Thursday, April 13, 2017

【WEEK12】LINE・あいづち・餅つき


http://news.livedoor.com/article/detail/11101671/
ทุกวันนี้ คงแทบไม่มีใครไม่รู้จัก LINE
Application LINE มีลักษณะเป็นการสนทนาที่ตอบสนองได้ทันทีเมื่อส่งข้อความไป
(リアルタイムトーク)
และมีฟังก์ชัน "อ่านแล้ว"「既読」แสดงข้อความให้เห็นว่า
คู่สนทนาเปิดอ่านข้อความแล้วหรือยัง

วันนี้ยกเรื่อง LINE ขึ้นมา
ในฐานะที่เป็นช่องทางสื่อสารที่เป็นลายลักษณ์อักษร
มองเห็นด้วยตา (น่าจะ)เห็นภาพสิ่งที่จะพูดถึงวันนี้ได้ชัดขึ้นค่ะ

เวลาใช้ LINE การสนทนาที่ไม่ดีจะมีลักษณะเป็น "แชทหนักขวา" (หรือหนักไปข้างใดข้างหนึ่ง)
"แชทหนักขวา" =พิมพ์ส่งอยู่ฝ่ายเดียว ส่งไปแล้วข้อความจะอยู่ฝั่งขวาเป็นพรืด

タイ語ネットスラング紹介コーナー*
"แชทหนักขวา" (チャット・ナック・クアー)
「右側の重いトーク」とは?
↓ ↓ ↓
(LINEの)連絡がいつも一方的で、送るのはいつも自分(画面の右側)から。
特に、男性が気になる女性に連絡して(既読スルーなどで)無視されたとき。

<具体例>
แชทหนักขวา_https://twitter.com/yns99_JB/status/729963966995177474
เมื่อพูดถึงการสนทนาภาษาญี่ปุ่น..
ปัญหาแชทหนักไปข้าง อาจเกิดในการสนทนานอกจอได้เช่นกัน
หากเราเป็น "ผู้ฟังที่ไม่ดี" ปล่อยให้คู่สนทนาพูดอยู่ฝ่ายเดียว โดยไม่โต้ตอบอะไรเลยค่ะ

ทุกวันนี้เวลาใช้ภาษาญี่ปุ่นคุยกับคนอื่น(นอกจอ)
แล้วถึงตาคู่สนทนาพูด
ท่านผู้อ่านเป็น "ผู้ฟัง" แบบไหนคะ?

ส่วนตัวผู้เขียนพูดน้อยเป็นทุนเดิม ส่วนมากจะฟังคนอื่นพูดเสียเยอะ (ขอโทษค่ะ...)
ก็เลยพยายามหาวิธีให้คนพูดไม่เหงาจนเกินไป
ส่วนใหญ่จะพยักหน้า(うなずき)เป็นพักๆ ให้เขารู้ว่า "ฟังอยู่นะ พูดต่อๆ"

คำที่ใช้บ่อยเวลาคุยกับเพื่อนเช่น
うん系 "หรอ อืมๆๆ"はい」 เวลาคุยเรื่องจริงจังหน่อย
หัวเราะ (笑)ให้รู้ว่าเราเข้าใจ 駄洒落 /เก็ทมุกที่เพื่อนเล่น
④「そうなんだ」"จริงอะ"
⑤「なるほど」"อ๋อ อย่างนี้นี่เอง"
⑥「いいね/いいな」"ดีจัง"
⑦「そうだね/ですね」"จริงด้วย" (เห็นพ้อง)

*แต่⑥กับ⑦เนี่ยเขาบอกว่ามันไม่โอเท่าไหร่
โดยเฉพาะเวลาอีกฝ่ายกำลังพูดเรื่องสำคัญค่ะ
เพราะมันอาจจะทำให้คนพูดรู้สึกว่า "เธอตั้งใจฟังฉันอยู่ไหมเนี่ย"

