Monday, January 30, 2017

日本の教会編①:教会でよく見かける日本語


ด้วยความที่เมืองไทยเป็นเมืองพุทธ คนพุทธเยอะ~
คิดว่าหลายๆคนคงจะไม่เคยเข้าโบสถ์กันใช่มั้ยคะ5555

ก็ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะมาแบ่งปันคำศัพท์ภาษาญี่ปุ่นที่มักพบในโบสถ์(ญี่ปุ่น)ค่ะ
รูปข้างล่าง(น่ารักไหม55) เป็นโบสถ์ที่ผู้เขียนไปๆมาๆ ช่วงเรียนอยู่ที่เกียวโตค่ะ :)

ภาพประกอบวาดโดยคุณ 堀井ふみお (คนรู้จักของผู้เขียน)
วันนี้ลองคัดคำศัพท์ที่พบบ่อยมา 4 คำจะมาแนะนำให้รู้จักค่ะ

主日礼拝(しゅじつれいはい)= วันนมัสการพระเจ้า หรือ วันสะบาโต​ (วันหนึ่งในสัปดาห์ที่สงวนไว้สำหรับการพักผ่อนและการนมัสการ มักเป็นวันอาทิตย์)

主日(しゅじつ)= 主なる神を崇める日(『広辞苑 第六版』 岩波書店)
แปล:วันนมัสการพระเจ้า (สำหรับคริสเตียนคำนี้จะหมายถึง "วันอาทิตย์" ค่ะ)
note「主」(しゅ)=「神」(英:Lord) คำที่คริสเตียนใช้เรียกพระเจ้า

礼拝(れいはい)= 「神を拝むこと。特にキリスト教で神を賛美し、その恵みに感謝すること。」(『明鏡国語辞典 第二版』 大修館書店)
แปล:การนมัสการพระเจ้า

礼拝堂(れいはいどう)= พื้นที่หรือสถานที่สำหรับนมัสการ (มักมีลักษณะเป็นห้องโถง)

礼拝堂 ≠ 教会
教会(きょうかい)=คริสตจักร หรือ โบสถ์ (สถานที่ที่คนที่แสวงหาพระเจ้ามารวมตัวกัน ไม่มีข้อจำกัดทางศาสนา/เพศสภาพ/อาชีพ ฯลฯ พื้นที่ๆใช้เป็นโบสถ์ไม่จำกัดว่าต้องเป็นตึก อาจเป็นบ้าน ห้องแถว พื้นที่กลางแจ้ง หรือ โรงเรียน)

noteคำว่า「礼拝」สามารถอ่านได้อีกแบบว่า「らいはい」ว่ากันว่าเป็นคำศัพท์ที่ชาวพุทธใช้ค่ะ ไว้มีเวลาจะลองไปค้นต่อว่าเขาใช้คำศัพท์คำนี้ในบริบทไหน แตกต่างกับของคริสต์ยังไงนะคะ  ' v ')/

************************

お祈り(おいのり)= การอธิษฐาน

(v.) 祈る(いのる)= อธิษฐาน
祈り会(いのりかい)= การรวมกลุ่มอธิษฐาน

คนชอบถามว่า"การอธิษฐาน"สำหรับคริสเตียนคืออะไร เหมือนการตั้งจิตอธิษฐานของชาวพุทธไหม
ตอบตามตรง...ผู้เขียนไม่รู้ว่าการตั้งจิตอธิษฐานของชาวพุทธเป็นยังไงค่ะ5555

แต่สำหรับคริสเตียน"การอธิษฐาน" คือ การพูดคุยกับพระเจ้าค่ะ
เหมือนเราหมุนโทรศัพท์ หรือ พิมพ์แชทเฟสไปหาคนสนิท55 แน่นอนว่าไม่มีบทท่องจำ แพทเทิร์น ระดับภาษาพิเศษใดๆทั้งสิ้น (ก็คุยกับคนสนิทปะ) การอธิษฐานเราอาจทำเป็นกลุ่มได้ ที่ญี่ปุ่นจะเรียกว่า「祈り会」 ค่ะ ใน「祈り会」เราจะอธิษฐานเผื่อกันและกันในเรื่องต่างๆค่ะ (เช่น สุขภาพ การงาน การเรียน ฯลฯ) :)

หมายเหตุ: นิยามข้างต้นเป็นเพียงนิยามของตัวผู้เขียนเองในฐานะคริสเตียนตัวเล็กๆคนหนึ่งนะคะ ถ้าเป็นชาวCatholicเขาอาจนิยามอีกแบบ55

************************

牧師(ぼくし)=ศิษยาภิบาล (ชื่อตำแหน่งผู้นำในคริสตจักร) ←ภาษาไทยยากเหมือนกัน...

