามชื่อคนคิดคือ ทะคุอันโซโฮ(沢庵宗彭)พระรูปหนึ่งสมัยเอโดะ
นิยมนำมารับประทานเป็นผักเครื่องเคียงหรือใส่เป็นไส้ข้าวห่อสาหร่าย(のり巻き)

รสชาติ:ออกหวาน
★มีวางจำหน่ายตามซุปเปอร์ทั่วไปในประเทศญี่ปุ่น
◯มีวางจำหน่ายในประเทศไทย

きゅうり一本漬け
きゅうり一本漬け_https://oceans-nadia.com/user/22477/recipe/127305
แตงกวาดองเค็มเสียบไม้ (แบบทั้งลูก) ราคาราว 500 เยน/ไม้

รสชาติเค็มปะแล่ม ให้ความรู้สึกสดชื่น เหมาะสำหรับกินตอนฤดูร้อน :P
★มีวางจำหน่ายตามย่านร้านค้า(商店街)และในงานเทศกาล
Xไม่มีวางจำหน่ายในประเทศไทย (มีแต่แบบหั่นเป็นชิ้น)


วันนี้เวลาน้อยไปนิด อาจจะแนะนำไม่ได้ทั้งหมด
เอาภาพมาให้ดูเพียงบางส่วนให้น้ำลายสอเล่นเท่านั้นค่ะ55
หากท่านผู้อ่านมีโอกาสได้ไปเที่ยวเกียวโต ก็อย่าลืมแวะไปชิมผักดองกันนะคะ♪
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー