Friday, January 13, 2017

【WEEK1】自己紹介って意外と難しい


เปิดเทอมใหม่ ลงเรียนวิชาใหม่ คาบแรกคงจะหนีไม่พ้น "การแนะนำตัว" (自己紹介)

เมื่อพูดถึงการแนะนำตัวในภาษาญี่ปุ่น
คนเรียนภาษาญี่ปุ่นคงจะคุ้นเคยกับแพทเทิร์นที่เรียนกันมาตั้งแต่จำあいうえおได้

ภาพประกอบจากหนังสือเรียน「みんなの日本語 I」

เริ่มด้วย
「はじめまして、わたしは(名前)です。」
และแน่นอนว่าต้องลงท้ายด้วยประโยค
「どうぞよろしくお願いします。」
พอเรียนๆไป มีคลังศัพท์มากขึ้นอีกหน่อย
ก็เริ่มใส่เนื้อหาอะไรลงไปเพิ่ม
อย่างชื่อโรงเรียน/มหาวิทยาลัยที่สังกัด งานอดิเรก ฯลฯ
อย่างที่พูดไปแล้วในตอนต้นว่า คาบแรกของการเรียนมักจะมีให้แนะนำตัวเอง
พอต้องทำสิ่งเดิมๆบ่อยครั้งเข้า ด้วยความเคยชินเราก็มักจะ reuse เนื้อหาและรูปประโยคที่เคยใช้พูดโดยอัตโนมัติ

ในการแนะนำตัวเราควรใช้รูปแบบประโยคที่หลากหลายไม่ซ้ำซากจำเจจนเกินไป
เพราะอาจทำให้ผู้ฟังเบื่อและเบนความสนใจไปจากสิ่งที่เรากำลังพูด

ในครั้งนี้จะลองยกตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวที่พูดในคาบเรียนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาและ
ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นมาลองเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปประโยคและสำนวนภาษา พร้อมกับสรุป "จุดที่ควรแก้ไข" และ "จุดที่จะนำไปปรับปรุงในครั้งถัดไป"

<ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวในคาบเรียน>
皆さん、こんにちは。(名前)です。わたし日本語の同音異義語について研究をしています。わたしの趣味は絵を描くことです。特に似顔絵が得意です。ストレスがあるときに、イラストを描くと、すごく解消になると思うので、よく描いています以上です。よろしくお願いします。

<ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่น>
皆さん、こんにちは。(名前)と申します。専門は、元々救急外 来の看護師だったので、救急外来の患者さんが地域で安心して暮らしていけるには どうしたらいいかっていう研究をしています。ストレス解消は、結構挙がっていた んですけれども、私も歌をうたうことがストレス解消なんですけど、1歳の子ども がいるのでカラオケとかには行けないんですけど、風呂という音響のすばらしい場 所があるので、そこで大声で歌うのがストレス解消です。楽しく学んでいけたらと 思います。よろしくお願いします。

【直したい部分:จุดที่ควรแก้ไข】
●การใช้สรรพนามบุรุษ1 「わたし」
เวลาพูดภาษาไทย เรามักจะใส่"ประธาน"ในประโยคเสียส่วนใหญ่
แต่ในภาษาญี่ปุ่นมักละ"ประธาน"ที่เป็นบุรุษ1
จากตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวจะสังเกตเห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้สรรพนาม「わたし」แทนตัวเอง
เมื่อใช้คำว่า「わたし」บ่อยอาจเป็นการเน้นตัวผู้พูดมากจนเกินไปทำให้ฟังดูไม่เป็นธรรมชาติได้

●ผิดไวยากรณ์
ストレスがあるとき→ストレスがあったとき
解消になる→ストレス解消になる
ประโยคส่วนที่ขีดเส้นใต้อาจพูดใหม่ให้กระชับมากขึ้นว่า
「イラストを描くことでストレス解消になります。」

●NG
สำนวน「以上ですที่มักใช้เมื่อพูดบางสิ่งจบ ไม่ใช้ในการพูดแนะนำตัว
สังเกตจากตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นทั้งหมดไม่พบการใช้「以上です」

【次の自己紹介で工夫したいこと:สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป】
🌸 แสดงความใส่ใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดให้มากขึ้น 
เมื่อสังเกตบทแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นพบว่ามีการพูดอ้างอิงถึงสิ่งที่คนก่อนหน้าได้พูดไปแล้ว
เช่น 「結構挙がっていた んですけれども
การพูดลักษณะนี้แสดงถึงความใส่ใจต่อสิ่งที่ผู้อื่นพูดของคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีควรนำไปปรับใช้ต่อไป

🌸 เพิ่มเติมเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับตัวเอง
ผู้เขียนคิดว่าการพูดแนะนำตัวเป็นเรื่องยากที่ดูฟังเหมือนง่าย
จุดที่สำคัญและยากที่สุดเห็นจะเป็น "การพูดอย่างไรให้ดึงดูดใจผู้ฟัง"
การเล่าเรื่องราวสั้นๆประกอบเป็นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มสีสันให้บทพูดแนะนำตัวฟังดูน่าสนใจมากขึ้น 
หากเราใส่รายละเอียดน้อยพยายามรีบพูดให้จบเร็วๆ
ผู้ฟังจะจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเราได้น้อยหรือบางครั้งก็จำอะไรไม่ได้เลย
ซึ่งแน่นอนว่าผิดจุดประสงค์ของการแนะนำตัว

🌸 อื่นๆ
ในคลิปวิดีโอแนะนำตัว「自己紹介アニメ」ของคุณ 岡田ともか
มีประโยคที่น่าสนใจคือ
「たくさんの人に知ってほしい
エピソードがある方は、是非わたしにご相談ください。」
คุณ 岡田พูดแนะนำงานที่เธอกำลังทำอยู่แล้วจึงพูดเชิญชวนผู้ฟังที่สนใจมาคุยกับเธอ
ผู้เขียนคิดว่าประโยคนี้น่าจะเป็นประโยคที่ดีในการใช้ผูกมิตรกับคนใหม่ๆ


「自己紹介アニメ」


1 comment: