Saturday, January 28, 2017

【WEEK2】自己紹介の目的とは?


สืบเนื่องมาจาก【week1】เราได้พูดเรื่องการแนะนำตัว (自己紹介)ในขั้นเบื้องต้นไปแล้ว
วันนี้เราจะมาว่ากันต่ออีกนิดเรื่อง "เคล็ดลับในการแนะนำตัว พูดอย่างไรให้คนฟังจำเราได้"ค่ะ =)

ภาพประกอบจาก http://www.irasutoya.com/2015/01/blog-post_619.html
ท่านผู้อ่านเคยฟังใครสักแนะนำตัวหรือพูดอะไรสักอย่างแล้วเราไม่สามารถจดจำอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพูดได้เลยไหมคะ?
ตัวผู้เขียนเองจำได้ว่าเคยมีประสบการณ์แบบนั้นอยู่บ่อยครั้งค่ะ55

หลายครั้งเวลาที่เราต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ เราอาจรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น และขาดความมั่นใจ
และหลายครั้งตัวเราเองนั่นแหละที่เป็นคนที่พูดแล้วคนอื่นจำอะไรเกี่ยวกับเราไม่ได้เสียเองโดยไม่รู้ตัว555

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะแนะนำตัวอย่างไรให้คนฟังสามารถจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราได้ล่ะ?

ก่อนจะเข้าเรื่องเคล็ดลับการแนะนำตัว
เราลองมาย้อนทบทวนจุดประสงค์ของการแนะนำตัวกันอีกครั้งก่อนดีกว่าค่ะ

ในเว็บไซต์ 魔法剣乱れ打ち【マネジメントと営業ノウハウ】http://www.n-links.co.jp/web/nblog/eigyo/jikoshoukai/  พูดถึงจุดประสงค์หลักของการแนะนำตัวว่า...

「自己紹介=自分を覚えてもらうこと」(การแนะนำตัว=การทำให้ผู้อื่นจดจำตัวเราได้)

ฉะนั้นแล้ว การแนะนำตัวจะไม่มีความหมายเลย หากคนฟังฟังเราไม่ทันและจดจำเราไม่ได้

【人に覚えてもらえる自己紹介のコツ
เคล็ดลับการแนะนำตัวให้คนจำเราได้
▶︎ยกตัวอย่างประกอบ
การยกตัวอย่างประกอบ ทำให้การแนะนำตัวฟังดูน่าสนใจมากขึ้น เช่น แทนที่จะบอกแค่ประเภทละครที่ชอบ อาจเปลี่ยนไปยกตัวอย่างชื่อละครที่ชอบแทน
ตัวอย่าง:「日本のドラマが好きです。」เพิ่ม→「例えば、『逃げるははじだが役に立つ』」
▶︎เอกภาพเป็นสิ่งสำคัญ
การแนะนำตัวก็เหมือนการเล่าเรื่องตนเองให้ผู้อื่นฟัง เรื่องที่เล่าควรมีเอกภาพ (ความเป็นหนึ่งเดียวกัน) ควรมีประเด็นหลัก เรื่องราวมีความสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียว
▶︎ใส่ลูกเล่น (gimmick) ให้กับชื่อตัวเอง
วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำชื่อของเรา(ส่วนสำคัญของการแนะนำตัว)ได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น คนที่ชื่อเป็นคำพ้องเสียงอาจนำประโยชน์ตรงนี้มาใช้เล่นคำ ส่วนคนที่ชื่อมีที่มาจากคำในภาษาต่างประเทศอาจแนะนำที่มาของชื่อ
▶︎ไม่พูดเร็วจนเกินไป
อย่างที่พูดไปแล้วตอนต้นว่า "การแนะนำตัวจะไม่มีความหมายเลย หากคนฟังฟังเราไม่ทันและจดจำเราไม่ได้" ถ้าเราพูดเร็วจนเกินไป ข้อมูลที่เราต้องการส่งไปถึงผู้ฟังจะผ่านหัวของพวกเขาไปเลย ทำให้ไม่มีใครจดจำเราหรือสิ่งที่เราพูดได้ค่ะ T-T

********************************


อาทิตย์นี้ผู้เขียนลองเขียนบทแนะนำตัวของตัวเองอย่างสั้นขึ้นใหม่ โดยจะเน้นเขียนไปทางลักษณะนิสัยเป็นหลัก จากนั้นก็โพสต์ลงใน*เว็บไซต์ lang-8.comค่ะ (คำอธิบายเว็บไซต์อยู่ด้านล่างสุดนะ)

ภาพด้านล่างนี้จะเป็น Feed-back จากคนญี่ปุ่นผู้ใช้เว็บไซต์ค่ะ
*จริงๆมีคนมาดูให้2-3คน แต่แก้กลับมาให้คนเดียว เลยจะยกคนนี้มาเป็นตัวอย่างให้ดูนะคะ
ภาพประกอบตัดต่อจากเว็บไซต์ lang-8.com
ตัวหนังสือมันเล็กไปหน่อยอาจจะอ่านยาก เดี๋ยวจะพิมพ์ส่วนที่เขาแก้มาใหม่ข้างล่างแล้วกันค่ะ (หัวเราะ)
สีแดงคือส่วนที่ถูกลบออก ส่วนสีเขียวคือส่วนที่เพิ่มขึ้นมาให้ค่ะ

「話す」より「聞く」
わたしの短所は、何事も慎重に考えすぎてしまい、言葉として発するまでに人一倍時間がかかってしまうことです。周りからは「口数が少なく自分の考えを言わない子」と言われるほど、自分が話すより相手の話を聞くことが多いですが、けれども、相手の話に重点を置いているからこそ、相手の立場や気持ちを理解し接することができると思います。

แปลแบบเอาความ:
"ฟัง"มากกว่า"พูด" 
ผู้เขียนมีข้อเสียคือเป็นคนคิดมากค่ะ (หัวเราะ) ไม่ว่าเรื่องอะไรก็คิดเยอะะะะเกินจำเป็น เพราะเป็นคนคิดเยอะกว่าจะกลั่นออกมาเป็นคำพูดได้เลยใช้เวลานานกว่าคนอื่นเท่าตัว ส่วนมากเลยจะฟังคนอื่นเสียมากกว่าพูด ถึงขนาดคนรอบข้างบอกว่าเป็นคนที่พูดน้อย คิดอะไรก็ไม่พูดออกมา แต่ผู้เขียนคิดว่าการที่เราฟังคนอื่น(ให้ความสำคัญกับเรื่องของคนอื่น) มันก็มีข้อดีตรงที่ทำให้เราสามารถจะเข้าใจจุดยืนหรือความรู้สึกของคนๆนั้นได้ค่ะ


【次の自己紹介で工夫したいこと:สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป】
🌸 ลองแบ่งประโยคให้สั้น กระชับมากขึ้น
เช่นแทนที่จะใช้รูปประโยค「ประโยค1が、ประโยค2」อาจแบ่งประโยคเป็น「ประโยค1」และ「けれども、ประโยค2」
🌸 เพิ่มเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเอง(エピソード)
ครั้งนี้เนื่องจากผู้เขียนจำกัดจำนวนบรรทัดไว้ที่3-5บรรทัดเลยจะไม่ได้เพิ่มเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง(ให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดมากขึ้น) ถ้าเพิ่มส่วนนี้แล้วจะทำให้การแนะนำตัวของเราน่าสนใจมากขึ้นค่ะ =)

รอบนี้ส่วนที่จะนำไปปรับใช้อาจจะน้อยไปหน่อย ครั้งหน้าจะพยายามเขียนให้เยอะกว่านี้นะคะ ;v;
บล็อครอบนี้ยาวไปหน่อย รอบหน้าจะพยายามทำให้เนื้อหาสั้น กระชับให้มากขึ้นด้วยค่ะ

********************************

*เกี่ยวกับเว็บไซต์ lang-8.com
lang-8.com คือ เว็บไซต์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการเรียนรู้และเพิ่มความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ ผู้ใช้เว็บไซต์จากทั่วโลกสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับภาษาที่ตนสนใจเรียนมาโพสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกกันตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาได้ค่ะ นอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศแล้วยังได้เช็คความเข้าใจในภาษาแม่ด้วย เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้มากๆค่ะ ลองเล่นดูนะคะ =)

1 comment:

  1. ทำดีเร็วและเขียนดีมากเลยค่ะ ทำให้คนอยากรู้จักเรามากขึ้น หากจะให้ดีกว่านี้ไปอีกน่าจะเติมตย.หรือประสบการณ์ที่ผ่านมาว่า "การฟังคนอื่น" ทำให้เกิดสิ่งที่ดีๆอย่างไร หรือถ้าจะใช้ตอนสมัครงาน การรับคนแบบเราเข้าทำงานจะทำให้บริษัทที่จะรับเรา "ได้"อะไร การสรุป lang-8 ก็ดีมาก ค้นคว้าเพิ่มเติมด้วย ดีค่ะ

    ReplyDelete