Saturday, March 18, 2017

【WEEK7-8】目に浮かぶ描写🍋(👀 )


สวัสดีค่ะ หลังจากห่างหายกันไปนาน วันนี้หอบร่าง(พัง)มาอัพบล็อกแล้วค่ะ (ยังมีชีวิตอยู่นะ555)
พอดีเป็นช่วงเตรียมงานใหญ่ของมหาลัยและช่วงเคลียร์งานค่ะ
มีอะไรที่อยากทำและต้องทำเยอะจริงๆ
ตอนนี้ก็เรียงลำดับความสำคัญของงานต่างๆ พยายามแบ่งเวลาทำงาน
แต่ก็ยังรู้สึกว่าตัวเองยังทำหลายอย่างได้ไม่ดีพอค่ะ ; - ;

ภาพประกอบจาก https://jp.pinterest.com/pin/44824958769433055/
วันนี้เราจะมาธีมใหม่คือเรื่อง 描写 หรือ การพรรณนา อธิบาย บรรยาย วาดให้เห็น
ใกล้เคียงกับคำว่า  (N.) Depictation  ในภาษาอังกฤษค่ะ

ส่วนตัวผู้เขียนรู้จักคำนี้(น่าจะ)ตอนเรียนมัธยมค่ะ
จำได้ว่าตอนนั้นอ.ให้เขียน 人物描写 หรือ อธิบายลักษณะหน้าตาของตัวละครจากภาพที่ให้ค่ะ
อย่างเช่น
เราดูภาพผู้ชายตัวสูง ใส่กางเกงขายาวสีส้ม ถือภาพวาดรูปแมว
หลังจากนั้นเราก็เขียนบรรยายภาพที่เราเห็น ออกมาเป็นประโยคหรือเรื่องราวที่คนอื่นอ่านแล้วสามารถจะเห็นภาพหรือสถานการณ์แบบที่เราเห็นได้ ←ตรงนี้สำคัญ

描写 อยู่ในรูปของการเขียนหรือการพูด(書く・話す)
เรามักพบ描写ในงานเขียนประเภทวรรณกรรม เช่น นวนิยาย เรื่องสั้น ฯลฯ
ส่วน描写ที่อยู่ในการพูด เราพบเจออยู่ทุกวันเมื่อต้องสื่อสารกับผู้อื่น
บางครั้งเราทำหน้าที่เป็นผู้ส่งสาร(ฝ่ายพูด) บางครั้งเราทำหน้าที่เป็นผู้รับสาร(ฝ่ายฟัง)

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
描写VS説明
สองคำนี้แตกต่างกันอย่างไร?

描写(พรรณนาให้เห็นภาพ) กับ 説明文(การอธิบาย) ต่างกันที่ "จุดมุ่งหมาย"

描写 คือ การพรรณนาให้ผู้ฟังเกิด 臨場感(りんじょうかん)
หรือ「実際にその場にいるかのような感じ。」(明鏡国語辞典 第二版より)
แปล:ความรู้สึกราวกับได้ไปยืนอยู่ตรงนั้นจริงๆ

ในขณะที่説明文=การพูด(อธิบาย)เนื้อเรื่อง/ความหมายของเรื่องราว เพื่อให้คู่สนทนา(ฝ่ายตรงข้าม)เข้าใจ ไม่ได้มุ่งเน้นให้ผู้ฟังเกิดภาพราวกับได้เห็นด้วยตาตนเองเช่น描写

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
描写の例
ตัวอย่างการพรรณนาให้เห็นภาพ



ผู้เขียนลองเลือกตัวอย่างการพรรณนาให้เห็นภาพจากผลงานของนักเขียนญี่ปุ่น2เรื่องที่คอวรรณกรรมหลายท่านลงความเห็นว่าใช้描写ได้ดีค่ะ 
*ทั้ง 2 เรื่องยังไม่มีฉบับแปลไทยค่ะ ส่วนแปลไทยอาจจะไม่สละสลวยนะคะ พอดีไม่เคยแปลนิยาย ถือเป็นการฝึกแล้วกัน5555

