Saturday, March 25, 2017

【WEEK9】面白い話とはどんな話?


การซุกหน้าอยู่ในหนังสือดีๆสักเล่ม ก็เหมือนได้เปิดประตูหนีออกไปยังโลกอีกใบหนึ่ง
โลกที่เราสามารถจะลืมความทุกข์ใจ ณ ขณะนั้นไปได้แม้เพียงชั่วครู่

「面白い話とは、どんな話?」
สำหรับท่านผู้อ่าน เรื่อง(เล่า)ที่น่าสนใจเป็นอย่างไรคะ

สำหรับผู้เขียน คงจะเป็นเรื่องที่มีรายละเอียดเยอะๆ
มีอะไรที่เดาไม่ถูกโผล่มาให้ประหลาดใจเล่น
อ่านแล้วสนุกจนวางไม่ลง เหมือนกำลังดูหนังดีๆสักเรื่องละมั้งคะ :)

https://www.pinterest.com/amarantapico/kafka-en-la-orilla/

วันนี้จะยกตัวอย่างฉากที่ชอบจากหนังสือเรื่อง『海辺のカフカ(上)』
หรือ Kafka On The Shore. คาฟกา วิฬาร์ นาคาตะ ของ ฮารูกิ มุราคามิค่ะ

แอบกระซิบก่อนว่า ไม่ใช่แฟนคลับลุงนะคะ
อ่านแค่ไม่กี่เรื่อง มีทั้งที่ชอบและไม่ชอบค่ะ5555
「翌日実際に中野区のその一角にイワシとアジが空から降り注いだとき、その若い警官は真っ青になった。何の前触れもなく、おおよそ2000匹に及ぶ数の魚が、雲のあいだからどっと落ちてきたのだ。多くの魚は地面にぶつかるときに潰れてしまったが、中にはまだ生きているものもいて、商店街の路面をぴちぴちとはねまわっていた。」(村上春樹『海辺のカフカ(上)』新潮社, 2002(P291,L8-11より引用))

"วันรุ่งขึ้นที่มุมดังกล่าวของเขตนะกะโนะ มีฝนปลาอิวะฌิและปลาอะจิตกลงมาจากท้องฟ้าจริงๆ (ตามคำพยากรณ์ของคุณนาคาตะ) ตำรวจหนุ่มคนนั้นหน้าซีดเมื่อเห็นสิ่งที่เกิดขึ้น ปลาราว 2,000 ตัวร่วงลงมาจากระหว่างกลีบเมฆ ปลาหลายตัวตกลงมากระทบพื้นถนน ตัวแหลกเละ ในจำนวนนั้นยังมีปลาที่มีชีวิตพวกมันดิ้นดุกดิก กระโดดไปมาบนพื้นถนนบริเวณย่านร้านค้านั้น"

*เล่มนี้พอดีไม่ได้ซื้อฉบับภาษาไทย เลยแปลเอง ไม่สละสลวยยังไงขออภัยค่ะ TT
หลายคนบอกว่างานของมุราคามิอ่านยาก ไม่รู้เรื่อง
ไร้แก่นสาร ประเด็นโดดไปมาเหมือนป๊อปคอร์น

ส่วนตัวผู้เขียนเวลาอ่านงานของมุราคามิจะเน้นดูพวกความคิดริเริ่ม(発想)
ความละเอียดอ่อนของการบรรยายภาพ/ลักษณะนิสัย(描写)ของตัวละคร
มากกว่าจะพยายามตีความเนื้อหา
คิดเชื่อมโยงเหตุการณ์ต่างๆให้ปวดสมอง (ไม่ค่อยวิชาการ55)
เลยมีเวลาดื่มด่ำกับรสชาติของงานส่วนที่เป็นสำนวนภาษาได้อย่างเต็มที่ค่ะ

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
สืบเนื่องจากสัปดาห์ที่แล้ว วันนี้เราจะมาคุยกันต่อเรื่องการพรรณนา(描写)ค่ะ
ในครั้งที่แล้วเราได้พูดถึงมุมมองของสำนวนภาษา(表現)กันไปแล้ว
ในครั้งนี้เราจะมาดูมุมมองเกี่ยวกับเนื้อหา(内容)กันบ้าง :)

เวลาเล่าเรื่อง เริ่มเล่ายังไงให้น่าสนใจกันนะ?