「なるほど」「そうですね」はNG! 相手が気分よく話せる相づちの「さしすせそ」とは?【雑談力】によれば、NGだそう・・・

อันนี้เคยเจอมากับตัวค่ะ...
<ตอนอีกฝ่ายพูดจบ>
ผู้เขียน:「そうですね」
คนญป:「・・・今、話したことわかりましたか?」
"เข้าใจที่ฉันพูดไปทั้งหมดรึเปล่า?"
(ช็อกมาก.....ฉันตั้งใจฟังคุณทุกคำพูดเลยนะคะ
ガ━━(゚Д゚;)━━━ン!!

มันเหมือนไม่ตั้งใจฟังจริงๆด้วยสิ
ต่อจากนี้จะระมัดระวังเวลาใช้คำเหล่านี้ให้มากขึ้นค่ะ... T_T

ข้อ②〜⑦คือ สิ่งที่เรียกว่าあいづち
หรือ Sign ที่บอกผู้พูดว่า "ฉันตั้งใจฟังเธออยู่นะ"

อย่าลืมว่าในบทสนทนานอกจอไม่มี「既読」機能 เหมือนใน LINE
คอยบอกคนพูดว่าเรา "เห็นข้อความ(รับสาร)แล้ว"
ดังนั้น あいづちจึงเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
โดยเฉพาะเวลาที่เราคุยกันเป็นภาษาญี่ปุ่นค่ะ

จากประสบการณ์ข้างต้นจะเห็นว่าทุกวันนี้ผู้เขียนยังเป็นผู้ฟังที่ไม่ดีเท่าไหร่5555

แล้วต้องทำอย่างไรถึงจะเป็น "ผู้ฟังที่ดี" (ยิ่งขึ้น)กันนะ?

เรามาลองดูกันดีกว่าว่า คนญี่ปุ่นใช้あいづちอย่างไร

〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜
🌻 คนญี่ปุ่นกับあいづち 🌻

(นอกเรื่อง) ด้านล่างนี้เป็นสติ๊กเกอร์ LINE ที่ใช้แทน あいづち บ่อย
เวลาฟังเพื่อนเล่าอะไรยาวๆ แล้วอยากให้อีกฝ่ายรู้ว่า "ฟัง(อ่าน)อยู่นะ"
ไม่ค่อยอยากทิ้งเป็น 既読スルーค่ะ (อ่านไลน์แล้วไม่ตอบ)...
แต่หลายคนก็ถือว่า「既読」คือ สัญลักษณ์ว่า "ตอบแล้ว" อันนี้แล้วแต่คนค่ะ

(ซ้าย) "อืมๆ" (ขวา) "ใช่มะ (ก็ว่างั้นแหละ)"
ごろごろにゃんすけ_https://store.line.me/stickershop/product/1070922/ja
ครั้งนี้ลองสังเกตการใช้あいづちของคนญี่ปุ่น ที่เป็น AD ของรายการวิทยุค่ะ

安住紳一郎の日曜天国2012年8月12日
「必死に走った話―不審者はお父さん―」
「必死に走った話―農道を牛が走ってきた話―」

เท่าที่ฟัง AD จะส่วนมากจะตอบรับ ไม่ค่อยแสดงความคิดเห็นค่ะ
จะมีบางช่วงเช่น ช่วงที่พิธีกรพูดความเห็นตัวเองเยอะๆ
 AD จะใช้あいづち ค่อนข้างน้อย เหมือนไม่อยากไปรบกวนการพูดของเขา
ผู้เขียนคิดว่า คนนี้ใช้あいづち ได้อย่างพอเหมาะ ไม่มากเกินไปจนน่ารำคาญ
จังหวะการพูดดี เข้ากับจังหวะการพูดของพิธีกร
ช่วยทำให้บทสนทนาดำเนินไปได้อย่างลื่นไหล

