Monday, January 30, 2017

日本の教会編①:教会でよく見かける日本語


ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนพุทธเยอะ~
คิดว่าหลายๆคนคงจะไม่เคยเข้าโบสถ์กันใช่มั้ยคะ5555

ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะมาแบ่งปันคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่มักพบในโบสถ์(ญี่ปุ่น)ค่ะ
รูปข้างล่าง(น่ารักไหม55) เป็นโบสถ์ที่ผู้เขียนไปๆมาๆ ช่วงเรียนอยู่ที่เกียวโตค่ะ :)

ภาพประกอบวาดโดยคุณ 堀井ふみお (คนรู้จักของผู้เขียน)
วันนี้ลองคัดคำศัพท์ที่พบบ่อยมา 4 คำจะมาแนะนำให้รู้จักค่ะ

主日礼拝(しゅじつれいはい)= วันนมัสการพระเจ้า หรือ วันสะบาโต​ (วันหนึ่งในสัปดาห์ที่สงวนไว้สำหรับการพักผ่อนและการนมัสการ มักเป็นวันอาทิตย์)

主日(しゅじつ)= 主なる神を崇める日(『広辞苑 第六版』 岩波書店)
แปล:วันนมัสการพระเจ้า (สำหรับคริสเตียนคำนี้จะหมายถึง "วันอาทิตย์" ค่ะ)
note「主」(しゅ)=「神」(英:Lord) คำที่คริสเตียนใช้เรียกพระเจ้า

礼拝(れいはい)= 「神を拝むこと。特にキリスト教で神を賛美し、その恵みに感謝すること。」(『明鏡国語辞典 第二版』 大修館書店)
แปล:การนมัสการพระเจ้า

礼拝堂(れいはいどう)= พื้นที่หรือสถานที่สำหรับนมัสการ (มักมีลักษณะเป็นห้องโถง)

礼拝堂 ≠ 教会
教会(きょうかい)=คริสตจักร หรือ โบสถ์ (สถานที่ที่คนที่แสวงหาพระเจ้ามารวมตัวกัน ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา/เพศสภาพ/อาชีพ ฯลฯ พื้นที่ๆใช้เป็นโบสถ์ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตึก อาจเป็นบ้าน ห้องแถว พื้นที่กลางแจ้ง หรือ โรงเรียน)

noteคำว่า「礼拝」สามารถอ่านได้อีกแบบว่า「らいはい」ว่ากันว่าเป็นคำศัพท์ที่ชาวพุทธใช้ค่ะ ไว้มีเวลาจะลองไปค้นต่อว่าเขาใช้คำศัพท์คำนี้ในบริบทไหน แตกต่างกับของคริสต์ยังไงนะคะ  ' v ')/

************************

お祈り(おいのり)= การอธิษฐาน

(v.) 祈る(いのる)= อธิษฐาน
祈り会(いのりかい)= การรวมกลุ่มอธิษฐาน

คนชอบถามว่า"การอธิษฐาน"สำหรับคริสเตียนคืออะไร เหมือนการตั้งจิตอธิษฐานของชาวพุทธไหม
ตอบตามตรง...ผู้เขียนไม่รู้ว่าการตั้งจิตอธิษฐานของชาวพุทธเป็นยังไงค่ะ5555

แต่สำหรับคริสเตียน"การอธิษฐาน" คือ การพูดคุยกับพระเจ้าค่ะ
เหมือนเราหมุนโทรศัพท์ หรือ พิมพ์แชทเฟสไปหาคนสนิท55 แน่นอนว่าไม่มีบทท่องจำ แพทเทิร์น ระดับภาษาพิเศษใดๆทั้งสิ้น (ก็คุยกับคนสนิทปะ) การอธิษฐานเราอาจทำเป็นกลุ่มได้ ที่ญี่ปุ่นจะเรียกว่า「祈り会」 ค่ะ ใน「祈り会」เราจะอธิษฐานเผื่อกันและกันในเรื่องต่างๆค่ะ (เช่น สุขภาพ การงาน การเรียน ฯลฯ) :)

หมายเหตุ: นิยามข้างต้นเป็นเพียงนิยามของตัวผู้เขียนเองในฐานะคริสเตียนตัวเล็กๆคนหนึ่งนะคะ ถ้าเป็นชาวCatholicเขาอาจนิยามอีกแบบ55

************************

牧師(ぼくし)=ศิษยาภิบาล (ชื่อตำแหน่งผู้นำในคริสตจักร) ←ภาษาไทยยากเหมือนกัน...