รูปแบบ/วิธีการเริ่มเรื่อง(出だしのパタン)อาจทำได้หลายวิธี 
・เริ่มด้วยบทสนทนาของตัวละคร (会話で始める)
・เริ่มด้วยการกระทำที่มีการเคลื่อนไหว(動きのある行為から始める)
・เริ่มเล่าจากฉากที่มีความพิศวง(不思議な場面から始める)
・เริ่มโดยการให้ Hint หรือ คำใบ้บางอย่างกับผู้อ่าน(ほのめかしをする)
・เริ่มด้วยวิธีการเขียนทั่วไป(ใช้เวลาคิดอะไรไม่ออก55)(もっとも正統的な書き出しにする)

出だしで読み手を引きつける
ตัวอย่างการเริ่มเรื่องที่ดึงดูดใจผู้อ่านให้อยากอ่านต่อ



<プロローグ>
「鉄三の担任は小谷芙美先生といったが、(中略)鉄三のその仕打ちは小谷先生のどぎもをぬいた。小谷先生は職員室にかけこんできて、もうれつに吐いた。そして泣いた。おどろいた教頭先生が、あわてて教室にかけつけてみると、鉄三は白い眼をして、一点をにらみつけていた。まわりで子どもたちがさわいでいた。鉄三の足もとを見て、教頭先生ははじめ、なにかきれいな果物でも落ちているのかと思った。それから、それをのぞきこんで思わず大声をあげた。それは、二つにひきさかれたカエルだったのだ。そのカエルはひくひく動いていた。」(灰谷健次郎『兎の眼』より引用)

<บทนำ>
"ครูประจำชั้นของเด็กชายเท็จโซ มีนามว่า โคทานิ อะเกมิ (ย่อ) การได้มาพบเด็กอย่างเท็จโซ และสิ่งที่เขากระทำอยู่ขณะนี้ ย่อมเกินกำลังขวัญของครูที่จะทนได้ เธอรีบสาวเท้ากลับไปยังห้องพักครู ด้วยความรู้สึกขยะแขยงและผะอืดผะอม สุดท้ายจึงได้สะอื้นไห้ออกมา ผู้ช่วยครูใหญ่ตกใจลุกขึ้น เร่งฝีเท้าไปยังห้องเรียน ภาพที่ปรากฎอยู่เบื้องหน้าได้แก่ เด็กชายเท็จโซซึ่งยืนนิ่งขึง โดยมีเพื่อนๆส่งเสียงเอะอะอยู่รอบๆ แต่พอมองดูให้ถนัด ก็ทำเอาผู้ช่วยครูใหญ่ผงะอย่างตกใจ เพราะความจริงนั่นคือ กบตัวหนึ่งถูกฉีกผ่ากลางเป็นสองชิ้น เครื่องในของมันกระจัดกระจายอาบด้วยเลือดสีสด และอวัยวะบางชิ้นยังเต้นตุบ ๆ อยู่" (A Rabbit's Eyes. ดวงตากระต่าย / เค็นจิโร่ ไฮทานิ, เขียน ; ธราธร, แปล ; รสริน สำนักพิมพ์มูลนิธิเด็ก)

ーーーーーーーーーーーーーーーー
ผู้เขียนลองขีดเส้นใต้ส่วนหลัก3ส่วนที่น่าจะนำผู้อ่านไปสู่คำถามอีกมากมาย
(ดึงผู้อ่านไว้ให้หาคำตอบต่อ)ดังนี้ค่ะ 

①เท็จโซเป็นเด็กแบบไหน อายุเท่าไหร่ เด็กคนนี้ทำอะไร ทำไมครูโคทานิถึงกลัวเขา
②ทำไมเท็จโซถึงยืนนิ่ง ตอนนั้นเขาคิดอะไรอยู่
③เกิดอะไรขึ้นกับกบตัวนั้น ใครเป็นคนฆ่ามัน ใช่เท็จโซหรือเปล่า ถ้าฆ่าจริงเขาทำเพื่ออะไร และครูจะทำอย่างไรกับเด็กคนนี้ต่อไป

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
文章やストーリーの構成:起承転結
วิธีการเขียนแบบ起承転結

起承転結(きしょうてんけつ)หมายถึง โครงสร้างการเขียนเล่าเรื่องแบบหนึ่ง
ที่นิยมใช้ในงานเขียนประเภทนวนิยาย มังงะ ฯลฯ

ผู้เขียนรู้จักโครงสร้างการเขียนแบบ起承転結
สมัยเรียนวิชาการเขียนภาษาญี่ปุ่น ตอนปี1ค่ะ
เขาว่ากันว่า...
ใครสามารถอธิบายความหมายของ起承転結แต่ละขั้นได้อย่างถูกต้องเป๊ะๆนี่สุดยอดมากเลยนะ555
ตอนฟังอ.อธิบายรอบแรกนี่นิ่งเงิบกันไปตามๆกัน

วิชานี้จะมีการบ้านต้องเขียนส่งทุกสัปดาห์
สัปดาห์นี้อาจเข้าใจโครงสร้าง起承転結 เขียนงานส่ง ได้ฟี้ดแบ็ค Good! จากอาจารย์
แต่สัปดาห์ต่อมาอาจได้กากบาท พร้อมกับคำว่า "พยายามอีกนิดนะ"