คำว่า"ศิษยาภิบาล" ในภาษาญี่ปุ่นใช้คันจิตัว 「牧」(คอกสัตว์) และ「師」(ผู้..., นัก...) รวมกันจึงแปลว่า "ผู้เลี้ยงสัตว์"

牧師(ぼくし)=羊飼い(ひつじかい)หรือ คนเลี้ยงแกะ(Shepherd) 🐏 🐏 🐏 
คำว่า "คนเลี้ยงแกะ" ในที่นี้ไม่ได้หมายถึง "คนที่ทำอาชีพเลี้ยงแกะ" จริงๆนะคะ5555

「牧師」มีภาพลักษณ์ของผู้นำที่เลี้ยงดูสมาชิกจำนวนมากเหมือนเลี้ยงดูฝูงแกะ ตามแบบพระเยซูที่เป็นผู้เลี้ยงที่ดีค่ะ (คำอธิบายอาจจะเข้าใจยากไปซักนิด...แต่ถ้าช่วยให้เห็นภาพคร่าวๆได้ก็ดีใจแล้วค่ะ :) )

note1:คนญี่ปุ่นเรียก「牧師」หรือ ศิษยาภิบาลว่า「先生」เช่นเดียวกับที่ใช้เรียกคนที่ประกอบอาชีพหมอ(医師)และอาจารย์(教師)

note2:ศิษยาภิบาล(牧師)≠ บาทหลวง(神父・しんぷ)←โป๊ป(Pope)ของชาวCatholic
ข้อแตกต่างที่เห็นได้ชัด→「牧師」เป็นเพียงตำแหน่งผู้นำ เป็นมนุษย์เหมือนเราๆ ไม่ใช่องค์อุปถัมภ์หรือประมุข เพราะฉะนั้นสามารถแต่งงานมีครอบครัวได้ค่ะ5555

************************

賛美歌・讃美歌(さんびか)เพลงสรรเสริญพระเจ้า

賛美(さんび)= การสรรเสริญ/เทิดทูน
(V.) 賛美する= สรรเสริญ/เทิดทูน
歌(うた・カ)= เพลง

คำว่า「さんび」สามารถเขียนได้2แบบคือ「賛美」และ「讃美」
เท่าที่ผู้เขียนสังเกต บนหน้าปกหนังสือรวมบทเพลงสรรเสริญมักใช้คำว่า「讃美歌」มากกว่า「賛美歌」ค่ะ
เรื่องความแตกต่างของการใช้คำทั้งสองจะเก็บเป็นการบ้านไปค้นต่อแล้วกันค่ะ5555

note:เผื่อใครไม่เคยฟัง讃美歌 แล้วอยากลองฟัง เดี๋ยวจะแปะลิ้งค์ข้างล่าง ลองฟังดูเพลินๆนะคะ :))

เราสามารถเรียนรู้ภาษาญี่ปุ่นได้จากสิ่งรอบตัว
ผู้เขียนเชื่อว่า บางครั้งการรวบรวมความกล้า ก้าวเข้าไปในสถานที่ใหม่ๆ
ออกไปพบเจอผู้คนใหม่ๆจะทำให้เราได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆตามมาค่ะ =)

🌻🌻🌻 🐏 🐏 🐏 めぇ〜めぇ〜🐏 🐏 🐏 🌻🌻🌻

讃美歌103番『牧人ひつじを』
The First Noel JP ver.


*The First Noel เป็นบทเพลงหนึ่งที่นิยมร้องกันช่วงคริสต์มาส (Christmas Carols) เนื้อหาเกี่ยวกับ The Nativity Story(キリストの降誕)หรือ วันที่พระเยซูลงมาเกิดบนโลกมนุษย์ค่ะ

Saturday, January 28, 2017

【WEEK2】自己紹介の目的とは?


สืบเนื่องมาจาก【week1】เราได้พูดเรื่องการแนะนำตัว (自己紹介)ในขั้นเบื้องต้นไปแล้ว
วันนี้เราจะมาว่ากันต่ออีกนิดเรื่อง "เคล็ดลับในการแนะนำตัว พูดอย่างไรให้คนฟังจำเราได้"ค่ะ =)

ภาพประกอบจาก http://www.irasutoya.com/2015/01/blog-post_619.html
ท่านผู้อ่านเคยฟังใครสักแนะนำตัวหรือพูดอะไรสักอย่างแล้วเราไม่สามารถจดจำอะไรเกี่ยวกับสิ่งที่เขาพูดได้เลยไหมคะ?
ตัวผู้เขียนเองจำได้ว่าเคยมีประสบการณ์แบบนั้นอยู่บ่อยครั้งค่ะ55

หลายครั้งเวลาที่เราต้องพูดต่อหน้าคนเยอะๆ เราอาจรู้สึกประหม่า ตื่นเต้น และขาดความมั่นใจ
และหลายครั้งตัวเราเองนั่นแหละที่เป็นคนที่พูดแล้วคนอื่นจำอะไรเกี่ยวกับเราไม่ได้เสียเองโดยไม่รู้ตัว555

ถ้าอย่างนั้นแล้ว เราจะแนะนำตัวอย่างไรให้คนฟังสามารถจดจำข้อมูลเกี่ยวกับตัวเราได้ล่ะ?

