Monday, February 27, 2017

【WEEK6】紹介文:読む人の視点で考えよう!


กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ
เผลอแป๊ปเดียวจะหมดเดือนอีกแล้ว..พรุ่งนี้ก็สิ้นเดือนแล้ว....(*ノωノ)
อย่าชะล่าใจคิดว่ามันมี31วันเชียวนะ ←เตือนคนอื่นแต่ตัวเองดองงานไว้ทำตอนสิ้นเดือนเรียบร้อยแล้ว...
ภาพประกอบจาก http://www.irasuton.com/2013/04/blog-post_18.html
วันนี้ว่าด้วยเรื่องการเขียน HP紹介文 หรือ บทแนะนำ(สถานที่)ลงโฮมเพจ ค่ะ

พูดถึง 紹介文 คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยผ่านตากันมาเยอะแบบนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว
เจอในโฮมเพจสถาบันบ้าง ในโบรชัวร์แนะนำสถานที่บ้าง
เวลาเจอก็ตั้งใจอ่านบ้าง อ่านผ่านๆบ้าง (อย่างหลังนี่ผู้เขียนทำบ่อยค่ะ อ่านเฉพาะตรงที่สนใจ55)

แต่เรามักจะลืมไปว่าที่ผ่านมาตัวเราอยู่ในฐานะ "ผู้อ่าน" เสียส่วนมาก
พอกลายมาเป็นคนที่ต้องเขียนเองแล้ว
ถึงได้เริ่มรู้สึกว่า เออ...มันไม่ง่ายเลยแฮะ ที่จะเขียนให้มันออกมาน่าอ่านและเข้าใจง่าย

ด้านล่างนี้เป็น 1st attempt ความพยายามครั้งแรกในการเขียน 紹介文 ของผู้เขียนเองค่ะ (เขินจัง)
ครั้งนี้เริ่มจากสถานที่ใกล้ตัวสุดตอนนี้ "มหาวิทยาลัย" ที่สังกัดค่ะ
แต่จะเขียนเกี่ยวกับทั้งมหาลัยคงจะกว้างเกินไปสักหน่อย
เลยสโคปเรื่อง พิพิธภัณฑ์ในรั้วมหาวิทยาลัย→พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ค่ะ
ผู้เขียนมีนิสัยอย่างนึงคือเป็นคนที่ไม่ชอบทำอะไรซ้ำกับคนอื่น
พอรู้ว่าซ้ำแล้วพลังฮึด(やる気)จะลดฮวบเลยล่ะค่ะ55
ตอนที่เลือกหัวข้อเลยพยายามเลี่ยงไม่เขียนอะไรที่คนอื่นน่าจะเขียนค่ะ

นอกเรื่องเยอะแล้ว5555 มาดู紹介文อันแรกกันเลย〜

HP紹介文【1st Attempt】

เนื่องจากเป็น 紹介文 อันแรกๆที่เขียน แน่นอนว่าปัญหาก็มีมาก...

ปัญหาที่พบ
(1) ไม่แน่ใจว่าคำศัพท์/ประโยคต้องเป็นทางการแค่ไหน เล่นได้บ้างไหม?
(2) แบ่งParagraphยังไงดี มันคงไม่เหมือนเวลาแบ่งParagraphในเรียงความ
(3) เลือกหัวข้อยาก→คำศัพท์ยาก เช่น หุ่นสตาฟ(標本)สัตว์เลื้อยคลาน(爬虫類)สัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์(絶滅危惧種)ฯลฯ

วิธีแก้ไขแบบฉบับผู้เขียน (1)
(1) และ (2) สังเกตการใช้ประโยค/สำนวนและการแบ่งParagraph จากHP紹介文ของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นหลายๆแห่ง (เดี๋ยวจะแปะลิ้งค์ตัวอย่างไว้ด้านล่างสุดนะคะ :] )

