วันนี้ป่วย ปวดหัวไข้ขึ้นแต่เช้าเลยค่ะ ไม่รู้ไปติดใครมา วันก่อนยังดีๆอยู่เลย5555
ไหนๆแพลนล่ม ไม่ได้ออกไปไหนแล้ว เขียนบล็อกแล้วกัน
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
เขาว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a(インフルエンザA型)กำลังระบาดด้วย
ยังไงก็อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ ヘックション ( ` >Д<)s'“・,・
ภาพประกอบจาก http://www.irasutoya.com/2012/12/blog-post_4033.html |
เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า ครั้งนี้อัพบล็อกช้าเลยใครรออยู่ต้องขอโทษด้วยนะคะ m(_._)m
ครั้งนี้เราจะว่าด้วยเรื่องของ「自己モニター」และ「モニター力」
「モニター力」←อ่านว่า モニターりょく อย่าเด๋ออ่านเป็นモニターカ(カタカナ)แบบผู้เขียนนะคะ555
คำว่า 自己(じこ)แปลว่า Self หรือ ตัวเอง
ส่วนคำว่า モニター ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีหลายความหมายมาก
モニターที่จะพูดถึงในครั้งนี้หมายถึง "การย้อนมองดู/ตรวจสอบ การใช้คำหรือสำนวนของตัวเองว่าใช้ได้อย่างถูกต้องแล้วหรือยัง" ค่ะ (ไว้มีเวลาจะแนะนำคำว่าモニターในความหมายอื่นๆนะคะ :) )
ถ้าลองพูดให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพมากขึ้น
自己モニター คล้ายกับการใช้ "กระจก" ส่องมองดูตัวเราเองค่ะ
มองดูตัวเราในที่นี้หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของการใช่ภาษาของตัวเราเอง นะ
自己モニター ใช้ได้กับทั้งการพูดและการเขียนภาษาต่างประเทศ
เนื่องจากในบล็อกWEEKแรกๆได้พูดเรื่องการพูดไปบ้างแล้ว ในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่การเขียนเป็นหลักค่ะ
💋 การพูด 💋
เราอาจใช้วิธีอัดเสียงตัวเอง(録音)แล้วนำมาแกะเทป เพื่อสังเกตจุดบกพร่องในการใช้ภาษาของตัวเองค่ะ อย่างที่ผู้เขียนได้ทดลองทำไปแล้วในกิจกรรม"แนะนำตัวเอง"(自己紹介)ใน【WEEK1】และ【WEEK3】จากกิจกรรม"แนะนำตัวเอง"ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแกะเทปช่วยให้เรามองเห็นจุดผิดพลาดของตัวเองได้ง่ายขึ้น บ่อยครั้งเวลาที่เราพูดภาษาต่างประเทศ เราไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดนิสัยใช้คำหรือสำนวนไหนบ่อยที่ใช้แล้วฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ
✒️ การเขียน✒️
เราสามารถเช็คความถูกต้องของการใช้ภาษาได้ด้วยตนเอง โดยดูจาก หรือ อาจะขอให้Native Speakerช่วยตรวจสอบให้ค่ะ
①รูปสำนวน(文体 )
การใช้รูปสำนวนให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์ของงานเขียนเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจค่ะ
「〜です・〜ます・〜である・〜だ」
สำนวน「〜です・〜ます」มักใช้ในงานเขียนทั่วไปที่ต้องการความสุภาพ จดหมาย(ทางการ) ข้อความแนะนำสถานที่ ฯลฯ
สำนวน「〜である」มักใช้ในงานเขียนเชิงวิชาการ รายงาน ฯลฯ
สำนวน「〜だ」มักใช้ในจดหมาย(ไม่เป็นทางการ) ไดอารี่ส่วนบุคคล ฯลฯ
②ความสัมพันธ์กัน (Correspondent) ของประโยคส่วนหน้าและส่วนหลัง(文頭と文末の呼応 )
งานเขียนที่ดีควรผ่านการตรวจเช็คความสัมพันธ์กันของประโยคส่วนหน้าและส่วนหลัง
ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างเราๆมักเขียนประโยคโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับประโยคที่ตามข้างหลัง
ประโยคที่ส่วนหน้าและส่วนหลังไม่สัมพันธ์กันทำให้สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อไม่ชัดเจน และผู้อ่านก็เกิดความสับสนด้วย
รูปสำนวนที่ใช้บ่อย เช่น
・〜理由は、(〜から/ため)である。
ตัวอย่าง:私が貴社を希望した理由は、 御社の「お客さまのために」という企業理念に共感したからです。
・私は、〜と考える。
ตัวอย่าง:私はもっと練習すべきだと考える。
・〜目的は、〜ことである。/〜目的は、〜にある。
ตัวอย่าง1:このレポートの目的は、上述のような観点から〜について明らかにすることである。
ตัวอย่าง2:行政改革の最大の目的は、「簡素で効率的、透明な政府」を実現することにある。
ฯลฯ
③คำที่มักใช้ด้วยกัน หรือ Collocation(コロケーション)