ก่อนจะเข้าเรื่องเคล็ดลับการแนะนำตัว
เราลองมาย้อนทบทวนจุดประสงค์ของการแนะนำตัวกันอีกครั้งก่อนดีกว่าค่ะ

ในเว็บไซต์ 魔法剣乱れ打ち【マネジメントと営業ノウハウ】http://www.n-links.co.jp/web/nblog/eigyo/jikoshoukai/  พูดถึงจุดประสงค์หลักของการแนะนำตัวว่า...

「自己紹介=自分を覚えてもらうこと」(การแนะนำตัว=การทำให้ผู้อื่นจดจำตัวเราได้)

ฉะนั้นแล้ว การแนะนำตัวจะไม่มีความหมายเลย หากคนฟังฟังเราไม่ทันและจดจำเราไม่ได้

【人に覚えてもらえる自己紹介のコツ
เคล็ดลับการแนะนำตัวให้คนจำเราได้
▶︎ยกตัวอย่างประกอบ
การยกตัวอย่างประกอบ ทำให้การแนะนำตัวฟังดูน่าสนใจมากขึ้น เช่น แทนที่จะบอกแค่ประเภทละครที่ชอบ อาจเปลี่ยนไปยกตัวอย่างชื่อละครที่ชอบแทน
ตัวอย่าง:「日本のドラマが好きです。」เพิ่ม→「例えば、『逃げるははじだが役に立つ』」
▶︎เอกภาพเป็นสิ่งสำคัญ
การแนะนำตัวก็เหมือนการเล่าเรื่องตนเองให้ผู้อื่นฟัง เรื่องที่เล่าควรมีเอกภาพ (ความเป็นหนึ่งเดียวกัน) ควรมีประเด็นหลัก เรื่องราวมีความสัมพันธ์กันเป็นเรื่องเดียว
▶︎ใส่ลูกเล่น (gimmick) ให้กับชื่อตัวเอง
วิธีนี้จะทำให้ผู้ฟังสามารถจดจำชื่อของเรา(ส่วนสำคัญของการแนะนำตัว)ได้ง่ายขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น คนที่ชื่อเป็นคำพ้องเสียงอาจนำประโยชน์ตรงนี้มาใช้เล่นคำ ส่วนคนที่ชื่อมีที่มาจากคำในภาษาต่างประเทศอาจแนะนำที่มาของชื่อ
▶︎ไม่พูดเร็วจนเกินไป
อย่างที่พูดไปแล้วตอนต้นว่า "การแนะนำตัวจะไม่มีความหมายเลย หากคนฟังฟังเราไม่ทันและจดจำเราไม่ได้" ถ้าเราพูดเร็วจนเกินไป ข้อมูลที่เราต้องการส่งไปถึงผู้ฟังจะผ่านหัวของพวกเขาไปเลย ทำให้ไม่มีใครจดจำเราหรือสิ่งที่เราพูดได้ค่ะ T-T

********************************


อาทิตย์นี้ผู้เขียนลองเขียนบทแนะนำตัวของตัวเองอย่างสั้นขึ้นใหม่ โดยจะเน้นเขียนไปทางลักษณะนิสัยเป็นหลัก จากนั้นก็โพสต์ลงใน*เว็บไซต์ lang-8.comค่ะ (คำอธิบายเว็บไซต์อยู่ด้านล่างสุดนะ)

ภาพด้านล่างนี้จะเป็น Feed-back จากคนญี่ปุ่นผู้ใช้เว็บไซต์ค่ะ
*จริงๆมีคนมาดูให้2-3คน แต่แก้กลับมาให้คนเดียว เลยจะยกคนนี้มาเป็นตัวอย่างให้ดูนะคะ
ภาพประกอบตัดต่อจากเว็บไซต์ lang-8.com
ตัวหนังสือมันเล็กไปหน่อยอาจจะอ่านยาก เดี๋ยวจะพิมพ์ส่วนที่เขาแก้มาใหม่ข้างล่างแล้วกันค่ะ (หัวเราะ)
สีแดงคือส่วนที่ถูกลบออก ส่วนสีเขียวคือส่วนที่เพิ่มขึ้นมาให้ค่ะ

「話す」より「聞く」
わたしの短所は、何事も慎重に考えすぎてしまい、言葉として発するまでに人一倍時間がかかってしまうことです。周りからは「口数が少なく自分の考えを言わない子」と言われるほど、自分が話すより相手の話を聞くことが多いですが、けれども、相手の話に重点を置いているからこそ、相手の立場や気持ちを理解し接することができると思います。