檸檬の描写
「いったい私はあの檸檬が好きだ。レモンエロウの絵具をチューブから搾り出して固めたようなあの単純な色も、それからあのの詰まった紡錘形の恰好かっこうも。」梶井基次郎 著『檸檬』より
*note: 紡錘形(ぼうすいけい)=รูปทรงกระสวย (eg.ผลเลมอน ปลามากุโร่(ทูน่ายักษ์))
ตัวอย่างประโยคพรรณนาภาพ"ผลเลมอน"
"ผมถูกใจเลมอนผลนั้นมาก ทั้งสีเหลืองที่สดราวกับสีที่แห้งแข็งหลังจากบีบออกมาจากหลอดสี ทั้งรูปทรงกระสวยอวบอิ่มนั่นก็ด้วย" จากหนังสือ『檸檬』(แปล: เลมอน) เขียนโดย โมะโตะจิโร คะจิอิ

ภาพประกอบจาก http://www.xn--t8judv08rzua689koxn.com/wp-content/uploads/2016/09/p22-300x199.jpg
風景の描写
「夜には甘味とすいかを食べられる店が遅くまでにぎわい、大人たちはビールを飲み、子供はかき氷やあんみつを食べて、遅くまで浮かれた。」吉本ばなな 著『海のふた』p.23 より
ตัวอย่างประโยคพรรณนาภาพ"ทิวทัศน์" 
"พอตกกลางคืน ร้านค้าที่ขายของหวานและแตงโมจะครึกครื้นจนถึงดึกดื่น พวกผู้ใหญ่นั่งดื่มเบียร์กัน ส่วนเด็กๆก็นั่งกินน้ำแข็งไสและอันมิท์สุ(หวานเย็น) ทุกคนต่างก็มีความสุข" จากหนังสือ 『海のふた』(英:There Is No Lid Sea) เขียนโดย บานาน่า โยชิโมโตะ

ภาพประกอบจาก http://cdn.amanaimages.com/cen3tzG4fTr7Gtw1PoeRer/02336003118.jpg
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
ストリーテリング Storytelling


ストーリーテリング (Storytelling) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง การเล่าเรื่อง(物語・お話)

ผู้เขียนได้ทดลอง描写ผ่านการเล่าเรื่อง(ストーリーテリング)การ์ตูน4ช่อง โดยใช้วิธีอัดเสียงแล้วเอามาแกะค่ะ และการ์ตูนที่ใช้ฝึกคือเรื่อง....

「赤ちゃん」4コマ漫画
石黒圭(2009:161より転載。(石黒圭(2009)」第7講 目に浮かぶ描写」
『よくわかる文章表現の技術II—文章構成編−[新版]』pp.161-181)

<ถอดเทปเสียง:文字起こし>

今日の4コマの漫画は、漫画の、えー、主人公は赤ん坊と犬です。(うん)(▲ある日)赤ん坊は、あのー、犬が寝ているのを見ました。で、その犬の背中に乗って遊ぼうと考えています。えー、赤ちゃんは、あのー、犬の方へ、ハイハイして(笑い)行きました。えー、そのー、犬のところに近づいたら、犬と、えー、顔合わせをしました。顔だと、あのー、乗れないので、まあ、赤ちゃんは、あのー、犬のしっぽの方へハイハイしてぐるっと、あのー、犬を回りましたが、犬はそのー、うーん、向きを変えて、えー、赤ちゃんが犬の前に来たら、また犬の、あのー、顔にあいました。このままだと、乗れないので、また、あのー、ぐるっと回るかもしれない。4コマの漫画なので、そのところで終わってしまいました終わりです

*( )は相手の反応・あいづち


ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
【勉強した表現を使ってみたところ:รูปประโยคที่ลองเพิ่มเข้าไป】
・「ハイハイする/して行く」(V.) คลาน
・「顔合わせをする」(V.) หันหน้าเข้าหากัน
・「〜をぐるっと回る」(V.) วนรอบ
・「向きを変える」(V.) เปลี่ยนทิศทาง (หันไปทางอื่น)

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
【直したいところ:จุดที่อยากแก้ไข】
・顔にあいました  →  顔にあってしまいました
・(▲ある日)   →  เพิ่ม「ある日」เข้าไป
・終わりです    อาจใช้  おしまいです/〜という話です など

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
【次の課題で工夫したいこと:สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป】

文末表現:「〜てしまう」「〜ていく」「〜てくる」
เนื่องจากタスクในครั้งนี้ค่อนข้างใช้รูปประโยค「〜てしまう」น้อย(มี1จุด) ครั้งหน้าอยากจะลองใช้ให้มากขึ้นตามความเหมาะสมของบริบท

