Monday, February 27, 2017

【WEEK6】紹介文:読む人の視点で考えよう!


กลับมาพบกันอีกครั้งนะคะ
เผลอแป๊ปเดียวจะหมดเดือนอีกแล้ว..พรุ่งนี้ก็สิ้นเดือนแล้ว....(*ノωノ)
อย่าชะล่าใจคิดว่ามันมี31วันเชียวนะ ←เตือนคนอื่นแต่ตัวเองดองงานไว้ทำตอนสิ้นเดือนเรียบร้อยแล้ว...
ภาพประกอบจาก http://www.irasuton.com/2013/04/blog-post_18.html
วันนี้ว่าด้วยเรื่องการเขียน HP紹介文 หรือ บทแนะนำ(สถานที่)ลงโฮมเพจ ค่ะ

พูดถึง 紹介文 คิดว่าท่านผู้อ่านคงจะเคยผ่านตากันมาเยอะแบบนับครั้งไม่ถ้วนแล้ว
เจอในโฮมเพจสถาบันบ้าง ในโบรชัวร์แนะนำสถานที่บ้าง
เวลาเจอก็ตั้งใจอ่านบ้าง อ่านผ่านๆบ้าง (อย่างหลังนี่ผู้เขียนทำบ่อยค่ะ อ่านเฉพาะตรงที่สนใจ55)

แต่เรามักจะลืมไปว่าที่ผ่านมาตัวเราอยู่ในฐานะ "ผู้อ่าน" เสียส่วนมาก
พอกลายมาเป็นคนที่ต้องเขียนเองแล้ว
ถึงได้เริ่มรู้สึกว่า เออ...มันไม่ง่ายเลยแฮะ ที่จะเขียนให้มันออกมาน่าอ่านและเข้าใจง่าย

ด้านล่างนี้เป็น 1st attempt ความพยายามครั้งแรกในการเขียน 紹介文 ของผู้เขียนเองค่ะ (เขินจัง)
ครั้งนี้เริ่มจากสถานที่ใกล้ตัวสุดตอนนี้ "มหาวิทยาลัย" ที่สังกัดค่ะ
แต่จะเขียนเกี่ยวกับทั้งมหาลัยคงจะกว้างเกินไปสักหน่อย
เลยสโคปเรื่อง พิพิธภัณฑ์ในรั้วมหาวิทยาลัย→พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา ค่ะ
ผู้เขียนมีนิสัยอย่างนึงคือเป็นคนที่ไม่ชอบทำอะไรซ้ำกับคนอื่น
พอรู้ว่าซ้ำแล้วพลังฮึด(やる気)จะลดฮวบเลยล่ะค่ะ55
ตอนที่เลือกหัวข้อเลยพยายามเลี่ยงไม่เขียนอะไรที่คนอื่นน่าจะเขียนค่ะ

นอกเรื่องเยอะแล้ว5555 มาดู紹介文อันแรกกันเลย〜

HP紹介文【1st Attempt】

เนื่องจากเป็น 紹介文 อันแรกๆที่เขียน แน่นอนว่าปัญหาก็มีมาก...

ปัญหาที่พบ
(1) ไม่แน่ใจว่าคำศัพท์/ประโยคต้องเป็นทางการแค่ไหน เล่นได้บ้างไหม?
(2) แบ่งParagraphยังไงดี มันคงไม่เหมือนเวลาแบ่งParagraphในเรียงความ
(3) เลือกหัวข้อยาก→คำศัพท์ยาก เช่น หุ่นสตาฟ(標本)สัตว์เลื้อยคลาน(爬虫類)สัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์(絶滅危惧種)ฯลฯ

วิธีแก้ไขแบบฉบับผู้เขียน (1)
(1) และ (2) สังเกตการใช้ประโยค/สำนวนและการแบ่งParagraph จากHP紹介文ของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่นหลายๆแห่ง (เดี๋ยวจะแปะลิ้งค์ตัวอย่างไว้ด้านล่างสุดนะคะ :] )

(3) ก่อนหน้านี้เคยแปลหนังสือภาพเกี่ยวกับกระดูก มันจะมีพวกคำศัพท์วิทย์สายชีวะ(Biology)อยู่บ้าง ครั้งนี้เลยไม่ค่อยเป็นปัญหาตอนนึกคำศัพท์มาก(คิดว่า55) แต่ปัญหาอยู่ตรงที่คำศัพท์ที่เคยเห็นทั้งหมดเป็นฮิรางานะค่ะ(หนังสือภาพเด็กไง...)  ตอนเขียนก็งัดศัพท์ออกมาจากหัวแล้วมาค้นคันจิค่ะ แล้วก็ดูแนวโน้มการใช้คำจากตามหน้าHPของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น บางคำเขานิยมใช้ฮิรางานะ บางคำนิยมเป็นคันจิไปเลยก็มีค่ะ อย่างเช่น คำว่า สัตว์เลื้อยคลาน(爬虫類)หลายที่จะนิยมเขียนว่า「は虫類」แทนจะใช้คันจิตัว「爬」ตรงเสียง「は」

**สำหรับคำว่า「爬虫類」ผู้เขียนไม่ได้เขียนตามความนิยมส่วนใหญ่ เนื่องมาจากความชอบส่วนตัวค่ะ ปกติไม่ค่อยชอบคำที่เป็นคันจิ-คานะครึ่งๆ มันให้ความรู้สึกครึ่งๆกลางๆไม่เป็นซักอย่าง เลยจงใจเขียนเป็นคันจิไปทั้งคำค่ะ -..-

Feedbackจากอาจารย์(ผู้อ่าน)
(-) คันจิเยอะเกินไป
→มาดูอีกทีมันเยอะไปจริงๆ ให้ความรู้สึกเหมือนอ่านนสพ.5555

(-) โดยรวมเนื้อหาดูแข็งๆ น่าเบื่อ ไม่มีชีวิต
→ข้อนี้น่าจะเป็นผลกระทบจากข้อด้านบนค่ะ คันจิเยอะไปอาจทำให้งานดูไม่น่าอ่าน น่าเบื่อ

(+) ส่วนโครงสร้างทำได้ดี

(+) เรื่องไวยากรณ์ไม่โดนแก้อะไรเป็นพิเศษ

---------------------------------------------------------------

ด้านล่างนี้คือHP紹介文ฉบับแก้ไขค่ะ

🌿 🌿 🌿 HP紹介文【完成版】🌿 🌿 🌿

วิธีแก้ไขแบบฉบับผู้เขียน (2)
①ลดปริมาณอักษรคันจิ และ/หรือ เพิ่มอักษรคานะ น่าจะช่วยให้อ่านสบายตาขึ้นนิดหน่อย
ตัวอย่าง
開設当時の1987年から現在まで30年の歴史 → 開設から30年の歴史 
絶滅危惧種野生動物           → 絶滅の恐れのある動物
無脊椎動物               → カメ、タコ・イカなどの無脊椎動物

②ลองปรับ/เพิ่มสำนวนให้มีความทางการน้อยลง ระวังไม่ให้แต่ละประโยคยาวเกินไป
ตัวอย่าง
・30年の歴史を持つ(場所)は〜。→(場所)には、30年の歴史があります。
・とりわけ         → 特に
・(場所)にお出かけしてみませんか?

