Thursday, February 16, 2017

【WEEK5】資料の見やすさ:色を効果的に使おう!


ท่านผู้อ่านรู้จักกระต่าย Miffy ไหมคะ? ค่อนข้างจะเป็นCharacterที่เก่าเหมือนกัน55
คนญี่ปุ่นจะรู้จักกันดีในชื่อของうさこちゃんค่ะ (ฉบับญี่ปุ่นกับฉบับภาษาอังกฤษชื่อตัวละครต่างกัน)

เรื่องที่จะพูดในวันนี้เกี่ยวข้องกับกระต่าย Miffy ของคุณตา Dick Bruna ศิลปินชาวดัทช์ยังไงกันนั้นขอให้ติดตามอ่านจนจบนะคะ :)

edited: ผู้เขียนเพิ่งทราบข่าวการจากไปของDick Brunaเมื่อเช้านี้ค่ะ คุณตาจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่16 วันที่อัพบล็อกนี้พอดี ผู้เขียนขอใช้พื้นที่บล็อกนี้เป็นพื้นที่แสดงความอาลัยและระลึกถึงคุณตา Dick Bruna นะคะ ;__;
ディック・ブルーナさんが死去 89歳「ミッフィー」作家
(毎日新聞デジタル2017年2月17日23時59分)
http://www.asahi.com/articles/ASK2K7L33K2KUHBI02F.html

ภาพประกอบจาก https://www.rijksmuseum.nl/en/bruna
ธีมหลักของวันนี้คือเรื่อง 資料の見やすさ:色を効果的に使おう!
เอกสาร(สื่อนำเสนอ)ที่อ่าน/เข้าใจง่ายเป็นยังไงกันนะ มาลองใช้สีอย่างมีประสิทธิภาพกันเถอะ!

ในหนังสือ『一生使える見やすい資料のデザイン入門』คุณ森重ผู้เขียนได้แนะนำหลักการสร้างเอกสาร(สื่อนำเสนอ)ที่อ่าน/เข้าใจง่ายไว้หลายประเด็นมากๆ เช่น เรื่องการใช้ฟอนต์ หลักการใช้สี การตกแต่งสไลด์ การปรับขนาดรูปภาพ การเรียงลำดับข้อความ ฯลฯ เอาไว้มากมาย

แต่ในวันนี้จะขอยกมาแค่ประเด็นเดียวคือ เรื่องกฎการใช้สี (色を使うルール・色の特性)เนื่องจากเป็นประเด็นนี้เป็นประเด็นเดียวที่ผู้เขียนสามารถจะจดจ่ออยู่กับหนังสือ(อ่านจนจบ)ได้ค่ะ55
(ปกติแล้วผู้เขียนไม่ใช่คนอ่านหนังสือถึกและมีนิสัยเสียที่ยังแก้ไม่หายคือ มักจะเลือกอ่านเฉพาะเรื่องหรือประเด็นที่ตนเองสนใจเท่านั้น เรื่องที่ไม่สนใจจะไม่อ่านค่ะ55)

เอาล่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า คุณ森重พูดถึงกฎการใช้สีไว้ว่าอย่างไรบ้าง

ーーーーーーーーーーーーーーーーー

【こんな色の組み合わせはNG!】
สีฟ้อนต์และสีพื้นหลังที่ไม่ควรนำมาใช้คู่กัน 


①相性の悪い色の組み合わせ/สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors) หรือสีที่อยู่ด้วยกันยาก

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นคือ การใช้สีฟ้อนต์กับพื้นหลังบนปกนิยายเรื่อง『ノルウェイの森』Norwegian Wood ฉบับภาษาญี่ปุ่นของลุงMurakami Haruki ค่ะ
Christmas Color Combinations อย่างคู่สีแดง-สีเขียวนั้น เมื่ออยู่บนปกหนังสืออาจมีข้อดีคือช่วยสร้างความเฉพาะตัวให้กับหนังสือ แต่เมื่อนำมาใช้กับงานนำเสนอจะทำให้ตัวหนังสืออ่านยาก แสบตาคนอ่านมากเลยค่ะ
ภาพประกอบจาก https://matome.naver.jp/odai/2144430798278721601/2144431264883009703
②濃い色同士/สีโทนเข้ม-สีโทนเข้มเช่น น้ำเงิน-ดำหรือน้ำตาล ม่วง-น้ำเงิน
③薄い色同士/สีโทนสว่าง-สีโทนสว่างเช่น เหลือง-ขาว

*POINT*
สำหรับสีสีฟ้อนต์เลือกใช้ สีดำหรือสีขาว จะทำให้งานของเราอ่านง่ายที่สุดค่ะ :)

ในกรณีใช้ฟ้อนต์สีดำ พื้นหลังควรหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สีเข้มจนเกินไปเช่น สีน้ำเงิน เทา นำ้ตาล
ในกรณีใช้ฟ้อนต์สีขาว พื้นหลังควรหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สีอ่อนเช่น สีเหลือง ส้มอ่อน เขียวอ่อน ฟ้า เพราะตัวหนังสือจะอ่านยากค่ะ
ーーーーーーーーーーーーーーーーー

🎨 それぞれの色に適した表現・สีบอกอะไรเราบ้าง? 🎨

สีแดง → การหยุด(停止)・ห้าม(禁止)・ผิด(誤り)・อุณหภูมิสูง(高温)
สีเหลือง→ ความตื่นเต้นประหม่า(緊張)・ระวัง(注意)・ความโมโห/หงุดหงิด(苛立ち)
สีเขียว→ การอนุญาติ(許可)・ความปลอดภัย(安全)・ความถูกต้อง(正しさ)
สีฟ้าหรือน้ำเงิน→ ความสนใจ (Concentrate)(集中)・ความผิดหวัง(失望)・อุณหภูมิต่ำ(低温)

*POINT*
・เราควรเลือกใช้สีให้เข้ากับจุดประสงค์ของข้อความที่ต้องการนำเสนอ
・เราควรใช้สีเท่าที่จำเป็น โดยเลือกใช้สีที่มีเมสเสจเข้ากับเนื้อหางานนำเสนอของเรา เช่น ตัวอย่างที่ถูกใช้ฟ้อนต์สีเขียว ส่วนตัวอย่างที่ผิดใช้ฟ้อนต์สีแดง จุดที่เป็นข้อควรระวังอาจใช้สีเหลืองเพื่อเน้นข้อความ เพื่อให้คนดูเห็นภาพชัดเจน เข้าใจง่ายขึ้น ค่ะ

🌻 🌿 🌻 🌿 🌻 🌿 🌻 🌿 🌻

ในตอนต้นได้เกริ่นไว้แล้วว่า เรื่องวันนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวละคร Miffy ของ Dick Bruna
สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยอ่านงานของDick Bruna ได้สังเกตเห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการใช้สีในหนังสือไหมคะ?
และสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยอ่านงานของDick Bruna เฉลยเลยแล้วกัน55
งานหนังสือภาพเด็กของDick Bruna ใช้สีหลักๆ 6 สี (Bruna Colors) เท่านั้นค่ะ

ส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่าน Miffy ของDick Brunaมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้สังเกตเห็นจุดเด่นจุดนี้ในตอนแรกค่ะ(อ้าว55)

สีทั้ง 6 ที่ Dick Bruna ใช้เมื่อแบ่งตาม วงจรสี; Color Wheel(色相環)ที่เรียนกันตั้งแต่สมัยเป็นเด็กประถมแล้ว
จะเห็นว่ามีทั้งสีโทนร้อน(ส้ม เหลือง) สีโทนเย็น(น้ำเงิน เขียว) และสีโทนกลาง(น้ำตาล เทา)ในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 2:2:2 ไม่หนักไปทางโทนสีใดโทนสีหนึ่ง ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจมากค่ะ

ภาพประกอบจาก https://bulan.co/swings/bruna_color/
นอกจากนี้ สีแต่ละสีที่เขาใช้มีความหมายด้วยนะคะ :D

สีแสด→ ความรื่นเริง ความสนุกสนาน ความอบอุ่น ความรัก
สีเหลือง→ ความสดใสร่าเริง ความสนุกสนาน สีที่ช่วยมอบความอบอุ่นให้สีแสดและสีเขียว
สีเขียว→ ความอุ่นใจ ความปลอดภัย ธรรมชาติ
สีน้ำเงิน→ ความโศกเศร้า ความเงียบ ความเยือกเย็น
สีน้ำตาล→ การสงบใจ สีแทนตัวละครเพื่อนของMiffy
สีเทา→ สีที่ช่วยสร้างความสมดุล สีแทนตัวละครเพื่อนของMiffy

จะเห็นว่าความหมายที่คุณ Bruna สื่อผ่านการใช้สีทั้ง 6 มีจุดที่แตกต่างจาก "ข้อความที่สีบอกเรา"(ค่อนข้างเป็นสากล) ในหนังสือของคุณ森重 ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีสัมผัสในการรับรู้และการตีความหมายสีที่แตกต่างกัน

ในกรณีคุณBruna เขาเลือกใช้สีโทนร้อนแสดงถึงพลัง (Energy) ความสดใส ความสนุกสนาน สีโทนเย็นแทนความนิ่งสงบ สีโทนกลางแทนความสัมพันธ์ ความสมดุล มิตรภาพ

การตีความสีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เช่น สีเขียวคนชาติหนึ่งอาจมองว่าเป็นสีที่แสดงถึงความปลอดภัย แต่คนอีกชาติหนึ่งอาจมองว่าเป็นสีแสดงความอิจฉาริษยา (Green with Envy) ค่ะ

*สรุป
การเลือกสีในการนำเสนองานควรเลือกใช้สีโดยยึดหลักสีที่ใช้กันเป็นสากล (Universal) หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม วิธีนี้จะทำให้งานนำเสนองานของเราเกิดประสิทธิสูงสุด สารที่ต้องการจะสื่อมีความชัดเจน ส่งไปถึงคนดูได้รวดเร็วขึ้นค่ะ :))

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

1 comment:

  1. เรื่องสีของ Bruna ไม่รู้มาก่อนเลย น่าสนใจมาก!

    ReplyDelete