ส่วนรูปประโยคที่ใช้แสดงทิศทางการเคลื่อนที่(移動の行き先・方向)ได้แก่「〜ていく」「〜てくる」จะช่วยให้มุมมองในการเล่าเรื่องมีความชัดเจน ผู้ฟังจะเข้าใจเรื่องที่เราเล่าได้ง่ายขึ้น
การ์ตูน4ช่องเรื่อง「赤ちゃん」มีการเคลื่อนที่ของตัวละครหลายจุด แต่น่าเสียดายที่ผู้เขียนไม่ได้ใช้รูปประโยคนี้เลยค่ะ55 คิดว่าจะกลับไปฝึกใช้ให้มากขึ้น เรื่องที่เล่าจะได้เข้าใจง่ายขึ้นบ้าง TT

オノマトペ(擬音語・擬態語)
การเพิ่มคำเลียนเสียงธรรมชาติและคำแสดงสภาพทำให้เรื่องที่เราเล่าน่าสนใจและน่าติดตามมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่าง:「くるりと」「ぼーっと」,「ムッとする」,「ガラガラ」など

面白みを加えること
รู้สึกว่าตนเองสามารถเล่าเรื่องให้ผู้ฟังเห็นภาพได้ในระดับหนึ่งแล้ว แต่ยังขาดความสนุกสนาน น่าติดตามของตัวเรื่อง
วิธีเพิ่มความน่าสนใจ ความสนุกสนานของเรื่องอาจทำได้โดย

 3.1)เพิ่มสำนวนแสดงการคาดคะเน
ตัวอย่าง:「その人は、カメラを首からぶらさげ、地図を片手に、どうやら道を探していたようです。」

 3.2)เพิ่มบทพูดของตัวละคร
ตัวอย่าง①:「そうだ!お尻のほうからのろう!」

ตัวอย่าง②「あっやばい!」と思った瞬間、・・・。

 3.3)เพิ่มส่วนแสดงความคิดเห็นของผู้พูด
ตัวอย่าง①:「一コマに出てくる人物は皆鼻が低いので日本人であり、この四コマの舞台は日本のあるホテルのロビーであることがわかる。」

ตัวอย่าง②:「男性は外国人と話をした経験があまりないせいか、それとも日本人特有とも言える外国人に対して引っ込んでしまう性格のせいか、自分に近づいてくる外国人にとまどってしまった。」

聴き手の存在をもっと大切にすること
อีกจุดที่อยากนำไปปรับปรุง/ปรับใช้ในครั้งต่อไปคือ การให้ความสำคัญกับผู้ฟัง
ด้วยความที่จดจ่ออยู่กับเรื่องที่ตนเองเล่า มัวแต่นึกหาคำศัพท์และรูปประโยคมาใช้ จึงไม่ได้สนใจผู้ฟังมากเท่าที่ควร ลักษณะการเล่าเรื่องจึงมีลักษณะเป็น "การเล่าอยู่ฝ่ายเดียว"(一方的)ผู้ฟังไม่ค่อยได้มีหรือไม่มีส่วนร่วมในเรื่องที่เราเล่าเลย วิธีแก้ไขปัญหาตรงนี้อาจทำได้โดย

4.1)การเพิ่มจังหวะหยุด(ポーズ;Pause)
การ Pause ระหว่างเล่าเรื่อง ช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังให้มาอยู่ที่เรา(คนพูด) คนส่วนมากเมื่อต้องออกไปยืนพูดต่อหน้าคนจำนวนมากแล้วจะเกิดอาการประหม่า บางคนก็พูดเร็ว รัว จนคนฟังจับอะไรไม่ได้เลย นอกจากจะช่วยดึงความสนใจของผู้ฟังมาที่เราแล้ว การ Pause ยังมีประโยชน์ตรงที่เป็นการให้เวลาคนฟังได้หยุดคิดตามผู้พูดอีกด้วย ผู้เขียนคิดว่าประโยชน์ของการ Pause อาจนำมาใช้ลดปัญหาเล่าอย่างเดียวจนลืมผู้ฟังใน Storytelling ได้ค่ะ

4.2)ใช้คำช่วย「ね」เรียกความเห็นพ้องจากผู้ฟัง(聴き手への同意要求)
ตัวอย่าง:「小さな男の子より犬のほうが一枚上手であったというわけです。」