แปลแบบเอาความ:
"ฟัง"มากกว่า"พูด" 
ผู้เขียนมีข้อเสียคือเป็นคนคิดมากค่ะ (หัวเราะ) ไม่ว่าเรื่องอะไรก็คิดเยอะะะะเกินจำเป็น เพราะเป็นคนคิดเยอะกว่าจะกลั่นออกมาเป็นคำพูดได้เลยใช้เวลานานกว่าคนอื่นเท่าตัว ส่วนมากเลยจะฟังคนอื่นเสียมากกว่าพูด ถึงขนาดคนรอบข้างบอกว่าเป็นคนที่พูดน้อย คิดอะไรก็ไม่พูดออกมา แต่ผู้เขียนคิดว่าการที่เราฟังคนอื่น(ให้ความสำคัญกับเรื่องของคนอื่น) มันก็มีข้อดีตรงที่ทำให้เราสามารถจะเข้าใจจุดยืนหรือความรู้สึกของคนๆนั้นได้ค่ะ


【次の自己紹介で工夫したいこと:สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป】
🌸 ลองแบ่งประโยคให้สั้น กระชับมากขึ้น
เช่นแทนที่จะใช้รูปประโยค「ประโยค1が、ประโยค2」อาจแบ่งประโยคเป็น「ประโยค1」และ「けれども、ประโยค2」
🌸 เพิ่มเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับตัวเอง(エピソード)
ครั้งนี้เนื่องจากผู้เขียนจำกัดจำนวนบรรทัดไว้ที่3-5บรรทัดเลยจะไม่ได้เพิ่มเรื่องราวเกี่ยวกับตัวเอง(ให้ผู้ฟังเห็นภาพชัดมากขึ้น) ถ้าเพิ่มส่วนนี้แล้วจะทำให้การแนะนำตัวของเราน่าสนใจมากขึ้นค่ะ =)

รอบนี้ส่วนที่จะนำไปปรับใช้อาจจะน้อยไปหน่อย ครั้งหน้าจะพยายามเขียนให้เยอะกว่านี้นะคะ ;v;
บล็อครอบนี้ยาวไปหน่อย รอบหน้าจะพยายามทำให้เนื้อหาสั้น กระชับให้มากขึ้นด้วยค่ะ

********************************

*เกี่ยวกับเว็บไซต์ lang-8.com
lang-8.com คือ เว็บไซต์ที่มีจุดประสงค์เพื่อการเรียนรู้และเพิ่มความเข้าใจในภาษาต่างประเทศ ผู้ใช้เว็บไซต์จากทั่วโลกสามารถนำข้อมูลเกี่ยวกับภาษาที่ตนสนใจเรียนมาโพสต์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือแลกกันตรวจสอบความถูกต้องของการใช้ภาษาได้ค่ะ นอกจากจะได้เรียนรู้ภาษาต่างประเทศแล้วยังได้เช็คความเข้าใจในภาษาแม่ด้วย เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้มากๆค่ะ ลองเล่นดูนะคะ =)

Monday, January 16, 2017

絵本②:『りんごかもしれない』🍎


『りんごかもしれない』(มันอาจจะเป็นแอปเปิ้ลก็ได้)
"หนังสืออะไรชื่อประหลาดดี สีปกก็ใช้สีสดดูน่ารัก"
นี่เป็นความรู้สึกแรกที่เห็นหนังสือเล่มนี้บนชั้นในร้านหนังสือที่ญี่ปุ่นค่ะ
ด้วยความอยากรู้ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร เลยยืนอ่าน(立ち読み)มันซะตรงนั้นเลย5555

ภาพประกอบจาก http://www.ehonnavi.net
🍎『りんごかもしれない』🍎
作: ヨシタケシンスケ 出版社: ブロンズ新社
ชินสุเกะ โยะชิทะเกะ (เรื่อง) 

เรื่อง 『りんごかもしれない』
เท่าที่เดินสำรวจตามร้านหนังสือในไทย ดูเหมือนจะยังไม่ตีพิมพ์ฉบับแปลไทยค่ะ

สำหรับฉบับภาษาญี่ปุ่นบนปกหลังจะมีคำเปรยเขียนเอาไว้ว่า 
「3歳からの哲学絵本」"หนังสือภาพปรัชญาสำหรับเด็กตั้งแต่ 3 ขวบ" 

หนังสือเล่มนี้สอนให้ผู้อ่าน(ไม่ว่าจะเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่)รู้จักคิดให้ลึก คิดให้กว้าง
โดยเริ่มจากการใช้สำนวน「〜かもしれない」หรือ 「〜かも」"อาจ(จะ)...ก็ได้" กับสิ่งใกล้ตัวอย่าง "ลูกแอปเปิ้ลสีแดง"🍎