คำว่า"ศิษยาภิบาล" ในภาษาญี่ปุ่นใช้คันจิตัว 「牧」(คอกสัตว์) และ「師」(ผู้..., นัก...) รวมกันจึงแปลว่า "ผู้เลี้ยงสัตว์"

牧師(ぼくし)=羊飼い(ひつじかい)หรือ คนเลี้ยงแกะ(Shepherd) 🐏 🐏 🐏 
คำว่า "คนเลี้ยงแกะ" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "คนที่ทำอาชีพเลี้ยงแกะ" จริงๆนะคะ5555

「牧師」มีภาพลักษณ์ของผู้นำที่เลี้ยงดูสมาชิกจำนวนมากเหมือนเลี้ยงดูฝูงแกะ ตามแบบพระเยซูที่เป็นผู้เลี้ยงที่ดีค่ะ (คำอธิบายอาจจะเข้าใจยากไปซักนิด...แต่ถ้าช่วยให้เห็นภาพคร่าวๆได้ก็ดีใจแล้วค่ะ :) )

note1:คนญี่ปุ่นเรียก「牧師」หรือ ศิษยาภิบาลว่า「先生」เช่นเดียวกับที่ใช้เรียกคนที่ประกอบอาชีพหมอ(医師)และอาจารย์(教師)

note2:ศิษยาภิบาล(牧師)≠ บาทหลวง(神父・しんぷ)←โป๊ป(Pope)ของชาวCatholic
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด→「牧師」เป็นเพียงตำแหน่งผู้นำ เป็นมนุษย์เหมือนเราๆ ไม่ใช่องค์อุปถัมภ์หรือประมุข เพราะฉะนั้นสามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ค่ะ5555

************************

賛美歌・讃美歌(さんびか)เพลงสรรเสริญพระเจ้า

賛美(さんび)= การสรรเสริญ/เทิดทูน
(V.) 賛美する= สรรเสริญ/เทิดทูน
歌(うた・カ)= เพลง

คำว่า「さんび」สามารถเขียนได้2แบบคือ「賛美」และ「讃美」
เท่าที่ผู้เขียนสังเกต บนหน้าปกหนังสือรวมบทเพลงสรรเสริญมักใช้คำว่า「讃美歌」มากกว่า「賛美歌」ค่ะ
เรื่องความแตกต่างของการใช้คำทั้งสองจะเก็บเป็นการบ้านไปค้นต่อแล้วกันค่ะ5555

note:เผื่อใครไม่เคยฟัง讃美歌 แล้วอยากลองฟัง เดี๋ยวจะแปะลิ้งค์ข้างล่าง ลองฟังดูเพลินๆนะคะ :))

เราสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้จากสิ่งรอบตัว
ผู้เขียนเชื่อว่า บางครั้งการรวบรวมความกล้า ก้าวเข้าไปในสถานที่ใหม่ๆ
ออกไปพบเจอผู้คนใหม่ๆจะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆตามมาค่ะ =)

🌻🌻🌻 🐏 🐏 🐏 めぇ〜めぇ〜🐏 🐏 🐏 🌻🌻🌻

讃美歌103番『牧人ひつじを』
The First Noel JP ver.


*The First Noel เป็นบทเพลงหนึ่งที่นิยมร้องกันช่วงคริสต์มาส (Christmas Carols) เนื้อหาเกี่ยวกับ The Nativity Story(キリストの降誕)หรือ วันที่พระเยซูลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ค่ะ

3 comments:

  1. 牧師 เรียกว่า ศิษยาภิบาล หรือคะ 勉強になりました!
    รู้แค่ว่า 牧師 ใช้สำหรับ プロテスタント และ 神父 ใช้สำหรับ カトリック แค่นั้น へえ、、、

    ReplyDelete
  2. ถ้าได้แวะอ่านบล็อกเหมียวก่อนไปคิวชูคงอินกับการทัวร์โบสถ์อีกเยอะเลย เป็นความรู้แบบflashbackมากๆ ชอบ แวะไปดูรูปโบสถ์ในบล็อกเราได้นะ อิ

    ReplyDelete
    Replies
    1. เดี๋ยวแวะไปส่องน้า5555 โบสถ์ที่ญี่ปุ่นสวยๆเยอะเลย อยากไปดูที่แกไปที่คิวชูด้วย :))

      Delete