③ตัดเนื้อหาส่วนที่ไม่จำเป็นออก
รอบแรกรู้สึกว่าเนื้อหามันเยอะไปหน่อย เลยดูมั่วๆค่ะ55 รอบสองเลยพยายามคัดเอาแต่ที่อยากเน้นมาเขียน เผื่อจะอ่านง่ายขึ้นบ้าง...

④ปรับตัวเลขเวลาให้อ่านง่ายขึ้น
*ใช้เครื่องหมาย「:」แทน「.」และเพิ่ม「AM」「PM」
ตัวอย่าง
10.00〜15.30 →  AM 10:00〜PM 15:30

---------------------------------------------------------------
สรุป
อย่างที่ได้พูดไปแล้วในตอนต้นว่า...
"เรามักจะลืมไปว่าที่ผ่านมาตัวเราอยู่ในฐานะ "ผู้อ่าน" เสียส่วนมาก
พอกลายมาเป็นคนที่ต้องเขียนเองแล้ว ถึงได้เริ่มรู้สึกว่า เออ...มันไม่ง่ายเลยแฮะ ที่จะเขียนให้มันออกมาน่าอ่านและเข้าใจง่าย"

เพราะฉะนั้นแล้ว สิ่งสำคัญที่สุดในการเขียน 紹介文 ก็คือ "ผู้อ่าน" นั่นเองค่ะ
ตรงนี้น่าจะเป็นจุดที่ยากที่สุดของการเขียน紹介文ด้วย เพราะเราต้องเขียนโดยมองจากมุมมองของผู้อ่าน ท่านผู้อ่านอาจลองใช้วิธีจินตนาการว่า เวลาเราอ่าน紹介文 เราอยากอ่านงานแบบไหน งานแบบไหนที่ดึงดูดใจ งานแบบไหนที่แค่เห็นก็อยากกดข้าม ประโยคแบบไหนที่อ่านแล้วงง

ผู้เขียนคิดว่า บางทีการอ่านงานคนอื่นเยอะๆก็เป็นอะไรที่ช่วยเราได้มาก เวลาต้องมาเขียน紹介文เองค่ะ
นอกจากจะเราจะได้สัมผัสประสบการณ์ในการเป็น "ผู้อ่าน" (จำความรู้สึกนั้นเอามาเขียน)แล้ว
เรายังได้ซึมซับและเรียนรู้วิธีการใช้ภาษา/คำศัพท์/สำนวน อีกด้วยค่ะ

เกือบลืม...เวลาเขียนเสร็จแต่ละครั้งควรขอ Feedback จากคนอ่านด้วยนะคะ
สิ่งนี้จะช่วยสะท้อนภาพรวมของงานเรา เป็นประโยชน์มากต่อการพัฒนา/ปรับปรุงงานต่อไปค่ะ :)

---------------------------------------------------------------
ตัวอย่างHP紹介文ของพิพิธภัณฑ์ญี่ปุ่น
*รอบนี้เขียนเรื่องพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาเว็บที่เลือกจะเป็นเว็บแนวนี้หมดเลยค่ะ

①豊橋総合動植物公園:自然史博物館
Toyohashi Zoo&Botanical Park: Museum of Natural History, Aichi JAPAN

②大阪市立自然史博物館
Osaka Museum of Natural History, Osaka JAPAN

③恐竜の博物館・東洋大学自然史博物館
Natural History Museum, Social Education Center TOKAI University

④ママリ(mamari)サイトの
群馬県立自然史博物館の紹介
Gunma Museum of Natural History, Gunma JAPAN
แนะนำโดยเว็บ mamari

*อันสุดท้ายนี้ไม่ใช่HPของพิพิธภัณฑ์โดยตรง
แต่เป็นโพสต์แนะนำพิพิธภัณฑ์ที่แอดมินเว็บไซต์แม่และเด็กเขียนค่ะ
อันนี้ก็ใช้เป็นตัวอย่างเอาไว้ดูสำนวนภาษาได้ค่ะ
ส่วนตัวผู้เขียนรู้สึกว่าภาษาที่เขาใช้จะค่อนข้าง Casual น่าอ่านกว่าHP紹介文บนหน้าเว็บนะ55
---------------------------------------------------------------

Thursday, February 16, 2017

【WEEK5】資料の見やすさ:色を効果的に使おう!


ท่านผู้อ่านรู้จักกระต่าย Miffy ไหมคะ? ค่อนข้างจะเป็นCharacterที่เก่าเหมือนกัน55
คนญี่ปุ่นจะรู้จักกันดีในชื่อของうさこちゃんค่ะ (ฉบับญี่ปุ่นกับฉบับภาษาอังกฤษชื่อตัวละครต่างกัน)

เรื่องที่จะพูดในวันนี้เกี่ยวข้องกับกระต่าย Miffy ของคุณตา Dick Bruna ศิลปินชาวดัทช์ยังไงกันนั้นขอให้ติดตามอ่านจนจบนะคะ :)

edited: ผู้เขียนเพิ่งทราบข่าวการจากไปของDick Brunaเมื่อเช้านี้ค่ะ คุณตาจากไปอย่างสงบเมื่อวันที่16 วันที่อัพบล็อกนี้พอดี ผู้เขียนขอใช้พื้นที่บล็อกนี้เป็นพื้นที่แสดงความอาลัยและระลึกถึงคุณตา Dick Bruna นะคะ ;__;
ディック・ブルーナさんが死去 89歳「ミッフィー」作家
(毎日新聞デジタル2017年2月17日23時59分)
http://www.asahi.com/articles/ASK2K7L33K2KUHBI02F.html

ภาพประกอบจาก https://www.rijksmuseum.nl/en/bruna
ธีมหลักของวันนี้คือเรื่อง 資料の見やすさ:色を効果的に使おう!
เอกสาร(สื่อนำเสนอ)ที่อ่าน/เข้าใจง่ายเป็นยังไงกันนะ มาลองใช้สีอย่างมีประสิทธิภาพกันเถอะ!

ในหนังสือ『一生使える見やすい資料のデザイン入門』คุณ森重ผู้เขียนได้แนะนำหลักการสร้างเอกสาร(สื่อนำเสนอ)ที่อ่าน/เข้าใจง่ายไว้หลายประเด็นมากๆ เช่น เรื่องการใช้ฟอนต์ หลักการใช้สี การตกแต่งสไลด์ การปรับขนาดรูปภาพ การเรียงลำดับข้อความ ฯลฯ เอาไว้มากมาย

แต่ในวันนี้จะขอยกมาแค่ประเด็นเดียวคือ เรื่องกฎการใช้สี (色を使うルール・色の特性)เนื่องจากเป็นประเด็นนี้เป็นประเด็นเดียวที่ผู้เขียนสามารถจะจดจ่ออยู่กับหนังสือ(อ่านจนจบ)ได้ค่ะ55
(ปกติแล้วผู้เขียนไม่ใช่คนอ่านหนังสือถึกและมีนิสัยเสียที่ยังแก้ไม่หายคือ มักจะเลือกอ่านเฉพาะเรื่องหรือประเด็นที่ตนเองสนใจเท่านั้น เรื่องที่ไม่สนใจจะไม่อ่านค่ะ55)

เอาล่ะ เรามาดูกันดีกว่าว่า คุณ森重พูดถึงกฎการใช้สีไว้ว่าอย่างไรบ้าง

ーーーーーーーーーーーーーーーーー

【こんな色の組み合わせはNG!】
สีฟ้อนต์และสีพื้นหลังที่ไม่ควรนำมาใช้คู่กัน 


①相性の悪い色の組み合わせ/สีคู่ตรงข้าม (Complementary Colors) หรือสีที่อยู่ด้วยกันยาก

ตัวอย่างหนึ่งที่น่าจะทำให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้นคือ การใช้สีฟ้อนต์กับพื้นหลังบนปกนิยายเรื่อง『ノルウェイの森』Norwegian Wood ฉบับภาษาญี่ปุ่นของลุงMurakami Haruki ค่ะ
Christmas Color Combinations อย่างคู่สีแดง-สีเขียวนั้น เมื่ออยู่บนปกหนังสืออาจมีข้อดีคือช่วยสร้างความเฉพาะตัวให้กับหนังสือ แต่เมื่อนำมาใช้กับงานนำเสนอจะทำให้ตัวหนังสืออ่านยาก แสบตาคนอ่านมากเลยค่ะ
ภาพประกอบจาก https://matome.naver.jp/odai/2144430798278721601/2144431264883009703
②濃い色同士/สีโทนเข้ม-สีโทนเข้มเช่น น้ำเงิน-ดำหรือน้ำตาล ม่วง-น้ำเงิน
③薄い色同士/สีโทนสว่าง-สีโทนสว่างเช่น เหลือง-ขาว

*POINT*
สำหรับสีสีฟ้อนต์เลือกใช้ สีดำหรือสีขาว จะทำให้งานของเราอ่านง่ายที่สุดค่ะ :)

ในกรณีใช้ฟ้อนต์สีดำ พื้นหลังควรหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สีเข้มจนเกินไปเช่น สีน้ำเงิน เทา นำ้ตาล
ในกรณีใช้ฟ้อนต์สีขาว พื้นหลังควรหลีกเลี่ยง ไม่ใช้สีอ่อนเช่น สีเหลือง ส้มอ่อน เขียวอ่อน ฟ้า เพราะตัวหนังสือจะอ่านยากค่ะ
ーーーーーーーーーーーーーーーーー

🎨 それぞれの色に適した表現・สีบอกอะไรเราบ้าง? 🎨

สีแดง → การหยุด(停止)・ห้าม(禁止)・ผิด(誤り)・อุณหภูมิสูง(高温)
สีเหลือง→ ความตื่นเต้นประหม่า(緊張)・ระวัง(注意)・ความโมโห/หงุดหงิด(苛立ち)
สีเขียว→ การอนุญาติ(許可)・ความปลอดภัย(安全)・ความถูกต้อง(正しさ)
สีฟ้าหรือน้ำเงิน→ ความสนใจ (Concentrate)(集中)・ความผิดหวัง(失望)・อุณหภูมิต่ำ(低温)

*POINT*
・เราควรเลือกใช้สีให้เข้ากับจุดประสงค์ของข้อความที่ต้องการนำเสนอ
・เราควรใช้สีเท่าที่จำเป็น โดยเลือกใช้สีที่มีเมสเสจเข้ากับเนื้อหางานนำเสนอของเรา เช่น ตัวอย่างที่ถูกใช้ฟ้อนต์สีเขียว ส่วนตัวอย่างที่ผิดใช้ฟ้อนต์สีแดง จุดที่เป็นข้อควรระวังอาจใช้สีเหลืองเพื่อเน้นข้อความ เพื่อให้คนดูเห็นภาพชัดเจน เข้าใจง่ายขึ้น ค่ะ

🌻 🌿 🌻 🌿 🌻 🌿 🌻 🌿 🌻

ในตอนต้นได้เกริ่นไว้แล้วว่า เรื่องวันนี้จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับตัวละคร Miffy ของ Dick Bruna
สำหรับท่านผู้อ่านที่เคยอ่านงานของDick Bruna ได้สังเกตเห็นอะไรบางอย่างเกี่ยวกับการใช้สีในหนังสือไหมคะ?
และสำหรับท่านผู้อ่านที่ไม่เคยอ่านงานของDick Bruna เฉลยเลยแล้วกัน55
งานหนังสือภาพเด็กของDick Bruna ใช้สีหลักๆ 6 สี (Bruna Colors) เท่านั้นค่ะ

ส่วนตัวผู้เขียนเคยอ่าน Miffy ของDick Brunaมาบ้าง แต่ก็ไม่ได้สังเกตเห็นจุดเด่นจุดนี้ในตอนแรกค่ะ(อ้าว55)