เราสามารถเพิ่มคลังศัพท์ของตนเองด้วยการเรียนรู้ Collocation เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆค่ะ
อาจเป็นWebsite (ไว้มีเวลาจะมาแชร์นะคะ55)
การอ่านข่าว บทความที่เจ้าของภาษาเขียนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเก็บ(เรียนรู้) Collocation อีกวิธีที่ผู้เขียนใช้บ่อยค่ะ
ขณะที่เราอ่าน เราจะเก็บข้อมูลคำศัพท์และโครงสร้างภาษา สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์เวลาเราต้องเขียน(Output)หรือผลิตงานเองค่ะ
นอกจากนี้ความรู้เรื่อง Collocation ยังมีส่วนช่วยในการฟังจับใจความภาษาต่างประเทศอีกด้วยค่ะ
フォード(1996)พูดถึงขั้นตอนการฟังจับใจความไว้ในงานวิจัย4ขั้นตอนค่ะ
①音連続を受容・การรับข้อมูลเสียงในลักษณะต่อเนื่อง
②音韻として把捉・สมองจะจับหน่วยทางเสียง
③意味のある単位に切って、それぞれを意味と結びつける・สมองแบ่งเสียงเป็นหน่วยที่มีความหมาย ก่อนเข้าสู่กระบวนการเทียบเสียงกับความหมาย
④ 文レベルあるいはテキスト全体の内容を理解・การทำความเข้าใจประโยคและเนื้อหาtextโดยรวม
ความรู้เรื่องCollocation จะช่วยเหลือเราในขั้นตอนที่③ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ขั้นตอนนี้ส่งผลต่อเบอร์④ (การทำความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม)
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าเรารู้จักCollocationมาก โอกาสในการฟังจับใจความผิด(ฟังผิดไปเป็นอีกความหมาย)ก็น่าจะลดน้อยลงด้วยค่ะ
④ปริมาณข้อมูล(情報量)
บทความที่มีเนื้อหามากจนเกินไปย่อมไม่น่าอ่านและชวนสับสน
ปริมาณข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรระวังค่ะ
ถ้าเราใส่ข้อมูลมากเกินความจำเป็น ประเด็นที่เราต้องการจะสื่อจริงๆจะฟังดูไม่ชัดเจน
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ
คล้ายๆกับเวลาผัดกับข้าวอะไรซักอย่างแล้วใส่ซอสเยอะเกินจนมองไม่เห็นเนื้อนั่นแหละค่ะ5555
อยากให้เห็นเนื้อชัดๆ แต่โดนซอสกลบซะหมด ภาพรวมคงดูไม่น่ากินหรือบางทีอาจดูไม่ออกว่านี่คืออาหารอะไรจริงไหมคะ
⑤ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ(中心文)
ด้วยเหตุนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ(ประเด็นหลัก)จึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ
โดยธรรมชาติของคนเรา เวลามีเรื่องอยากจะพูด อยากจะแชร์เยอะๆแล้วเขียนออกมา
เนื้อหามักจะเยอะเกิน จนทำให้คนฟังหรือคนอ่านจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่เราเล่า/เขียนไม่ได้
ในงานเขียน แต่ละพารากราฟควรมีประเด็นที่ต้องการจะสื่อ1ประเด็น นอกนั้นจะเป็นประโยคsupportค่ะ
ถ้ามีประเด็นที่ต้องการจะสื่อมากเกิน1ประเด็นในแต่ละพารากราฟจะทำให้สารของเราเกิดความไม่ชัดเจน ผู้อ่านอาจฉงนใจว่า "สรุปแล้วคนเขียนต้องการจะบอกว่าอะไรกันแน่นะ"
เพราะอย่างนั้นการให้ความสำคัญกับ "ประเด็นที่ต้องการจะสื่อ" จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆค่ะ
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
กล่าวโดยสรุปการモニターตัวเองทำให้เรามองเห็นจุดบกพร่องในการใช้ภาษาพูดและเขียนของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด
แต่อย่างไรก็ตาม การทำอะไรที่มากเกินย่อมไม่เกิดผลดี
ถ้าเราモニターตัวเองมากเกินไป อาจทำให้เราพูดตะกุกตะกัก ฟังแล้วไม่ลื่นไหล
ในทางกลับกันถ้าเราモニターตัวเองน้อยเกินไป การใช้ภาษาของเราก็จะไม่ได้รับการตรวจสอบ ทำให้ขาดความถูกต้องค่ะ
เพราะฉะนั้นแล้ว 自己モニター ควรทำในระดับที่พอดีจะเกิดผลดีที่สุดต่อตัวเองค่ะ v(^▽^)v
ーーーーーーーーーーーーー
引用文献
フォード丹羽順子(1996)「日本語学習者による聴解ディクテーションに現れた誤りの分析—文法および音声的側面に焦点を当てて−」『筑波大学留学生センター日本語教育論集』第11号,pp.21-40
สรุปได้ดีมากค่ะ
ReplyDeleteหืออออ สรุปได้ดีมากครับ อ่านแล้วเก็ทสุดๆ
ReplyDeleteมีประโยชน์สุดๆช่วงอ่านสอบไม่เข้าใจค่ะ กราบบTT
ReplyDelete