เกี่ยวกับสำนวน「〜かもしれない
รูปไวยากรณ์: (V.) Plain form+かもしれない Adjナ/N+かもしれない
・ใช้แสดงความหมายว่ามีโอกาสเป็นเช่นนั้นได้
・อาจมีความเป็นไปได้ครึ่งหนึ่งหรือมีความเป็นไปได้สูง

จุดเริ่มต้นของเรื่อง『りんごかもしれない』
เกิดขึ้นเมื่อเด็กชายที่เป็นตัวละครเอกเดินไปเจอลูกแอปเปิ้ลสีแดงลูกหนึ่งวางอยู่บนโต๊ะในห้องครัวที่บ้าน

<ตย.ประโยค1> 
「・・・でももしかしたら、これはりんごじゃないのかもしれない。」
""แต่ก็ไม่แน่... เจ้าลูกนี้อาจจะไม่ใช่แอปเปิ้ลก็ได้" เด็กชายคิด"
NOTE: รูปประโยค「もしかしたら・・・かもしれない」มักพบใช้คู่กันในสำนวนแสดงการคาดคะเน

<ตย.ประโยค2> 
「ぼくからみえない はんたいがわは ミカンかもしれない。」
"ด้านตรงข้ามที่ผมมองไม่เห็น มันอาจจะเป็นลูกส้มก็ได้"

ภาพประกอบจาก http://mcbooks.asablo.jp/blog/2015/11/01/7879519
ประโยคที่ยกมาเป็นเพียงตัวอย่างเนื้อหาและการใช้สำนวน「〜かもしれない」ที่พบในเรื่อง『りんごかもしれない』ค่ะ

「〜(の)かもしれない」VS「〜かもしれない」
บางคนอาจจะสังเกตเห็นว่า 「〜かもしれない」มีแบบที่มี「の」ด้านหน้ากับแบบที่ไม่มี

แต่ในโพสต์นี้ จะขอไม่พูดเรื่องความแตกต่างระหว่าง「〜(の)かもしれない」กับ「〜かもしれない」นะคะ กลัวจะลงลึกเกินไป55

นอกจากสำนวน「〜かもしれない」แล้ว ในภาษาญี่ปุ่นยังมีสำนวนแสดงการคาดคะเนอีกหลายสำนวนเช่น 「〜だろう」「〜にちがいない」ฯลฯ ไว้โอกาสหน้าจะมาแนะนำใหม่นะคะ

ส่วนตัวผู้เขียนคิดว่าหนังสือภาพเล่มนี้ นอกจากจะช่วยให้ผู้อ่านได้ฝึกใช้สำนวนแสดงการคาดคะเน 「〜かもしれない」แล้ว  ยังช่วยพัฒนาและปลูกฝังความสามารถในการคิดเชิงลึกให้กับเด็กๆด้วยค่ะ

この絵本は、もしかしたら日本語の勉強に役に立つかもしれない
หนังสือภาพเรื่องนี้อาจจะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นของคุณก็ได้นะคะ :))

------------------------------------------------

สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่สนใจเกี่ยวกับหนังสือภาพเด็ก
สามารถดูข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือภาพได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
บางเล่มจะสามารถทดลองอ่านได้ด้วยนะคะ =)
http://www.ehonnavi.net/

Sunday, January 15, 2017

絵本①:『ぐりとぐら』🐭🐭


ผู้เขียนเคยมีความคิดอยากจะเขียนรีวิวความรู้สึกเกี่ยวกับหนังสือภาพเด็กที่เคยอ่านทั้งหมด รวบรวมเก็บไว้อ่านเอง ถึงขนาดซื้อสมุดมาลองเขียนเลยค่ะ
จะเขียนทั้งทีไม่แปะภาพเลย มีแต่ตัวหนังสืออย่างเดียวก็คงดูน่าเบื่อ
เลยลองปริ้นท์ภาพมาตัดแปะ แต่มันค่อนข้างยุ่งยากสุดท้ายก็ล้มเลิกภายในไม่กี่วันค่ะ5555

ตอนนี้ย้ายมาเขียนลงใน blog แทนซะเลย (ฮา)
และนี่คือต้นกำเนิดของรีวิวหนังสือภาพญี่ปุ่นอย่างง่ายค่ะ (*´∀`*

ประเดิมเล่มแรกด้วย 『ぐりぐら』"กุริกับกุระ" หนังสือภาพเล่มโปรดตลอดกาล

ภาพประกอบจาก http://www.ehonnavi.net
ぐりぐら
作:中川李枝子・絵:大村百合子
出版社:福音館書店
ฉบับแปลไทย "กุริกับกุระ"
ริเอโกะ นาคางาวะ (เรื่อง) / ยูริโกะ มูระ (ภาพ) / พรอนงค์ นิยมค้า (แปล)