สำนวนที่ใช้บ่อย
「ねー」(แสดงความเห็นพ้อง)
「はい」「えー」 (ตอบรับ) และ「笑」(หัวเราะ)

สำนวนอื่นๆ:
「おー」「あー」「へー」「うーん」
「もしかして」「あら」「ほう」
「そうですね/そうだったんですね」

*มีการสลับใช้สำนวนรูปธรรมดาและสุภาพ「うん・はい」

คนญปใช้あいづちเมื่อไหร่?
เขาใช้มีหลายคำมากเลย จะลองยกตัวอย่างเฉพาะคำที่ใช้บ่อยๆค่ะ

▶︎「はい」「えー」(ตอบรับ)
พบตอนที่ผู้พูดพูดจบประโยคแล้ว มักจะตามหลัง (V.)
ตัวอย่าง①:
「(前略)威嚇してきたんです〈{笑}〉、って伝えました〈はーい〉
ตัวอย่าง②:
「(前略)帰宅した私に程なく実家から電話〈はい〉
ตัวอย่าง③:
「72歳の私が、郡山で女子高校生だった頃のことですよ、〈えー

▶︎「笑」(หัวเราะ) AD คนนี้หัวเราะเยอะเป็นพิเศษค่ะ ท่าทางอารมณ์ดี5555
จุดที่หัวเราะมักจะเป็นช่วงรอยต่อประโยคหรือจบประโยคแล้วค่ะ
ตัวอย่าง①:
「当時60代だった父親は50代に間違えられたことを
妙に喜んでいましたが〈{笑}〉、その交番には、(後略)」
ตัวอย่าง②:
「(前略)珍しく父親が、おいさっき朝の散歩帰りに
お前を見つけて声をかけたんだけどー、
いきなり逃げ出すからびっくりしたよー、〈{笑}〉

▶︎「うーん」「えー」「ねー」(เห็นพ้อง) มักพบหลัง「〜よね」「〜ね」(ขอความเห็นพ้อง)
ตัวอย่าง①:
「おい、おい、〈{笑}〉て威嚇してきたんです〈{笑}〉、
って伝えました、〈はーい〉怖いよねー〈うーん〉
ตัวอย่าง②:
「牛ねー、あの賢い、ようですからねー〈ねー〉

〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜〜
เนื่องจากผู้เขียนเคยไปอยู่แถบภูมิภาคคันไซ(ตะวันตกของญี่ปุ่น)มา
เลยจะคุ้นหูกับあいづち「せやなぁ」(そうだね)//พูดเสียงดังๆ
(แต่ไม่เคยใช้นะคะ มันฟังดูแมนไปหน่อย5555....)
เจ้า「せやなぁ」เนี่ยใช้ได้3แบบเลยนะคะ
①あいづち แสดงความเห็นพ้อง(
共感)
②คำที่ช่วยให้คนพูดพูดต่อได้(話を進めることができる言葉)
③เวลาครุ่นคิดอย่างจริงจัง "จริงสินะ..."(しっかり考えている)

แต่คนญี่ปุ่นมักบอกว่า เวลาใครพูด
「せやなぁ」มาเนี่ย...
มักจะเป็นกรณี②
だいたい話を聞いていない
(ส่วนมากเขาคนนั้นไม่ได้ตั้งใจฟังที่คุณพูดหรอกจ้ะ)
มันคงฟีลเดียวกับที่เราพูด「そうですね」แล้วเขาถามว่า "สรุปฟัง/เข้าใจไหม"นั่นแล...(เศร้า)


นอกจากあいづち ที่ยกมาข้างต้นแล้ว
ยังมีอีกหลายคำที่ใช้กันแพร่หลายค่ะ

เช่น「それな」คำนี้เจอในสติ๊กเกอร์ LINE ที่ใช้ สงสัยเลยไปค้นมาค่ะ5555
ระหว่างค้นเจอคำว่า「あーね」ด้วยเลยเอามาพร้อมกันเลยแล้วกัน
ทั้ง 2 คำเป็น JK流行語 (ศัพท์ฮิตของสาวน้อยม.ปลาย) นะคะ