(3) ก่อนหน้านี้เคยแปลหนังสือภาพเกี่ยวกับกระดูก มันจะมีพวกคำศัพท์วิทย์สายชีวะ(Biology)อยู่บ้าง ครั้งนี้เลยไม่ค่อยเป็นปัญหาตอนนึกคำศัพท์มาก(คิดว่า55) แต่ปัญหาอยู่ตรงที่คำศัพท์ที่เคยเห็นทั้งหมดเป็นฮิรางานะค่ะ(หนังสือภาพเด็กไง...)  ตอนเขียนก็งัดศัพท์ออกมาจากหัวแล้วมาค้นคันจิค่ะ แล้วก็ดูแนวโน้มการใช้คำจากตามหน้าHPของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น บางคำเขานิยมใช้ฮิรางานะ บางคำนิยมเป็นคันจิไปเลยก็มีค่ะ อย่างเช่น คำว่า สัตว์เลื้อยคลาน(爬虫類)หลายที่จะนิยมเขียนว่า「は虫類」แทนจะใช้คันจิตัว「爬」ตรงเสียง「は」

**สำหรับคำว่า「爬虫類」ผู้เขียนไม่ได้เขียนตามความนิยมส่วนใหญ่ เนื่องมาจากความชอบส่วนตัวค่ะ ปกติไม่ค่อยชอบคำที่เป็นคันจิ-คานะครึ่งๆ มันให้ความรู้สึกครึ่งๆกลางๆไม่เป็นซักอย่าง เลยจงใจเขียนเป็นคันจิไปทั้งคำค่ะ -..-

Feedbackจากอาจารย์(ผู้อ่าน)
(-) คันจิเยอะเกินไป
→มาดูอีกทีมันเยอะไปจริงๆ ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนสพ.5555

(-) โดยรวมเนื้อหาดูแข็งๆ น่าเบื่อ ไม่มีชีวิต
→ข้อนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากข้อด้านบนค่ะ คันจิเยอะไปอาจทำให้งานดูไม่น่าอ่าน น่าเบื่อ

(+) ส่วนโครงสร้างทำได้ดี

(+) เรื่องไวยากรณ์ไม่โดนแก้อะไรเป็นพิเศษ

---------------------------------------------------------------

ด้านล่างนี้คือHP紹介文ฉบับแก้ไขค่ะ

🌿 🌿 🌿 HP紹介文【完成版】🌿 🌿 🌿

วิธีแก้ไขแบบฉบับผู้เขียน (2)
①ลดปริมาณอักษรคันจิ และ/หรือ เพิ่มอักษรคานะ น่าจะช่วยให้อ่านสบายตาขึ้นนิดหน่อย
ตัวอย่าง
開設当時の1987年から現在まで30年の歴史 → 開設から30年の歴史 
絶滅危惧種野生動物           → 絶滅の恐れのある動物
無脊椎動物               → カメ、タコ・イカなどの無脊椎動物

②ลองปรับ/เพิ่มสำนวนให้มีความทางการน้อยลง ระวังไม่ให้แต่ละประโยคยาวเกินไป
ตัวอย่าง
・30年の歴史を持つ(場所)は〜。→(場所)には、30年の歴史があります。
・とりわけ         → 特に
・(場所)にお出かけしてみませんか?

③ตัดเนื้อหาส่วนที่ไม่จำเป็นออก
รอบแรกรู้สึกว่าเนื้อหามันเยอะไปหน่อย เลยดูมั่วๆค่ะ55 รอบสองเลยพยายามคัดเอาแต่ที่อยากเน้นมาเขียน เผื่อจะอ่านง่ายขึ้นบ้าง...