起承転結 http://www.openeyes.jp/html/ura_scenario_const.html

โครงสร้าง起承転結 แบ่งออกเป็น4ส่วนตามตัวอักษรคันจิทั้ง4ได้แก่

起(き)= 物語の始まり จุดเริ่มต้นของเรื่อง
承(しょう)= 始まりの続き เหตุการณ์สืบเนื่องจากจุดเริ่มเรื่อง
転(てん)= 逆転が起こる หักมุม หรือ การมองสิ่งเดิมจากมุมมองใหม่
結(けつ)= 結果 ผลลัพธ์

起承転結の例:
テーマ:依存症(Addiction)

(起)噛んでいるガムはもうすぐ味がなくなる気がする。
ผมรู้สึกว่าหมากฝรั่งที่กำลังเคี้ยวอยู่ใกล้จะหมดรสแล้ว
(承)早くもう一枚口に入れないと。
ต้องรีบหยิบชิ้นใหม่เข้าปากซะแล้วสิ
(転)あれ?シャツのポケットにはない。
อ้าว ในกระเป๋าเสื้อไม่มีแฮะ
(結)でも、大丈夫だ。
机の引き出しの中にも、筆箱の中にも、ファイルの中にもあるから。

แต่ไม่เป็นไรหรอก ก็ในลิ้นชักโต๊ะ ในกล่องดินสอ ในแฟ้มยังมีหมากฝรั่งอยู่นี่

筆者作(1年生作文I:2012年7月4日)
อันนี้เป็นการบ้านวิชาเรียงความภาษาญี่ปุ่นของผู้เขียนเองค่ะ เป็นไม่กี่อันที่ได้ Good 55555

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

สุดท้ายนี้อยากแนะนำหนังสือเล่มหนึ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์
เวลาต้องเขียนงานเขียนประเภทสร้างสรรค์ เช่น เรื่องสั้น นวนิยาย ฯลฯ ค่ะ

ผู้เขียนได้มีโอกาสอ่านรีวิวเกี่ยวกับหนังสือเล่มนี้ในเพจFacebookชื่อ 手紙社【本とコーヒー】
ซึ่งเป็นเพจแนะนำ หนังสือ อีเวนท์ และร้านค้าที่น่าสนใจในโตเกียว
แล้วสนใจเลยไปซื้อมาอ่านเล่นค่ะ (หัวเราะ)

小内 一『てにをは連想辞典』三省堂,2015
「ことばの海を泳いでみませんか?」
"มาลองว่ายน้ำในทะเลคำศัพท์กันไหม?"

http://cdn.www.tsutaya.co.jp/images/jacket/10689/9784385136417_1L.jpg
日本を代表する現代作家四百人の
22万の文章例を類語・類表現で分類した
作家的表現力を身につける「書く人」のための辞典

หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมสำนวนเด็ด(名表現)ของนักเขียนญี่ปุ่นร่วมสมัยไว้มากถึง 220,000 ตัวอย่าง
โดยแยกเป็นกลุ่มคำหรือสำนวนที่คล้ายกันค่ะ เช่น

ยกตัวอย่าง หมวดคำศัพท์เกี่ยวกับ "การกระซิบ" (呟く・囁き)
จะประกอบด้วยคำศัพท์ต่างๆ เช่น
呟く(つぶやく)、小声(こごえ)、囁き(ささやき)、独り言(ひとりごと)、
ひそひそ話、内緒話(ないしょばなし)、ぼそぼそ ฯลฯ
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างประโยคที่ใช้คำเหล่านี้ด้วยค่ะ

เวลาเราอยากได้ไอเดียในการเขียนงานประเภทエッセーหรือ เรื่องสั้น เล่มนี้จะช่วยเราได้เยอะ
ใช้เอามาเรียนในฐานะเป็นพจนานุกรมคำศัพท์ที่มักใช้ด้วยกัน(コロケーション辞典)ก็ดีเช่นกันค่ะ
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー

3 comments:

  1. โอ เอาสิ่งที่สอนในห้องมาเติมตัวอย่างให้อย่างละเอียดเลย หนังสือเล่มที่แนะนำจะต้องไปหาอ่านแล้ว

    ReplyDelete
  2. วิเคราะห์เนื้อหาเรื่องเท็จโซได้ดีมากเลย เห็นด้วยว่าเนื้อหาที่ดึงดูดผู้อ่านจะต้องทำให้ผู้อ่านตั้งคำถาม ทำให้อยากติดตามเรื่องราวต่อว่าเกิดอะไรขึ้น เพราะอะไร และจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป

    ReplyDelete
    Replies
    1. เรื่อง"ดวงตากระต่าย"(兎の眼)ดีมากๆเลย คนเขียน灰谷健次郎เขาเป็นครู
      เทอมที่แล้วแม่เราเอาเวอร์ชันภาษาอังกฤษไปสอนเด็กครุศาสตร์เป็น External Reading
      มีแง่มุมเกี่ยวกับการสอน จรรยาบรรณครู ฯลฯ แนะนำ :)

      Delete