相手の言ったことに対して、、
「それな」=「それわたしも思う」(共感・同意)
"ฉันก็ว่างั้นแหละ" (เห็นพ้องกับสิ่งที่คนพูดๆ)

「あーね」=「あ〜なるほどね」「そういうことね」(納得・理解)
「"อ๋อ อย่างงี้นี่เอง" "หมายความว่าอย่างงี้นี่เอง" (เข้าใจสิ่งที่คนพูดๆ)


ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
🌸 สรุป 🌸

ด้วยความที่คนไทยเราไม่มีวัฒนธรรมあいづちเหมือนคนญี่ปุ่น
เราเลยเคยชินกับการ"ตั้งใจฟัง" (อย่างเงียบๆ)
เพราะเชื่อว่านั่นคือ การแสดงให้คนพูดเห็นว่า
"เราตั้งใจฟังอยู่"
"ไม่ขัดจังหวะขณะคนอื่นกำลังพูด"

เรื่องการใช้あいづちจึงเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่สำหรับคนไทยที่ต้องค่อยๆเรียนรู้ไป
จากการสังเกตการใช้ของเจ้าของภาษาค่ะ

เรามาฝึกใช้ あいづちให้ถูกต้อง
ลดปัญหา "แชทหนักไปข้าง" (คนพูดพูดอยู่ฝ่ายเดียว)
แสดงให้คนพูดเห็นว่า "เราสนใจสิ่งที่เขาพูด"
มาเป็น "ผู้ฟังที่ดี" กันเถอะค่ะ

日本語会話=餅つき
อ.ญี่ปุ่นท่านหนึ่งเคยสอนผู้เขียนว่า
บทสนทนาที่ดีต้องรับส่งกันเหมือนเวลาตำโมจิ
ผลัดกันตำสองคนถึงจะออกมาดี
การใช้あいづちก็เช่นกันค่ะ

http://world-action.net/archives/4722

10 comments:

  1. เปรียบเหมือนการตำโมจิ! なるほど!เข้าใจเลยค่ะ

    ReplyDelete
  2. それな!笑
    ชอบคำว่าแชทหนักขวาอะ เจอจริงๆ เป็นความรู้สึกที่แบบ เอ๊ เขาไม่อยากคุยกะเราปะวะ5555
    ได้ความรู้เรื่องศัพท์คันไซด้วย ขอบคุณมากๆเลย

    ReplyDelete
    Replies
    1. เราว่า あいづち มีประโยชน์มากตรงที่ทำให้คนพูดไม่เหงาจนเกินไปนะ
      บางครั้งคุยภาษาไทยกับเพื่อน เล่าเรื่องที่เราคิดว่าสำคัญ แล้วเพื่อนฟังเงียบๆ ก็เคยสงสัยว่าสรุปว่าที่เงียบๆคือ ตั้งใจฟังอยู่ หรือ เรื่องของเราน่าเบื่อเลยฟังผ่านๆไปงั้น เศร้า... TT

      Delete
  3. โอโห้ ที่ผ่านมาเผลอใช้ そうだね なるほど ตอนตอบไลน์ไปบ่อยเลยค่ะ คราวหลังจะระวังเหมือนกัน

    ReplyDelete
    Replies
    1. เนาะๆ ตอนตอบไลน์เราไม่ค่อยติดนะ แต่เวลาพูดนี่หลังๆรู้สึกเยอะเกินไป เพิ่งรู้ว่ามันให้ฟีลเหมือนเราไม่ได้ตั้งใจฟังด้วย คำๆเดียวคิดไปได้เยอะขนาดนี้5555 มาระวังกันเถอะเนาะ