④ปรับตัวเลขเวลาให้อ่านง่ายขึ้น
*ใช้เครื่องหมาย「:」แทน「.」และเพิ่ม「AM」「PM」
ตัวอย่าง
10.00〜15.30 →  AM 10:00〜PM 15:30

---------------------------------------------------------------
สรุป
อย่างที่ได้พูดไปแล้วในตอนต้นว่า...
"เรามักจะลืมไปว่าที่ผ่านมาตัวเราอยู่ในฐานะ "ผู้อ่าน" เสียส่วนมาก
พอกลายมาเป็นคนที่ต้องเขียนเองแล้ว ถึงได้เริ่มรู้สึกว่า เออ...มันไม่ง่ายเลยแฮะ ที่จะเขียนให้มันออกมาน่าอ่านและเข้าใจง่าย"

เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียน 紹介文 ก็คือ "ผู้อ่าน" นั่นเองค่ะ
ตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่ยากที่สุดของการเขียน紹介文ด้วย เพราะเราต้องเขียนโดยมองจากมุมมองของผู้อ่าน ท่านผู้อ่านอาจลองใช้วิธีจินตนาการว่า เวลาเราอ่าน紹介文 เราอยากอ่านงานแบบไหน งานแบบไหนที่ดึงดูดใจ งานแบบไหนที่แค่เห็นก็อยากกดข้าม ประโยคแบบไหนที่อ่านแล้วงง

ผู้เขียนคิดว่า บางทีการอ่านงานคนอื่นเยอะๆก็เป็นอะไรที่ช่วยเราได้มาก เวลาต้องมาเขียน紹介文เองค่ะ
นอกจากจะเราจะได้สัมผัสประสบการณ์ในการเป็น "ผู้อ่าน" (จำความรู้สึกนั้นเอามาเขียน)แล้ว
เรายังได้ซึมซับและเรียนรู้วิธีการใช้ภาษา/คำศัพท์/สำนวน อีกด้วยค่ะ

เกือบลืม...เวลาเขียนเสร็จแต่ละครั้งควรขอ Feedback จากคนอ่านด้วยนะคะ
สิ่งนี้จะช่วยสะท้อนภาพรวมของงานเรา เป็นประโยชน์มากต่อการพัฒนา/ปรับปรุงงานต่อไปค่ะ :)

---------------------------------------------------------------
ตัวอย่างHP紹介文ของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
*รอบนี้เขียนเรื่องพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเว็บที่เลือกจะเป็นเว็บแนวนี้หมดเลยค่ะ

①豊橋総合動植物公園:自然史博物館
Toyohashi Zoo&Botanical Park: Museum of Natural History, Aichi JAPAN

②大阪市立自然史博物館
Osaka Museum of Natural History, Osaka JAPAN

③恐竜の博物館・東洋大学自然史博物館
Natural History Museum, Social Education Center TOKAI University

④ママリ(mamari)サイトの
群馬県立自然史博物館の紹介
Gunma Museum of Natural History, Gunma JAPAN
แนะนำโดยเว็บ mamari

*อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่HPของพิพิธภัณฑ์โดยตรง
แต่เป็นโพสต์แนะนำพิพิธภัณฑ์ที่แอดมินเว็บไซต์แม่และเด็กเขียนค่ะ
อันนี้ก็ใช้เป็นตัวอย่างเอาไว้ดูสำนวนภาษาได้ค่ะ
ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าภาษาที่เขาใช้จะค่อนข้าง Casual น่าอ่านกว่าHP紹介文บนหน้าเว็บนะ55
---------------------------------------------------------------

9 comments:

  1. แวะมาเยี่ยมเยียนค่ะ ฮือ
    บล็อคยิ่งใหญ่อลังการเต็มไปด้วยสาระมากเลยค่ะ นับถือ
    หนูก็เขียนแนะนำพิพิธภัณฑ์เหมือนกัน 参考視させていただきます!

    ReplyDelete
    Replies
    1. แวะมาอ่านด้วยเขินจัง5555 ขอบคุณนะ(*´∀`*)
      #ทีมพิพิธภัณฑ์ よろしくです!