สีทั้ง 6 ที่ Dick Bruna ใช้เมื่อแบ่งตาม วงจรสี; Color Wheel(色相環)ที่เรียนกันตั้งแต่สมัยเป็นเด็กประถมแล้ว
จะเห็นว่ามีทั้งสีโทนร้อน(ส้ม เหลือง) สีโทนเย็น(น้ำเงิน เขียว) และสีโทนกลาง(น้ำตาล เทา)ในสัดส่วนที่เท่ากันคือ 2:2:2 ไม่หนักไปทางโทนสีใดโทนสีหนึ่ง ซึ่งเป็นอะไรที่น่าสนใจมากค่ะ

ภาพประกอบจาก https://bulan.co/swings/bruna_color/
นอกจากนี้ สีแต่ละสีที่เขาใช้มีความหมายด้วยนะคะ :D

สีแสด→ ความรื่นเริง ความสนุกสนาน ความอบอุ่น ความรัก
สีเหลือง→ ความสดใสร่าเริง ความสนุกสนาน สีที่ช่วยมอบความอบอุ่นให้สีแสดและสีเขียว
สีเขียว→ ความอุ่นใจ ความปลอดภัย ธรรมชาติ
สีน้ำเงิน→ ความโศกเศร้า ความเงียบ ความเยือกเย็น
สีน้ำตาล→ การสงบใจ สีแทนตัวละครเพื่อนของMiffy
สีเทา→ สีที่ช่วยสร้างความสมดุล สีแทนตัวละครเพื่อนของMiffy

จะเห็นว่าความหมายที่คุณ Bruna สื่อผ่านการใช้สีทั้ง 6 มีจุดที่แตกต่างจาก "ข้อความที่สีบอกเรา"(ค่อนข้างเป็นสากล) ในหนังสือของคุณ森重 ซึ่งความแตกต่างตรงนี้ ผู้เขียนเห็นว่าเป็นเรื่องปกติที่คนเราจะมีสัมผัสในการรับรู้และการตีความหมายสีที่แตกต่างกัน

ในกรณีคุณBruna เขาเลือกใช้สีโทนร้อนแสดงถึงพลัง (Energy) ความสดใส ความสนุกสนาน สีโทนเย็นแทนความนิ่งสงบ สีโทนกลางแทนความสัมพันธ์ ความสมดุล มิตรภาพ

การตีความสีอาจแตกต่างกันไปในแต่ละวัฒนธรรม เช่น สีเขียวคนชาติหนึ่งอาจมองว่าเป็นสีที่แสดงถึงความปลอดภัย แต่คนอีกชาติหนึ่งอาจมองว่าเป็นสีแสดงความอิจฉาริษยา (Green with Envy) ค่ะ

*สรุป
การเลือกสีในการนำเสนองานควรเลือกใช้สีโดยยึดหลักสีที่ใช้กันเป็นสากล (Universal) หลีกเลี่ยงการใช้สีที่ใช้กันเฉพาะกลุ่ม วิธีนี้จะทำให้งานนำเสนองานของเราเกิดประสิทธิสูงสุด สารที่ต้องการจะสื่อมีความชัดเจน ส่งไปถึงคนดูได้รวดเร็วขึ้นค่ะ :))

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

Tuesday, February 14, 2017

【WEEK4】「モニター力」の大切さ


วันนี้ป่วย ปวดหัวไข้ขึ้นแต่เช้าเลยค่ะ ไม่รู้ไปติดใครมา วันก่อนยังดีๆอยู่เลย5555
ไหนๆแพลนล่ม ไม่ได้ออกไปไหนแล้ว เขียนบล็อกแล้วกัน
ช่วงนี้อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย
เขาว่าไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ a(インフルエンザA型)กำลังระบาดด้วย
ยังไงก็อย่าลืมดูแลรักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ ヘックション ( ` >Д<)s'“・,・

ภาพประกอบจาก http://www.irasutoya.com/2012/12/blog-post_4033.html

เรามาเข้าเรื่องกันดีกว่า ครั้งนี้อัพบล็อกช้าเลยใครรออยู่ต้องขอโทษด้วยนะคะ m(_._)m

ครั้งนี้เราจะว่าด้วยเรื่องของ「自己モニター」และ「モニター力」

「モニター力」←อ่านว่า モニターりょく อย่าเด๋ออ่านเป็นモニターカ(カタカナ)แบบผู้เขียนนะคะ555

คำว่า 自己(じこ)แปลว่า Self หรือ ตัวเอง
ส่วนคำว่า モニター ในภาษาญี่ปุ่นนั้นมีหลายความหมายมาก
モニターที่จะพูดถึงในครั้งนี้หมายถึง "การย้อนมองดู/ตรวจสอบ การใช้คำหรือสำนวนของตัวเองว่าใช้ได้อย่างถูกต้องแล้วหรือยัง" ค่ะ (ไว้มีเวลาจะแนะนำคำว่าモニターในความหมายอื่นๆนะคะ :) )

ถ้าลองพูดให้เข้าใจง่ายและเห็นภาพมากขึ้น
自己モニター คล้ายกับการใช้ "กระจก" ส่องมองดูตัวเราเองค่ะ
มองดูตัวเราในที่นี้หมายถึง การตรวจสอบความถูกต้องของการใช่ภาษาของตัวเราเอง นะ

自己モニター ใช้ได้กับทั้งการพูดและการเขียนภาษาต่างประเทศ
เนื่องจากในบล็อกWEEKแรกๆได้พูดเรื่องการพูดไปบ้างแล้ว ในครั้งนี้เราจะเน้นไปที่การเขียนเป็นหลักค่ะ

💋 การพูด 💋 
เราอาจใช้วิธีอัดเสียงตัวเอง(録音)แล้วนำมาแกะเทป เพื่อสังเกตจุดบกพร่องในการใช้ภาษาของตัวเองค่ะ อย่างที่ผู้เขียนได้ทดลองทำไปแล้วในกิจกรรม"แนะนำตัวเอง"(自己紹介)ใน【WEEK1】และ【WEEK3】จากกิจกรรม"แนะนำตัวเอง"ที่ผ่านมาจะเห็นว่าการแกะเทปช่วยให้เรามองเห็นจุดผิดพลาดของตัวเองได้ง่ายขึ้น บ่อยครั้งเวลาที่เราพูดภาษาต่างประเทศ เราไม่รู้ตัวว่าตัวเองติดนิสัยใช้คำหรือสำนวนไหนบ่อยที่ใช้แล้วฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ

✒️ การเขียน✒️ 
เราสามารถเช็คความถูกต้องของการใช้ภาษาได้ด้วยตนเอง โดยดูจาก หรือ อาจะขอให้Native Speakerช่วยตรวจสอบให้ค่ะ

รูปสำนวน文体
การใช้รูปสำนวนให้สัมพันธ์กับจุดประสงค์ของงานเขียนเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจค่ะ
「〜です・〜ます・〜である・〜だ」
สำนวน「〜です・〜ます」มักใช้ในงานเขียนทั่วไปที่ต้องการความสุภาพ จดหมาย(ทางการ) ข้อความแนะนำสถานที่ ฯลฯ
สำนวน「〜である」มักใช้ในงานเขียนเชิงวิชาการ รายงาน ฯลฯ
สำนวน「〜だ」มักใช้ในจดหมาย(ไม่เป็นทางการ) ไดอารี่ส่วนบุคคล ฯลฯ

ความสัมพันธ์กัน (Correspondent) ของประโยคส่วนหน้าและส่วนหลัง文頭と文末の呼応 )
งานเขียนที่ดีควรผ่านการตรวจเช็คความสัมพันธ์กันของประโยคส่วนหน้าและส่วนหลัง
ผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นอย่างเราๆมักเขียนประโยคโดยไม่คำนึงถึงความสัมพันธ์กับประโยคที่ตามข้างหลัง
ประโยคที่ส่วนหน้าและส่วนหลังไม่สัมพันธ์กันทำให้สิ่งที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อไม่ชัดเจน และผู้อ่านก็เกิดความสับสนด้วย

รูปสำนวนที่ใช้บ่อย เช่น
・〜理由は、(〜から/ため)である。
ตัวอย่าง:私が貴社を希望した理由は、 御社の「お客さまのために」という企業理念に共感したからです。
私は、〜と考える
ตัวอย่าง:はもっと練習すべきだと考える
・〜目的は、〜ことである。/〜目的は、〜にある
ตัวอย่าง1:このレポートの目的は、上述のような観点から〜について明らかにすることである
ตัวอย่าง2:行政改革の最大の目的は、「簡素で効率的、透明な政府」を実現することにある
ฯลฯ

คำที่มักใช้ด้วยกัน หรือ Collocationコロケーション
เราสามารถเพิ่มคลังศัพท์ของตนเองด้วยการเรียนรู้ Collocation เพิ่มเติมจากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆค่ะ
อาจเป็นWebsite (ไว้มีเวลาจะมาแชร์นะคะ55)
การอ่านข่าว บทความที่เจ้าของภาษาเขียนก็เป็นอีกหนึ่งวิธีในการเก็บ(เรียนรู้) Collocation อีกวิธีที่ผู้เขียนใช้บ่อยค่ะ
ขณะที่เราอ่าน เราจะเก็บข้อมูลคำศัพท์และโครงสร้างภาษา สิ่งนี้จะเป็นประโยชน์เวลาเราต้องเขียน(Output)หรือผลิตงานเองค่ะ

นอกจากนี้ความรู้เรื่อง Collocation ยังมีส่วนช่วยในการฟังจับใจความภาษาต่างประเทศอีกด้วยค่ะ
フォード(1996)พูดถึงขั้นตอนการฟังจับใจความไว้ในงานวิจัย4ขั้นตอนค่ะ
①音連続を受容・การรับข้อมูลเสียงในลักษณะต่อเนื่อง
②音韻として把捉・สมองจะจับหน่วยทางเสียง
③意味のある単位に切って、それぞれを意味と結びつける・สมองแบ่งเสียงเป็นหน่วยที่มีความหมาย ก่อนเข้าสู่กระบวนการเทียบเสียงกับความหมาย
④ 文レベルあるいはテキスト全体の内容を理解・การทำความเข้าใจประโยคและเนื้อหาtextโดยรวม

ความรู้เรื่องCollocation จะช่วยเหลือเราในขั้นตอนที่③ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ยากที่สุด ขั้นตอนนี้ส่งผลต่อเบอร์④ (การทำความเข้าใจเนื้อหาโดยรวม)
ผู้เขียนมีความเห็นว่า ถ้าเรารู้จักCollocationมาก โอกาสในการฟังจับใจความผิด(ฟังผิดไปเป็นอีกความหมาย)ก็น่าจะลดน้อยลงด้วยค่ะ

④ปริมาณข้อมูล(情報量
บทความที่มีเนื้อหามากจนเกินไปย่อมไม่น่าอ่านและชวนสับสน
ปริมาณข้อมูลจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ควรระวังค่ะ
ถ้าเราใส่ข้อมูลมากเกินความจำเป็น ประเด็นที่เราต้องการจะสื่อจริงๆจะฟังดูไม่ชัดเจน
เปรียบเทียบให้เห็นภาพ
คล้ายๆกับเวลาผัดกับข้าวอะไรซักอย่างแล้วใส่ซอสเยอะเกินจนมองไม่เห็นเนื้อนั่นแหละค่ะ5555
อยากให้เห็นเนื้อชัดๆ แต่โดนซอสกลบซะหมด ภาพรวมคงดูไม่น่ากินหรือบางทีอาจดูไม่ออกว่านี่คืออาหารอะไรจริงไหมคะ

⑤ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ(中心文
ด้วยเหตุนี้ประเด็นสำคัญที่ต้องการจะสื่อ(ประเด็นหลัก)จึงเป็นสิ่งสำคัญค่ะ
โดยธรรมชาติของคนเรา เวลามีเรื่องอยากจะพูด อยากจะแชร์เยอะๆแล้วเขียนออกมา
เนื้อหามักจะเยอะเกิน จนทำให้คนฟังหรือคนอ่านจับประเด็นสำคัญของเรื่องที่เราเล่า/เขียนไม่ได้