เล่มนี้จำได้ว่าเจอฉบับแปลไทยบนชั้นหนังสือที่บ้านเพื่อนร่วมงานคุณแม่ตอนไปเที่ยวบ้านเขา
เลยหยิบมาอ่านเล่น =) ส่วนฉบับภาษาญี่ปุ่นได้มาจากร้านขายหนังสือเก่าแถวBTSพร้อมพงษ์ค่ะ

ความประทับใจแรกน่าจะเป็นสีชุดเอี๊ยมที่ตัวละครหนูสองตัวใส่ค่ะ
ตัวหนึ่งสีน้ำเงิน ส่วนอีกตัวสีแดง
ชื่อก็จะคล้ายๆกัน "กุริ" กับ "กุระ" ออกเสียงง่ายฟังดูน่ารัก
(เพิ่มเติม: สีฟ้อนต์บนหน้าปกช่วยให้เราจำได้ว่าตัวไหนชื่ออะไรนะคะ)

จากที่ผู้เขียนลองไปค้นหาที่มาของชื่อตัวละคร "กุริกับกุระ"
เจอบทสัมภาษณ์คุณริเอโกะ นาคางาวะ ผู้แต่งเรื่อง "กุริกับกุระ" อธิบายที่มาของชื่อตัวละครทั้งสองค่ะ

ถามผู้เขียนคุณนาคางาวะ : ชื่อ "กุริกับกุระ" มีที่มายังไงคะ
"ตอนที่ทำงานเป็นพี่เลี้ยงเด็ก ดิฉันเคยอ่านหนังสือภาพฝรั่งเศสอยู่เล่มหนึ่งชื่อเรื่อง "Pouf et Noriaud" ให้เด็กๆฟังค่ะ พอถึงฉากที่ตัวละครหนูนาร้องเพลงว่า "กุริ กุรุ กุระ" เด็กๆจะพากันร้องตามเสียงดังเชียวค่ะ นั่นแหละค่ะคือที่มาของชื่อกุริกับกุระ"
แปลภาษาไทยจากบทสัมภาษณ์คุณริเอโกะ นาคางาวะ ผู้แต่งเรื่อง "กุริกับกุระ"
นสพ.อะซะฮิออนไลน์ ฉบับวันที่ 7 พฤษภาคม 2558
http://www.asahi.com/msta/articles/ASH585RP3H4XUEHF004.html

มาพูดถึงเนื้อหาเรื่องนี้กันบ้างดีกว่า
ส่วนเนื้อหาตั้งใจว่าจะไม่เล่าเรื่องย่อ เพราะในเว็บสำนักพิมพ์คงมีเกลื่อนแล้ว...
แต่จะเน้นดูภาษาญี่ปุ่นเทียบกับบทแปลภาษาไทยค่ะ =)

ส่วนที่จะยกมาเป็นส่วนเปิดเรื่องค่ะ

<ฉบับภาษาญี่ปุ่น>
ぼくらのなまえは ぐりとぐら
(ชื่อของเราคือกุริกับกุระ) 
このよで 一番好きなのは 
(สิ่งที่เราชอบที่สุดในโลกก็คือ...)
おりょうりすること たべること
(การทำอาหารและการกิน)
ぐりぐら ぐりぐら」
(กุริกุระ กุริกุระ)

<ฉบับแปลไทย>
"สองเราหนูนา กุริกับกุระ
สองเราหนูนา ชอบทำอาหารนะ
สองเราหนูนา ชอบกินด้วยกันจ้ะ
กร๊อบแกร๊บกรุ๊บกรั๊บ กุริ กุระ"

อาจารย์ท่านหนึ่งเคยสอนผู้เขียนให้รู้จักสังเกตตัวบทเทียบกับบทแปล
ท่านว่าอย่างน้อยที่สุด เราจะเรียนรู้ความแตกต่างของภาษาและวัฒนธรรมของสองประเทศค่ะ

วันนี้จะมาดูเรื่อง การใช้สรรพนามบุรุษที่①แทนตัวผู้พูดぼくら
ぼくら」แปลตรงตัวว่า "พวกเรา" "เรา"
ฉบับภาษาญี่ปุ่นใช้คำว่า 「ぼくら
ในขณะที่ฉบับแปลไทยใช้คำว่า "สองเราหนูนา" แทนตัวผู้พูด (หนูนาสองตัว)

ผู้เขียนเห็นว่าจุดที่น่าสนใจคือ "จำนวนครั้ง" ของการใช้สรรพนามบุรุษที่①แทนตัวผู้พูดของทั้งสองภาษาค่ะ

ทำไมฉบับภาษาญี่ปุ่นมีคำว่า 「ぼくら」โผล่มาแค่ครั้งเดียว
ในขณะที่ฉบับแปลไทยมีคำว่า "สองเราหนูนา" โผล่มาถึง3ครั้ง ???