      Delete
  2. ฝึกเขียนจากมุมมองของ ”ผู้อ่าน” เป็นจุดประสงค์ของการทำ task นี้เลยค่ะ หนูสามารถเข้าถึงจุดประสงค์ของ task ได้ดีทุกครั้ง และเขียนอธิบายได้ดีค่ะ หนูทำดีอยู่แล้วทุกครั้ง และถ้าเราคิดว่าแล้วทำยังไงให้ "ยิ่งดีขึ้นไปอีก" เสมอ เราก็มักจะประสบความสำเร็จเสมอค่ะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ขอบพระคุณค่ะอาจารย์ หนูจะพยายามพัฒนาตัวเองยิ่งขึ้นไปอีกค่ะ (◍´ಲ`◍)

      Delete
  3. チュラーロンコーン大学にはそんなおもしろそうな博物館があるんですか?知りませんでした。ぜひ行ってみたいです。ちょっと質問なんですが、週末は開いているんでしょうか。迷ってしまって・・・。平日に行けばいいんですが、休みがあるのは週末なので。「休日」ってやっぱり日曜日含みますか?それともうひとつ。絶滅の恐れのある動物を標本にしちゃっていいんですか?寿命がきて、それで、、ということでしょうか。写真ならわかるんですが、あれ?と思ってしまいまして。

    ものすごく興味をそそられる紹介文だったのですが、失礼ながらいくつか。おそらく見落としだと思うのですが、タイトルに「館」が抜けていたり、「多数」は名詞ですがどうも形容動詞のように活用していたりという小さなミスが残っているようです。また、a.m.とp.m.ですが、確かラテン語?か何か由来で、「昼前」と「昼過ぎ」の意味だった気がするのですが。だとすると、PM15:30は午後15時半が??となるのと同じで、何時だろ、、となってしまわないかな、と思いました。小さなことなのですが、これだけの文章をお書きになりながらもったいないなと思いましたので。

    ReplyDelete
    Replies
    1. 返事が遅くなりましてごめんなさい。
      開館は毎日(土日含みます)で、休館は祝日のみです。日本語がわかりにくくてすみませんでした・・。また日本語の問題ですが・・、絶滅危惧種、言われて気付きました。標本にしたのは絶滅の恐れのある動物ではなく、既に絶滅してしまった動物たちです。絶滅の恐れのある動物を標本にしちゃうのはやっぱり変な考え方ですね。

      タイピングミスなど小さなミスが残っていて本当に残念でした。今後はできるだけミスをしないようにします。a.m.とp.m.ですが、最初なかったもので、あったほうがわかりやすいかなと思って2回目に入れてみたのです。逆にわかりづらいですね。別の言い方として、「午前10時〜午後4時半」がいいですかね?

      Delete
    2. こちらのほうこそお返事を忘れてしまっていてごめんなさい。
      土日でもいいんですね!では出かけてみます!!
      すでに絶滅してしまった動物にも標本であえるだなんて本当に貴重なところなんですね。
      時間のことですが、午前と午後でもいいと思いますし、a.m.とp.m.のほうがぱっと目に入るのなら、3:30pmなんかでもいいんじゃないですか?

      Delete
  4. แวะมาเจิมค่ะ さすがน้องเหมียวซัง ชอบที่มีการไปดูเว็บไซต์ของพิพิธภัณฑ์จริงๆมาแปะไว้ให้ดูด้วย soละเอียด อยากทำให้ได้แบบเหมียวบ้าง รู้สึกสไตล์การเขียนของเราตามใจตัวเองไปหน่อย เลยเป็นบทเรียนว่าจะตั้งใจเขียนและทำให้เรียบร้อยขึ้น เย่ๆ

    ReplyDelete
    Replies
    1. รู้สึกตัวเองยังเขียนไม่ค่อยดีในบางจุดอยู่ดี5555 ต้องพัฒนาตัวเองต่อไปฮะ มาสู้ไปด้วยกัน〜〜

      Delete