ในงานเขียน แต่ละพารากราฟควรมีประเด็นที่ต้องการจะสื่อ1ประเด็น นอกนั้นจะเป็นประโยคsupportค่ะ
ถ้ามีประเด็นที่ต้องการจะสื่อมากเกิน1ประเด็นในแต่ละพารากราฟจะทำให้สารของเราเกิดความไม่ชัดเจน ผู้อ่านอาจฉงนใจว่า "สรุปแล้วคนเขียนต้องการจะบอกว่าอะไรกันแน่นะ"
เพราะอย่างนั้นการให้ความสำคัญกับ "ประเด็นที่ต้องการจะสื่อ" จึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆค่ะ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

กล่าวโดยสรุปการモニターตัวเองทำให้เรามองเห็นจุดบกพร่องในการใช้ภาษาพูดและเขียนของตนเอง เพื่อแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด

แต่อย่างไรก็ตาม การทำอะไรที่มากเกินย่อมไม่เกิดผลดี
ถ้าเราモニターตัวเองมากเกินไป อาจทำให้เราพูดตะกุกตะกัก ฟังแล้วไม่ลื่นไหล
ในทางกลับกันถ้าเราモニターตัวเองน้อยเกินไป การใช้ภาษาของเราก็จะไม่ได้รับการตรวจสอบ ทำให้ขาดความถูกต้องค่ะ
เพราะฉะนั้นแล้ว 自己モニター ควรทำในระดับที่พอดีจะเกิดผลดีที่สุดต่อตัวเองค่ะ v(^▽^)v

ーーーーーーーーーーーーー
引用文献
フォード丹羽順子(1996)「日本語学習者による聴解ディクテーションに現れた誤りの分析—文法および音声的側面に焦点を当てて」『筑波大学留学生センター日本語教育論集』第11号,pp.21-40

Monday, February 6, 2017

節分スペシャル:みんなで恵方巻


วันนี้มี 動画(วิดีโอ)ของ Google+ ที่น่าสนใจมากๆจะมาแชร์ค่ะ
ตอนแรกว่าจะแนะนำคำศัพท์ แต่ศัพท์มันค่อนข้างง่าย เลยอาจจะไม่ต้องถึงกับแนะนำ
แต่ทำเป็นลักษณะ subtitle ภาษาไทยอย่างง่ายแล้วกันค่ะ55

เนื่องในโอกาสวัน節分(せつぶん)หรือ วันเปลี่ยนฤดูกาล (เข้าสู่ฤดูใบไม้ผลิ)
มันจะตรงกับวันที่3ก.พ.นะ พูดถึงวันนี้หลายคนอาจจะนึกถึงภาพ "ปาถั่วไล่ยักษ์"
แต่ในวันที่3ก.พ.ของปี เขายังมีมีประเพณีกิน恵方巻(えほうまき)กันด้วยค่ะ
และวิดีโอที่เลือกมาในวันนี้จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาสั้นๆของเจ้า恵方巻นี่แหละค่ะ55

เหตุผลที่เลือกวิดีโอนี้มาก็ง่ายๆเลยคือ ผู้เขียนเป็นFC 大ファンภาพวาดของヨシタケシンスケ先生 อ.โยชิทะเคะเจ้าของผลงาน『りんごかもしれない』『このあとどうしちゃおう』และผลงานอื่นๆอีกมากมาย
*ใครอยากรู้จักงานเด่นของอ.โยชิทะเคะลองดู 絵本②:『りんごかもしれない』🍎 นะคะ จะมีเขียนแนะนำอยู่สั้นๆ =)

60秒でわかる恵方巻講座 by Google+
รู้จัก เอะโฮมะคิ ใน60วินาที by Google+

節分と言えば豆まきと恵方巻。
เมื่อพูดถึงวัน「節分」ทุกคนก็คงจะนึกถึง กิจกรรมปาถั่วไล่ยักษ์ และ เอะโฮมะคิ ใช่มั้ยคะ

ところで、恵方巻の由来、知っていますか?
แต่ว่านะ...เจ้าเอะโฮมะคิเนี่ย มันมีที่มาจากไหน มีใครรู้บ้างเอ่ย

恵方巻の風習は、江戸から明治におかけて大阪の花街で生まれたと言われています。
ว่ากันว่าประเพณีกินเอะโฮมะคิมีมาตั้งแต่สมัยเอโดะถึงสมัยเมจิ
โดยมีถิ่นกำเนิดที่ฮะนะมะจิ (จ.โอซาก้า) 

七福神にちなんだ七種類の具を巻き込んだ太巻を、めでたい方角を向いて食べることから「恵方巻」と呼ばれました。
ชื่อ เอะโฮมะคิ มีที่มาจาก ลักษณะการกินฟุโตะมะคิ (ข้าวห่อสาหร่ายแบบม้วนใหญ่)
ที่ใส่เครื่อง7ชนิด ที่เกี่ยวข้องกับโป๊ยเซียน หรือ เทพทั้ง7
โดยเวลากินจะหันฟุโตะมะคิไปทางทิศมงคล

*หมายเหตุ* 恵方(えほう)=ทิศมงคล 巻(まき)=ม้วน(ข้าวห่อสาหร่าย) 

1989年、広島にあるセブン・イレブンの店舗で恵方巻を販売したことを皮切りに
ว่ากันว่าในปี1989 หลังจากที่ร้านเซเว่นสาขาหนึ่งในจ.ฮิโรชิม่าออกมาวางขาย เอะโอมะคิ 

この風習が全国で広まったと言われています。
จังหวัดอื่นๆก็วางขายบ้าง จนวัฒนธรรมการกินนี้แพร่หลายไปทั่วเกาะญี่ปุ่นค่ะ

今では、すっかり国民的なイベントとなりました。
ปัจจุบันประเพณีการกินเอะโอมะคิได้กลายเป็นกิจกรรมที่ทำกันทั่วทั้งเกาะญี่ปุ่นไปซะแล้ว55

さて、今年の恵方はどの方角でしょうか?
แล้วทิศมงคลของปีนี้ (ปี2013) คือ ทิศไหนกันนะ

正解は南南東
เฉลย ทิศตะวันออกเฉียงใต้ค่อนไปทางใต้ ค่ะ

福を逃がさないために、黙って食べないといけない恵方巻。
เอะโอมะคิเนี่ยเขาเชื่อว่า เวลากินต้องกินเงียบๆไม่พูดคุยกันนะ ไม่งั้นเราจะชวดความสุขได้ค่ะ55