แต่ถ้าเราลองลบคำว่า "สองเราหนูนา" ออกให้เหลือเท่าต้นฉบับภาษาญี่ปุ่นล่ะ?

"สองเราหนูนา กุริกับกุระ
ชอบทำอาหารนะ
ชอบกินด้วยกันจ้ะ
กร๊อบแกร๊บกรุ๊บกรั๊บ กุริ กุระ"

โอเคมันก็ยังพอสื่อความได้
แต่หลายคนคงจะให้ความเห็นว่าเป็นภาษาไทยที่ฟังดูประหลาด ไม่เป็นธรรมชาติ
เพราะมันขาด "ประธาน" ของประโยค

ในภาษาญี่ปุ่นมักจะละประธานของประโยคที่เป็นตัวผู้พูด
เมื่อผู้พูดกับผู้ฟังเข้าใจตรงกันแล้วว่าประธานของประโยคคือใคร
ใน "กุริกับกุระ" ฉบับภาษาญี่ปุ่นจึงไม่จำเป็นต้องใส่ ประธาน หลายครั้ง
เพราะผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจว่ากริยา "ทำอาหาร" และ "กิน" ในประโยคต่อมา มีประธานผู้ทำกริยาคือ หนูสองตัว ที่พูดถึงแล้วในตอนต้น

โดยธรรมชาติของการใช้ภาษาไทย เราจะใส่ ประธาน ในประโยคเพื่อชี้ตัวผู้ทำกริยา
"กุริกับกุระ" ฉบับแปลไทยจึงปรากฎคำว่า "สองเราหนูนา" (สรรพนามบุรุษ1) หลายครั้ง
ได้แก่ "สองเราหนูนาชอบทำอาหาร" และ​ "สองเราหนูนาชอบกินด้วยกัน"

ผู้เขียนมีความเห็นว่าการที่ผู้แปลใช้คำสรรพนามซ้ำหลายครั้ง
อาจมีจุดประสงค์เพื่อให้บทแปลมีท่วงทำนองที่ไพเราะ อ่านง่าย
และเพื่อคงเอกลักษณ์ความเป็นหนังสือเด็กด้วยค่ะ

ภาพประกอบจาก https://kinarino.jp/cat4-グルメ/
6602-*名作絵本のあの味をおうちで再現!「ぐりとぐら」のふわふわカステラ*

------------------------------------------------

สำหรับผู้เรียนภาษาญี่ปุ่นที่สนใจเกี่ยวกับหนังสือภาพเด็ก
สามารถดูข่าวสารข้อมูลเกี่ยวกับหนังสือภาพได้ที่ลิ้งค์ด้านล่างเลยค่ะ
บางเล่มจะสามารถทดลองอ่านได้ด้วยนะคะ =)
http://www.ehonnavi.net/

Friday, January 13, 2017

【WEEK1】自己紹介って意外と難しい


เปิดเทอมใหม่ ลงเรียนวิชาใหม่ คาบแรกคงจะหนีไม่พ้น "การแนะนำตัว" (自己紹介)

เมื่อพูดถึงการแนะนำตัวในภาษาญี่ปุ่น
คนเรียนภาษาญี่ปุ่นคงจะคุ้นเคยกับแพทเทิร์นที่เรียนกันมาตั้งแต่จำあいうえおได้

ภาพประกอบจากหนังสือเรียน「みんなの日本語 I」

เริ่มด้วย
「はじめまして、わたしは(名前)です。」
และแน่นอนว่าต้องลงท้ายด้วยประโยค
「どうぞよろしくお願いします。」
พอเรียนๆไป มีคลังศัพท์มากขึ้นอีกหน่อย
ก็เริ่มใส่เนื้อหาอะไรลงไปเพิ่ม
อย่างชื่อโรงเรียน/มหาวิทยาลัยที่สังกัด งานอดิเรก ฯลฯ
อย่างที่พูดไปแล้วในตอนต้นว่า คาบแรกของการเรียนมักจะมีให้แนะนำตัวเอง
พอต้องทำสิ่งเดิมๆบ่อยครั้งเข้า ด้วยความเคยชินเราก็มักจะ reuse เนื้อหาและรูปประโยคที่เคยใช้พูดโดยอัตโนมัติ

ในการแนะนำตัวเราควรใช้รูปแบบประโยคที่หลากหลายไม่ซ้ำซากจำเจจนเกินไป
เพราะอาจทำให้ผู้ฟังเบื่อและเบนความสนใจไปจากสิ่งที่เรากำลังพูด