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
【勉強したこと:สิ่งที่ได้เรียนรู้จากタスクนี้】

①視座の固定 (การยึดมุมมอง)
「日本語では視座を移動させるより、固定させるほうが談話の流れとして理解しやすい。」(Raisuaisong2014:57)
ในภาษาญี่ปุ่น การยึดมุมมองหนึ่งมุมมองใดขณะเล่าเรื่องทำให้ผู้ฟังเข้าใจลำดับความเป็นไปของบทสนทนาได้ง่ายกว่าการเปลี่ยนมุมมองไปมา

②聴き手の存在の大切さ(ความสำคัญของผู้ฟัง)
แม้จะเป็นタスクเล่าเรื่อง ผู้พูดเป็นฝ่ายพูดเสียส่วนใหญ่ แต่ผู้พูดก็ไม่ควรลืมให้ความสำคัญแก่ผู้ฟัง ผู้พูดอาจใช้วิธีต่างๆที่ช่วยเพิ่มเรียกความสนใจผู้ฟังให้จดจ่อกับเรื่องที่เล่าตามที่ได้แนะนำไว้บ้างแล้วในข้อที่④

③面白みが不可欠 (ความสนุก น่าสนใจเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้)
การเล่าเรื่องไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตาม หากไร้ซึ่งความสนุก หรือ ความน่าสนใจแล้ว ผู้ฟังย่อมเบื่อหน่ายและเบนความสนใจไปที่อื่นได้ง่าย วิธีเพิ่มความน่าสนใจให้กับเรื่องที่เล่าสามารถทำได้หลายวิธีตามที่ได้แนะนำไปบ้างแล้วข้างต้น ทั้งนี้ผู้พูดแต่ละคนอาจมีความถนัด/กลวิธีการเล่าเรื่องแตกต่างกัน การจะเล่าเรื่องได้น่าสนใจนั้น การเลือกใช้วิธีการพูดที่เข้ากับตัวผู้พูดเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้การฝึกซ้อมก็เป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ค่ะ สำหรับข้อนี้ผู้เขียนยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควรยังคงต้องฝึกอีกมาก แต่จะพยายามต่อไปค่ะ :)

ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
【まとめ】
描写 หรือ การพรรณนา(วาดให้เห็น)คล้ายกับเวลาเราใช้กล้อง2ตา(双眼鏡)ส่องดูอะไรสักอย่าง แล้วพยายามเล่าให้คนข้างๆที่ไม่มีกล้องเห็นภาพแบบที่เราเห็น
สิ่งที่สำคัญที่สุดของ描写คือ ผู้ฟังจะสามารถเห็นภาพเหมือนตัวเขาเป็นคนยืนอยู่ตรงนั้น(臨場感)แล้วส่องกล้อง2ตาด้วยตัวเอง
http://www.artbank.co.jp/stockillust/image_html/iwasakimiyoko/1-A-MKI244.html
ーーーーーーーーーーーーーーーーーーーー
引用文献
・吉本ばなな(2006)『海のふた』中央公論新社.
・梶井基次郎(2011)『檸檬』角川文庫.
 RARUAISONG Tanapat2014)「日本語とタイ語の視座の置き方に関する対照研究:日本語母語話者とタイ人日本語学習者の視点表現の分析を通して」『筑波大学博士(国際日本研究)』第7211, pp.1-245

5 comments:

  1. สรุปได้ดีทุกครั้งเลย แม้ว่าจะทำจุฬาวิชาการทุกวัน ยังพยายามค้นคว้าออกมา งานของ Raruaison 2014 อ่านด้วยหรือคะ สุดยอด!

    ReplyDelete
  2. ทำไมเขียนบล็อคได้ดีขนาดนี้ครับ อ่านเพลินมากๆ อธิบายละเอียดสุดๆ ของผมจะรีบเขียนให้หมดวันนี้เหมือนกัน 5555

    ReplyDelete
  3. 今頃のコメントでごめんなさい・・・
    文字化されたものを見て、一番面白いなと思ったのは、漫画にあらわれたのは時間の流れの一部分であって、ストーリーには続きがあるということを感じさせるところです。この先犬と赤ちゃんはどうなるのでしょう。
    まとめも見事ですね。タスクから得たことがスティーラーさんの身になっているのが目に見えるかのようです。

    ReplyDelete
    Replies
    1. コメント頂きありがとうございます。

      Delete