話す替わりに、 Google+で共有すると、今年はもっと楽しめるかもしれません。
ไหนๆปากก็ไม่ว่างแล้ว ก็อย่าลืมแชร์ภาพ/ประสบการณ์กินเอะโฮมะคิลง Google+ นะคะ
วันเซะท์สึบุน (節分) ปีนี้คงจะสนุกขึ้นเยอะเลยค่ะ

それでは、よい節分を。
สุดท้ายนี้ ขอให้มีความสุขในวันเซะท์สึบุน (節分) นะคะ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
รูปภาพประกอบจาก http://junsmilej.com/archives/2568.html
เพิ่มเติม (1) ทิศมงคลของปี2017

ทิศมงคลของปี2017คือ ทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่ค่อนไปทางเหนือ (?) ค่ะ (ทิศในกล่องสี่เหลี่ยมสีแดงในภาพ55งง)
2017年の方角=北北西 อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.lawson.co.jp/recommend/ehou2017/

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
เพิ่มเติม (2) คำเรียกทิศทางหลัก (อ้างอิงเนื้อหาส่วนหนึ่งจากเนื้อหาวิชาTRANSL TH-JP I)
東西南北?北南東西?:

คนญี่ปุ่นเรียกทิศหลักทั้ง4ว่า 東西(とうざいなんぼく)หรือ ออกตกใต้เหนือ

ในขณะที่คนไทยนิยมเรียกว่า "เหนือใต้ออกตก"(東西

จะเห็นว่าลำดับของคำมีความแตกต่างกันใน2วัฒนธรรม
นอกจากคำเรียกทิศทางทั้ง4แล้ว ยังมีคำศัพท์อื่นๆอีกมากมายที่ลำดับคำมีการเปลี่ยนแปลงไปตามวัฒนธรรมการใช้ภาษา เป็นเรื่องที่ควรอย่างยิ่งที่จะนำไปศึกษาเพิ่มเติมต่อไปค่ะ

Friday, February 3, 2017

【WEEK3】新しい自分に向けて一歩!


กลับมาพบกันอีกครั้ง หลังจากห่างหายกันไปนานนะคะ
นี่ก็เข้าเดือนกุมภาแล้วเนาะ เร็วจังเลย TT
ผู้เขียนโดนตารางงานเดือนม.ค.เล่นซะอ่วมเลยค่ะ สภาพตอนนี้เหมือนภาพด้านล่าง อยากนอนกลางวันจังเลยzzZzZ บล็อกหน้าเขียนเรื่อง「昼寝のメリット」(ข้อดีของการนอนกลางวัน)ดีกว่า55555

ภาพประกอบจาก http://babi55.com/?p=1147
นอกเรื่องเยอะแล้ว เรากลับมาเข้าเรื่องของวันนี้กันดีกว่าค่ะ (หัวเราะ)
ใน【WEEK1】自己紹介って意外と難しいและ【WEEK2】自己紹介の目的とは?เราได้พูดถึงลักษณะการแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นเทียบกับคนไทย สำนวนภาษาญี่ปุ่นที่เป็นประโยชน์ในการแนะนำตัว และเทคนิคแนะนำตัวให้คนฟังจำเราได้ กันไปแล้ว
ใน【WEEK3】จะเป็นตอนปิดฉากของหัวข้อ​「自己紹介」"การแนะนำตัว" ค่ะ โดยผู้เขียนจะลองเอาบทแนะนำตัวที่เคยโพสต์ใน【WEEK1】มาดูเปรียบเทียบกับ【WEEK3】เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงค่ะ (จะจบสวยหรือไม่นั้น โปรดติดตามชม...)

อันนี้ของ【WEEK1】ค่ะ อายจัง5555555

①自己紹介【WEEK1】

皆さん、こんにちは。(名前)です。わたしは日本語の同音異義語について研究をしています。わたしの趣味は絵を描くことです。特に似顔絵が得意です。ストレスがあるときに、イラストを描くと、すごく解消になると思うので、よく描いています。以上です。よろしくお願いします。

あれから20日後・・・
20วันต่อมา...เวอร์ชันใหม่ก็คลอดค่ะ (ฮือ)
บอกตามตรงว่า ไม่มั่นใจเลยว่ามันจะดีขึ้นไหม
ยังไงจะเอามาเปรียบเทียบแล้ววิเคราะห์ผลลัพธ์ดูค่ะ T-T

②自己紹介【WEEK3】
新バージョン「My New Me」

皆さん、こんにちは。(名前)です。ニックネームは◯◯です。あー、◯◯はタイ語の言葉で、猫の鳴き声という意味です。もし、呼び難かったら、(名前)と呼んでください。はいえー、わたしは、よく周りから、うーん、話すより聞くことが多いと言われていますが、うーん、それは、自分が、あのう、何でも真剣に考えて(→考えすぎて)しまうせいだと思うからです。(→性格の原因かもしれません。)えー、わたしの趣味はイラストを描くことで、高校時代から絵本を出版するのが夢です。えー、もし、皆さんの中で(→ตัดออก)えー、自分の似顔絵とか描きたい、描いてほしいという方は是非わたしに言ってください。えー、ストレス解消としましては、えー、アートセラピーをやっています。アートセラピーという言葉は(→を)、ご存知ですか?アートセラピーは、そのー、アートを通して自分のそのままの気持ち(→ありのままの気持ち)を表現する方法です。例えば、わたしは子供の頃から絵ばかり描いていたので、えーまあ、表現法を絵にしたんですね。もし、興味があれば、是非言ってください。(→やってみてください。)これからも、よろしくお願いします。

*ส่วนที่ขีดเส้นใต้คือ ส่วนที่ผิดไวยากรณ์ หรือ ส่วนที่ผู้เขียนคิดว่าฟังดูไม่เป็นธรรมชาติค่ะ
ส่วนในวงเล็บ(→ )คือ ประโยคที่คิดว่าถ้าลองแก้คงจะเป็นประมาณนี้55
ーーーーーーーーーーーーーーーーー

🌻 【WEEK1】と【WEEK3】を比較してみよう:เปรียบเทียบบทแนะนำตัว①และ②🌻
①ความยาวของบทพูดแนะนำตัว 
【WEEK3】มีปริมาณเนื้อหาเยอะกว่าอย่างเห็นได้ชัด 【WEEK1】มีลักษณะการพูดแบบขอไปที พูดตามหัวข้อให้มันจบๆ ไม่ได้คำนึงถึงผู้ฟังเท่าไรนัก แต่ใน【WEEK3】มีส่วนที่เป็นคำถาม หรือ ส่วนที่มีปฏิสัมพันธ์กับคนฟังเพิ่มขึ้นมาเช่น 「アートセラピーという言葉、ご存知ですか?」←สีแดงคือวิธีการใช้คำช่วยประหลาดเลยลองแก้ดูค่ะ