ในครั้งนี้จะลองยกตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวที่พูดในคาบเรียนเมื่อวันอังคารที่ผ่านมาและ
ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นมาลองเปรียบเทียบความแตกต่างของรูปประโยคและสำนวนภาษา พร้อมกับสรุป "จุดที่ควรแก้ไข" และ "จุดที่จะนำไปปรับปรุงในครั้งถัดไป"

<ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวในคาบเรียน>
皆さん、こんにちは。(名前)です。わたし日本語の同音異義語について研究をしています。わたしの趣味は絵を描くことです。特に似顔絵が得意です。ストレスがあるときに、イラストを描くと、すごく解消になると思うので、よく描いています以上です。よろしくお願いします。

<ตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่น>
皆さん、こんにちは。(名前)と申します。専門は、元々救急外 来の看護師だったので、救急外来の患者さんが地域で安心して暮らしていけるには どうしたらいいかっていう研究をしています。ストレス解消は、結構挙がっていた んですけれども、私も歌をうたうことがストレス解消なんですけど、1歳の子ども がいるのでカラオケとかには行けないんですけど、風呂という音響のすばらしい場 所があるので、そこで大声で歌うのがストレス解消です。楽しく学んでいけたらと 思います。よろしくお願いします。

【直したい部分:จุดที่ควรแก้ไข】
●การใช้สรรพนามบุรุษ1 「わたし」
เวลาพูดภาษาไทย เรามักจะใส่"ประธาน"ในประโยคเสียส่วนใหญ่
แต่ในภาษาญี่ปุ่นมักละ"ประธาน"ที่เป็นบุรุษ1
จากตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวจะสังเกตเห็นว่าคนญี่ปุ่นไม่ค่อยใช้สรรพนาม「わたし」แทนตัวเอง
เมื่อใช้คำว่า「わたし」บ่อยอาจเป็นการเน้นตัวผู้พูดมากจนเกินไปทำให้ฟังดูไม่เป็นธรรมชาติได้

●ผิดไวยากรณ์
ストレスがあるとき→ストレスがあったとき
解消になる→ストレス解消になる
ประโยคส่วนที่ขีดเส้นใต้อาจพูดใหม่ให้กระชับมากขึ้นว่า
「イラストを描くことでストレス解消になります。」

●NG
สำนวน「以上ですที่มักใช้เมื่อพูดบางสิ่งจบ ไม่ใช้ในการพูดแนะนำตัว
สังเกตจากตัวอย่างบทพูดแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นทั้งหมดไม่พบการใช้「以上です」

【次の自己紹介で工夫したいこと:สิ่งที่จะนำไปปรับใช้ในครั้งถัดไป】
🌸 แสดงความใส่ใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดให้มากขึ้น 
เมื่อสังเกตบทแนะนำตัวของคนญี่ปุ่นพบว่ามีการพูดอ้างอิงถึงสิ่งที่คนก่อนหน้าได้พูดไปแล้ว
เช่น 「結構挙がっていた んですけれども
การพูดลักษณะนี้แสดงถึงความใส่ใจต่อสิ่งที่ผู้อื่นพูดของคนญี่ปุ่น ซึ่งเป็นสิ่งที่ดีควรนำไปปรับใช้ต่อไป

🌸 เพิ่มเติมเรื่องราวสั้นๆเกี่ยวกับตัวเอง
ผู้เขียนคิดว่าการพูดแนะนำตัวเป็นเรื่องยากที่ดูฟังเหมือนง่าย
จุดที่สำคัญและยากที่สุดเห็นจะเป็น "การพูดอย่างไรให้ดึงดูดใจผู้ฟัง"
การเล่าเรื่องราวสั้นๆประกอบเป็นวิธีหนึ่งที่จะเพิ่มสีสันให้บทพูดแนะนำตัวฟังดูน่าสนใจมากขึ้น 
หากเราใส่รายละเอียดน้อยพยายามรีบพูดให้จบเร็วๆ
ผู้ฟังจะจดจำรายละเอียดเกี่ยวกับเราได้น้อยหรือบางครั้งก็จำอะไรไม่ได้เลย
ซึ่งแน่นอนว่าผิดจุดประสงค์ของการแนะนำตัว

🌸 อื่นๆ
ในคลิปวิดีโอแนะนำตัว「自己紹介アニメ」ของคุณ 岡田ともか
มีประโยคที่น่าสนใจคือ
「たくさんの人に知ってほしい
エピソードがある方は、是非わたしにご相談ください。」
คุณ 岡田พูดแนะนำงานที่เธอกำลังทำอยู่แล้วจึงพูดเชิญชวนผู้ฟังที่สนใจมาคุยกับเธอ
ผู้เขียนคิดว่าประโยคนี้น่าจะเป็นประโยคที่ดีในการใช้ผูกมิตรกับคนใหม่ๆ


「自己紹介アニメ」