      Delete
  4. หนูมีปัญหาในการใช้ そうですねมากๆๆ TT
    หลายครั้ง ก็ตั้งใจฟังอยู่ค่ะ พอเค้าพูดจบ เราก็ไม่รู้จะตอบว่าอะไร ก็เลย そうですね
    (ด้วยหน้ามึนๆ แบบที่หนูเป็นปกติ คือเป็นคนเปื่อยง่ะ 55 อีกอย่าง จริงๆ อ.ก็สอนมาหลายทีแล้วว่า そうですねมันมีอินโทเนชั่นหลายแบบ ถ้าเราใส่อารมณ์มันก็ดูเหมือนเราสนใจได้ แต่... หนูมักจะรู้สึกขัดๆที่จะใส่อารมณ์ลงในคำพูดค่ะ)
    กลายเป็นว่า ทำบทสนทนากร่อยไปเลย 555 ด้วย そうですね OTL

    ReplyDelete
    Replies
    1. わかる〜เราก็มีปัญหา หลายครั้งที่แบบ「そうですね」บ่อยจนคนพูดทำหน้างงว่าจะ「そうですね」อีกนานไหม เพราะบางครั้งเขาคาดหวัง意見หรือ感想จากเรา แต่เราเดาทางไม่ถูก T v T เราว่าเรื่องเดาทางคนพูดนี่ยากสุดละ orz

      Delete
  5. อื้อหือ นี่คือนึกไปไม่ถึงเรื่องไลน์เลยอ่ะพี่ ไม่เคยคิดว่าคนญปเขาจะซีเรียสเรื่องあいづちแม้กระทั่งการพิมพ์ นี่คงต้องไปฝึกอะไรอีกเยอะ ตอนนี้ยังพลาดได้แต่ทำงานคงต้องทำตัวกลมกลืนให้ได้สินะ อุ๋งๆ

    ReplyDelete
    Replies
    1. จริงๆ LINE ไม่น่าซีเรียสเรื่องあいづちนะ น่าจะแล้วแต่คนด้วยแหละว่าจะตอบยังไง
      เรื่องนึงเกี่ยวกับไลน์ที่เคยได้ยิน (อันนี้ไม่เกี่ยวกับあいづちนะ) คือ คนญปบางคนบอกว่าคนตอบไลน์แบบประโยคมี fullstop 。เนี่ยเป็นคน厳しいมาก

      Delete
  6. ขอสารภาพว่าเพิ่งมาอ่านบล็อกเหมียวอ่ะ เขียนดีมากกกกกก ปรบมือๆๆ

    เห็นเหมียวสรุปเรื่อง せやな ด้วย เราเลยนึกถึงคลิปนึงของจัมพ์ที่เคยดู จำไม่ค่อยได้ละว่าเป็นคลิปอะไร แต่น่าจะเป็นคลิปอวยพรปีใหม่ เริ่มจากเมมเบอร์แต่ละคนก็จะอวยพรปีใหม่มาเรื่อยๆ จนมาถึงคนนึง อยู่ๆก็พูดขึ้นมาเลยว่า せやな แล้วก็พูดอะไรต่อซักอย่างเป็นคันไซเบง(์?) แล้วค่อยอวยพรปีใหม่ อย่างกรณีนี้เราว่าน่าจะเป็นแบบ "③เวลาครุ่นคิดอย่างจริงจัง"รึเปล่า อีกอย่างที่สงสัยคือ เมมเบอร์ที่พูดคำนี้จริงๆเป็นคนเซนไดอ่ะ เลยไม่แน่ใจว่าโทโฮคุเบงก็ใช้คำนี้ด้วยรึเปล่า (หรือจริงๆเค้าอาจจะอยากพูดคันไซเบงเล่นๆเฉยๆก็ได้)

    เรื่องวัฒนธรรมที่ต่างกันนี่ก็มีผลจริงๆทำให้เรามี あいづち น้อย
    これからも一緒に頑張ろうね!

    ReplyDelete