②「フィラー」(filler) 
ใน【WEEK3】มีการใส่「フィラー」อย่างเช่น 「えー」「あのう」「うーん」「あー」ในขณะที่【WEEK1】ไม่มี「フィラー」เลย
เยอะไม่ก็ไม่ค่อยดีนัก กรณีของ【WEEK3】ผู้เขียนคิดว่าตัวเองใช้มากเกินไปค่ะ (หัวเราะ) เป็นตัวอย่างที่ไม่ค่อยดีแต่ไม่เป็นไร เราทำพลาดจะได้เรียนรู้ =)

③เพิ่มความหมายของชื่อตัวเอง
ใน【WEEK3】ลองเพิ่มความหมายของชื่อตัวเองเข้าไปดูค่ะ แต่พูดตามตรงปกติไม่ค่อยชอบแนะนำตัวด้วยชื่อเล่นเท่าไหร่ คือชื่อเล่นผู้เขียนมันออกเสียงเป็นภาษาญี่ปุ่นยาก เลยมักจะโดนหัวเราะเยาะบ่อยๆน่ะค่ะ (゚´ω`゚) 。゚←ไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่ ข้อนี้ข้ามไปก็ได้ค่ะ55

ーーーーーーーーーーーーーーーーー

🌻 次の自己紹介で工夫したいこと:สิ่งที่อยากแก้ไขและนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป🌻 
①ประโยคผิดไวยากรณ์หรือฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ
การแนะนำตัวใน【WEEK3】ยังมีประโยคที่ใช่ผิดไวยากรณ์หรือฟังดูไม่เป็นธรรมชาติเยอะ ในครั้งต่อๆไปจะพยายามใจเย็นลง มีสติในการพูดให้มากขึ้นค่ะ ถึงกระนั้นแล้วถ้าเรามัวห่วงแต่เรื่องไวยากรณ์มากจนเกินไป บทพูดอาจฟังดูไม่ลื่นไหลเท่าที่ควร แถมยังกลายเป็นอุปสรรคในการฟังจับใจความของผู้ฟังอีกด้วย จุดนี้ก็ต้องระวังให้มากๆค่ะ

คำว่า「はい」
คำว่าはいถ้าเป็นไปได้ไม่อยากใส่ในบทพูดคนเดียวเลยค่ะ เพราะรู้สึกว่าใส่แล้วดูประหลาดฟังดูไม่เป็นธรรมชาติ แต่รอบล่าสุด【WEEK3】นี้เผลอหลุดไปค่ะ (ร้องไห้) ยังดีที่พูดไปครั้งเดียว... ในความเห็นผู้เขียนคนที่พูด「はい」เยอะเกินมันฟังดูน่ารำคาญมากๆเลยค่ะ
ตอนปี2คาบเรียนการพูด เคยมีอ.คนญี่ปุ่นสอนเพื่อนในชั้นคนนึงที่ติดพูดคำว่า「はい」จำได้ว่าตอนนั้นอ.ท่านบอกว่า "ลองกลับไปคิดทบทวนดูนะว่าเราติดพูดคำไหนบ่อยๆ" อาทิตย์ต่อมาเพื่อนคนนั้นก็เลิกพูดคำว่า「はい」เวลาพูดสปีชไปเลยล่ะค่ะ ตรงนี้ทำให้ผู้เขียนคิดว่า"การทบทวนพิจารณาการใช้ภาษาของตัวเอง"เป็นสิ่งสำคัญมากๆเลยในการพัฒนาทักษะทางภาษาค่ะ วิธีหนึ่งที่ดีมากๆคือ วิธีแกะเทปที่อัดเสียงตัวเองเวลาพูด วิธีนี้ช่วยให้เราสามารถดึงจุดบอดของตัวเองออกมาปรับปรุงแก้ไขได้ค่ะ

③ยังขาดส่วนที่เป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเอง「エピソード」
ส่วนนี้ตามที่ได้พูดไปแล้วใน【WEEK2】ว่า มีส่วนช่วยทำให้บทพูดแนะนำตัวของเรามีสีสัน ชวนฟังมากขึ้นค่ะ ใน【WEEK3】ยังขาดส่วนนี้อยู่ (เสียดายมาก...) ครั้งหน้าจะพยายามไม่ลืมใส่ค่ะ T-T

ーーーーーーーーーーーーーーーーー

🌻 勉強したこと🌻 
จากการลองเปรียบเทียบบทพูดแนะนำตัวของ【WEEK1】และ【WEEK3】
ผู้เขียนพบว่าตัวเองมีพัฒนาการ แม้เป็นเพียงก้าวเล็กๆ แต่ก็รู้สึกว่าตัวเองก้าวไปข้างหน้าค่ะ5555
มีหลายจุดที่ดีขึ้นอย่างที่ได้ยกมาพูดในหัวข้อต่างๆด้านบน
ในขณะเดียวกันก็ยังคงมีบางจุดที่ยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร ยังต้องปรับปรุงแก้ไขต่อไปในครั้งหน้าค่ะ

กิจกรรมแนะนำตัว เป็น กิจกรรมที่มนุษย์ที่เป็นสัตว์สังคมต้องปฏิบัติ
ทุกวันเราอาจต้องพบเจอคนใหม่ๆไม่ซ้ำหน้า
สำหรับตัวผู้เขียน การแนะนำตัว ยังคงเป็นสิ่งที่ยากอยู่บ้าง ยังต้องค่อยๆฝึกฝนไป

แต่หลังจากที่ทำกิจกรรมนี้แล้วก็รู้สึกว่าตัวเองเริ่มมีความมั่นใจในการพูดแนะนำตัวมากขึ้นค่ะ =)

ปิดฉากหัวข้อ「自己紹介」"แนะนำตัวเอง" แต่เพียงเท่านี้ค่ะ

ส่วนครั้งหน้าจะเป็นเรื่องอะไรนั้น โปรดติดตามชมค่ะ
ผู้เขียนขอลาไปงีบแล้วค่ะ แหะๆ
แล้วพบกันใหม่นะคะ (σω-)。о゜